1439 13 Dec 2012
เนื่องจากจดหมายข่าวคนฮักถิ่น ฉบับลมหนาวของเราเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับ SEA หรือยุทธศาสตร์เหมืองแร่โปแตช ดังนั้นเพื่อให้เข้าถึงเนื้อหาที่แท้จริง และเพิ่มความเข้มข้น ทางกองบรรณาธิการของเราจึงพลาดไม่ได้ที่จะเสนอบทสัมภาษณ์ของที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ โดยกรอบของการสัมภาษณ์ก็คือ เรื่อง SEA กับการมีส่วนร่วมของประชาชน กองบ.ก. : สวัสดีค่ะคุณสุวิทย์ เกี่ยวกับเรื่อง SEA อยากทราบว่าทำไมเราต้องมี SEA ในเมืองอุดรคะ สุวิทย์:ใน SEA มันมีหลายมิติ รวมทั้งมิติการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนต่อเรื่องการพัฒนาในโครงการนั้นๆ คือถ้ามีโครงการเหมืองแร่โปแตช ที่ผ่านมาการทำโครงการอะไรที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่มีการคำนวณกันว่า ต้นไม้จะเหลือกี่ต้นถ้าตัด อดีตเป็นอย่างไร แล้วปัจจุบันมันเหลือเท่าไร หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่อย่างเดียวคือให้สัมปทานเหมืองแร่โปแตช แต่ ณ วันนี้ 1.ทรัพยากรที่เรียกว่าโปแตช มันมีข้อจำกัดของมัน 2. คือมันมีผลกระทบสูงต่อคนในชุมชนและในพื้นที่ ทั้งสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และผลกระทบต่อสังคม มันมีเยอะ อย่าลืมนะว่าทรัพยากรพวกนี้มันเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ไม่ใช่ตะบี้ ตะบันมาขุดในคนรุ่นเราให้หมดไป แล้วคนรุ่นหลังอีกจะอยู่อย่างไรละ วันนี้เราจึงมาเสนอ เช่นหน่วยงานของรัฐเองมีความพร้อมต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งต่างๆที่มันจะเกิดขึ้นได้ไหม ถ้ามีเหมืองแร่เกิดขึ้น นี่คือส่วนหนึ่งที่เรียกว่า SEA ด้วยนะ เราและกลุ่มอนุรักษ์ฯขอย้ำว่ากับโครงการเหมืองแร่โปแตชเราไม่ได้ต่อต้านการพัฒนา ถ้ามีความจำเป็นต้องเอาขึ้นมาใช้ มันต้องตอบให้ชัดว่าใครเอาขึ้นมาใช้ และเอาขึ้นมาอย่างไร และชุมชนได้ประโยชน์อะไรด้วย กองบ.ก.: อยากให้คุณพูดถึงเรื่องการมีส่วนร่วมใน SEAของประชาชนและชุมชนโดยหลักๆแล้วเป็นอย่างไรค่ะ สุวิทย์: ประเด็นคือชาวบ้านเองมีส่วนรับรู้เรื่องนี้แค่ไหน คือที่เราพูดนี้ เรากำลังเสนอกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยของชุมชน”นะอีกประเด็นหนึ่งที่เรียกว่าการมีส่วนร่วม คือพื้นฐานการมีส่วนร่วมของคน ไม่ว่าจะมีส่วนร่วมทำอะไรก็แล้วแต่ คือ คนต้องรับรู้ก่อนว่า ตัวเองมีสิทธิอะไร รู้ว่ามีสิทธิแล้ว คุณรับรู้ข้อมูลข่าวสารของโครงการ มากน้อยแค่ไหน จากนั้นร่วมกันตัดสินใจ เอา/ไม่เอา นี่แบบหยาบๆสุดนะที่เรียกว่าการมีส่วนร่วม นี่คือกระบวนการของประชาธิปไตย สิ่งที่เราเสนอเรื่อง SEA บนฐานของประชาธิปไตยเลยนะ อันนี้ถามว่าเป็นหน้าที่ของใคร 1.เป็นของรัฐ ที่จะสร้างการมีส่วนร่วม 2.องค์กรภาคประชาสังคม NGOs นักวิชาการ มาจัดระบบข้อมูลให้มันถูกต้อง ว่าจริงๆแล้วเรื่องความถูกต้องของข้อมูลมันคืออะไร คนจะได้ไม่สับสน เป็นทิศทางเดียวกัน 3.แล้วให้อำนาจประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ตัดสินใจ ทั้งหมดนี้ เรียกว่า นโยบาย สาธารณะ (Public policy) ต้องสร้างกระบวนการเปิดกว้าง ให้ประชาชนรับรู้นำไปสู่การธรรมาภิบาลที่ดี หรือการบริหารบ้านเมืองที่ดีAttachment | Size |
---|---|
DSC07345.jpg | 202.15 KB |
05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม