1329 28 Nov 2012
เรียบเรียงโดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) ฝ่ายวิชาการโครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน เมื่อวันที่ 13-14 พ.ย. 2555 ผู้เขียนและคณะทำงานโครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ จำนวน7 คน ได้เข้าร่วม(ร่วมกับภาคีกว่า 500 คน) ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนจังหวะก้าวการขับเคลื่อนเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ที่ชลพฤกษ์รีสอร์ท อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลการประชุมทั่งสองวันมีข้อเสนอมากมายในการขับเคลื่อนเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ซึ่งมีประเด็นสำคัญดังนี้ 1. ก้าวเดินต่อไปอย่างมั่นคงพร้อมปรับปรุงแนวทางการขับเคลื่อน ใน 7 ประเด็นสาธารณะ ได้แก่ การดูแลสุขภาพโดยชุมชน การลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน การจัดการภัยพิบัติ เกษตรกรรมยั่งยืน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการจัดการสวัสดิการสังคมโดยชุมชน โดยผ่านแกนนำเครือข่ายตำบลสุขภาวะทั่วประเทศ โดยนางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สสส.) ได้ให้ทัศนะพอสรุปได้ว่า “การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อทบทวนจังหวะก้าวและยกระดับการทำงานเครือข่ายตำบลสุขภาวะ โดยรูปแบบการทำงาน เราจะกระตุ้นให้ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองใน 7 ประเด็นสาธารณะสำคัญดังกล่าวโดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สสส.) จะประสานไปยังเครือข่ายฯที่มีความเชี่ยวชาญ ให้เข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างชุมชนท้องถิ่นด้วยกัน เพราะ สสส. เป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุนให้ชุมชนเรียนรู้ด้วยตนเองและสร้างการเรียนรู้ระดับเครือข่ายด้วยกัน ทั้งนี้ ระยะเวลา 3 ปี เรามีเครือข่ายตำบลสุขภาวะจากทั่วประเทศทั้งหมด 1,500 แห่งที่สามารถบริหารจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมี 300 ตำบลที่สามารถเป็นแม่ข่ายสำคัญในการขยายฐานตำบลสุขภาวะให้เพิ่มมากขึ้นต่อไป...นอกจากนี้ สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สสส.) จะยังจัดฝึกอบรมการแกนนำเครือข่ายในเรื่องการทำข้อมูล ,การเก็บข้อมูลคนในชุมชน, การวิเคราะห์ วิจัยชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถรู้ถึงปัญหาที่ชุมชนกำลังประสบอยู่ จนนำไปสู่การแก้ไขได้ด้วยตนเอง รวมถึงการอบรมด้านการสื่อสาร เพื่อให้สามารถสื่อสารกับสื่อมวลชนได้อย่างมีทักษะและกระบวนการที่ถูกต้อง” 2. ท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยชุมชนเพื่อชุมชน ทพ.กฤษดา เรืองอารย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ทัศนะพอสรุปใจความได้ว่า “การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้น่าอยู่ว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการตลอด 2 วันที่ผ่านมา ก็เพื่อต้องการให้เครือข่ายตำบลสุขภาวะได้ทบทวน 7 ประเด็นสาธารณะที่ได้ดำเนินการในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา รวมถึงกำหนดประเด็นใดที่จะทำเพิ่มเติมต่อไปในปีหน้า เราตั้งเป้าในปี 2557 จะเพิ่มเครือข่ายตำบลสุขภาวะจาก 1,500 แห่ง ให้เป็น 3,500 แห่งทั่วประเทศ หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง ประเทศไทยก็จะน่าอยู่ต่อไป โดยฝากถึงชุมชนที่กำลังจะเริ่มต้นพัฒนาตนเองไว้ว่า ปัจจัยในการจะสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ จะต้องเริ่มต้นที่ท้องถิ่น ถ้าผู้บริหารท้องถิ่นลุกขึ้นมาสร้างความสุข ใส่ใจความต้องการจริงๆ ของคนในชุมชน มากกว่าการไปก่อสร้างต่างๆ ผลที่ออกมาก็คือผู้นำก็จะได้รับความรัก การสนับสนุนจากประชาชนอย่างแท้จริงและยั่งยืน 3. นโยบายสาธารณะที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยากขับเคลื่อนมากที่สุดคือ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันที่สองของการประชุมทางผู้จัดการประชุมได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมในการให้คะแนนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะทั้งเจ็ดประเด็นดังกล่าว ซึ่ง นางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สสส. ) เปิดเผยถึงผลโหวตจากผู้เข้าร่วมงานจำนวน 555 คน ต่อ 7 นโยบายสาธารณะที่เครือข่ายตำบลสุขภาวะต้องการขับเคลื่อนมากที่สุด ซึ่งพบว่า อันดับ 1. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในประเด็นการบริหารจัดการขยะในระดับครัวเรือนและชุมชนอย่างถูกวิธี 2. เกษตรกรรมยั่งยืน ประเด็นส่งเสริมให้เพิ่มครัวเรือนการทำเกษตรกรรมยั่งยืนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของครัวเรือนเกษตรในตำบล 3. การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ประเด็นสนับสนุนและจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนประจำตำบลให้มีส่วนร่วมกิจกรรมของชุมชน 4. การจัดการภัยพิบัติ จัดตั้ง “ศูนย์จัดการภัยพิบัติประจำตำบล”แบบบูรณาการภายใต้การมีส่วนร่วมของท้องที่และท้องถิ่น 5. การลงทุนด้านสุขภาพ ประเด็นทุกภาคส่วนร่วมสมทบทุนผลิตและสร้างบุคคลกรด้านสุขภาพของชุมชน 6. การดูแลสุขภาพ ประเด็นจัดทำฐานข้อมูลชุมชนและใช้ข้อมูลชุมชน ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายการดูแลเพื่อออกแบบการดูแลสุขภาพและช่วยเหลือร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพ กลุ่มอาสาสมัคร และแหล่งเรียนรู้ และ 7. สวัสดิการชุมชนโดยชุมชน ประเด็นจัดตั้ง กองทุนกลางเพื่อจัดสวัสดิการให้กลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในตำบล โดยทั้งนี้ ทั้ง 7 ประเด็นจะเป็นความต้องการของประชาชนชนอย่างแท้จริง ซึ่งขอเรียกร้องผู้บริหารท้องถิ่นให้ดำเนินการและกำหนดเป็นนโยบายในการหาเสียง จากการประชุมทั้ง 2 วันดังกล่าวผู้เขียนมีทัศนะว่าการขับเคลื่อนเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ในนโยบายสาธารณะดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้จะขึ้นอยู่กับสามปัจจัยหลัก คือ ความพร้อมของผู้นำ ชุมชนและการจัดการความรู้ หมายเหตุภาพ 1. ประกอบและข้อมูลปรับจาก http://www.thaihealth.or.th 2. ดูภาพประกอบของคณะทำงานโครงการจากชายแดนใต้ที่เข้าร่วมประชุมเพิ่มเติมใน 2.1 http://www.facebook.com/media/set/?set=a.438289519552179.90101.100001134043854&type=3 2.2 http://www.facebook.com/photo.php?fbid=4923783732835&set=a.3589519657067.169151.1245604111&type=3&theater 2.3 http://www.facebook.com/photo.php?fbid=4929171107516&set=a.3589519657067.169151.1245604111&type=3&theater 2.4 http://www.facebook.com/photo.php?fbid=4925567257422&set=a.3589519657067.169151.1245604111&type=3&theater05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม