ความสุ่มเสี่ยงของพรรคเพื่อไทยต่อข้อกล่าวหานำที่ดิน ส.ป.ก. ไปให้นายทุนทำเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหง

1229 13 Nov 2012

ชื่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบ: บ้านแหง
เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕     เมื่อ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๑ นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ ครม. ให้พิจารณายกเลิกมติ ครม. เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาแหล่งถ่านหิน เพื่อจะได้ดำเนินการประกาศยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหินตามความในมาตรา ๖ ทวิ ของกฎหมายแร่ ๒๕๑๐ ทั้งหมด ๘ พื้นที่ คือ แหล่งถ่านหินแอ่งเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี  แอ่งสินปุน จังหวัดนครศรีธรรมราช  แอ่งเชียงม่วน จังหวัดพะเยา  แอ่ง งาว แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ และแอ่งเสริมงาม จังหวัดลำปาง ไปเปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินต่อไป ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ได้ทำการจดทะเบียนประเภทบริษัทจำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน ๓๐ ล้านบาท  บริษัทนี้เป็นของกลุ่มทุนการเมืองพรรคภูมิใจไทยสายของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน  ก่อน ที่จะมีการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อครั้งล่าสุดในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ มีนายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยคนที่หนึ่ง นั่งอยู่ในตำแหน่งกรรมการบริษัทและประธานบริษัท  อดีต เคยเป็นอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมสมัยที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และเป็นผู้เคยถูกเสนอชื่อให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขแทนนาย มานิต นพอมรบดี ที่ลาออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ปัจจุบันเป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่สามของพรรค แต่ออกจากตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคคนที่หนึ่งแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา  นับตั้งแต่ดำรงตำแหน่ง ส.ส. เมื่อการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาก็ได้ลาออกจากตำแหน่งการเป็นกรรมการและประธานบริษัทแล้วเช่นกัน  คน ๆ นี้เป็นคนใกล้ชิดของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน หัวหน้ากลุ่มมัชฌิมา แกนนำพรรคภูมิใจไทย ตั้งแต่สมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นสามีของนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน  ถ้า ดูจากความเชื่อมโยงหรือสายสัมพันธ์ที่กล่าวมาอาจจะสงสัยว่าการดำรงตำแหน่ง เป็นกรรมการและประธานบริษัท เขียวเหลือง จำกัด ของนายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ไปเกี่ยวข้องเชื่อมโยงอย่างไรกับนายสมศักดิ์ เทพสุทิน  แต่ เรื่องนี้เป็นเรื่องปฏิเสธยากก็เพราะว่าพฤติกรรมหลายกรณีของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด มันโจ่งแจ้งออกมาเสียจนใคร ๆ เขาก็รู้กันทั่วทั้งจังหวัดสุโขทัยและลำปางว่าเจ้าของตัวจริงเสียงจริงของ บริษัท เขียวเหลือง จำกัด เป็นใคร ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ ครม. ได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติ ครม. เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาแหล่งถ่านหินตามที่นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน เสนอ  ต่อ มานางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหินตามมาตรา ๖ ทวิ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ ซึ่งส่งผลให้บริษัทเขียวเหลืองทำการขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหิน แอ่งงาวที่บ้านแหง และที่แหล่งถ่านหินแอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน ที่บ้านแจ้คอน ต.ทุ่งผึ้ง อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง อยู่ในขณะนี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ ๐๕๐๕/๙๒๘๗ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ แจ้งต่อนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑  ตามที่นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน เสนอ ข้อ สังเกตสำคัญก็คือ ครม. ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ แต่หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีด่วนที่สุด ที่ ๐๕๐๕/๙๒๘๗ แจ้งมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน) เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงสงสัยว่านางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ได้ทำการประกาศกระทรวงฯ เรื่องยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหินตามความในมาตรา ๖ ทวิ ของกฎหมายแร่ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ ก่อนที่หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะส่งมาถึงได้อย่างไร หากประเด็นนี้ไม่ใช่การผิดลำดับขั้นตอน/กระบวนการของกฎหมายหรือกฎระเบียบใด ๆ แต่เป็นที่น่าสงสัยว่านางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ได้เร่งรีบออกประกาศกระทรวงฯ ดังกล่าวก่อนหนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะส่งมาถึงตัวเองไปเพื่อ อะไร หรือเพื่อใคร ปัจจุบันบริษัท เขียวเหลือง จำกัด กำลังดำเนินการขออนุญาตใช้ที่ดิน ส.ป.ก. ในเขตปฏิรูปที่ดินตามที่ประกาศอยู่ในพระ ราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านร้อง ตำบลปงเตา ตำบลบ้านแหง ตำบลนาแก ตำบลหลวงเหนือ ตำบลหลวงใต้ และตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๒  เพื่อ ทำเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหง แต่บริษัทดังกล่าวได้ดำเนินการขอประทานบัตรจนเกิดความไม่ไว้วางใจจากประชาชน ในหมู่บ้านแหงเหนือ หมู่ ๑ และ ๗ หลายประการ อาทิเช่น ๑. บริษัทจดทะเบียนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการป่าไม้ การทำไม้ ปลูกสวนป่า เพื่อขอซื้อที่ดินชาวบ้าน เพราะถ้าหากระบุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทเพื่อทำเหมืองแร่เกรงว่าชาว บ้านจะขายที่ดินให้ในราคาแพงขึ้นหรือไม่ยินยอมขายให้ แต่พอซื้อที่ดินได้แล้ว กลับนำที่ดินมาขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ภายหลัง มิหนำซ้ำใบอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้[1] เป็นใบอนุญาตที่ได้มาในช่วงที่ขอใช้ประโยชน์เพื่อปลูกป่าหรือวนเกษตร แต่กลับนำใบอนุญาตปลูกป่ามาอ้างต่อชาวบ้านและส่วนราชการในพื้นที่ว่าเป็นใบ อนุญาตให้ทำเหมืองแร่ได้ ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ตามข้อกฎหมาย ๒. รายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหิน ตามคำขอประทานบัตรที่ ๔ – ๘/๒๕๕๓ เป็นเท็จ โดยระบุข้อเท็จจริงที่ขัดกับสภาพความเป็นจริงหลายประการ คือ ตามรายงานดังกล่าวระบุภูมิประเทศว่าเป็นที่ราบ แต่ข้อเท็จจริงพบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ราบเชิงเขามีลักษณะเป็นแหล่งต้น น้ำลำธารหรือป่าน้ำซับน้ำซึม ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำหรับการใช้อุปโภคบริโภคของชุมชน มี การระบุถ้อยคำอันเป็นเท็จว่าพื้นที่ขอประทานบัตรไม่ทับทางน้ำ ไม่มีน้ำไหลผ่าน ไม่มีน้ำเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการทำนาทำสวน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าพื้นที่คำขอประทานบัตรทับทางน้ำลำห้วยโป่ง ลำห้วยแม่จอนและลำห้วยสาขาย่อยอีกหลายสาย ซึ่งประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในการนำน้ำใช้ทำนา มี การระบุถ้อยคำอันเป็นเท็จว่าพื้นที่ขอประทานบัตรไม่ทับทางสาธารณะ ทั้ง ๆ ที่มีทางสาธารณะหลายเส้นทางที่ประชาชนใช้สัญจรไปมาตามปกติ จะต้องถูกขุดทำลายเพื่อเปิดหน้าดินไปเอาถ่านหินที่อยู่ใต้ดิน ๓. ขอประทานบัตรทับที่ดินทำกิน ทั้งที่เจ้าของที่ดินไม่ยินยอม โดยรายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตรได้ขอทับพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน ประมาณ ๒๐ กว่าราย ที่ไม่ยินยอมขายที่ดินหรือให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการทำเหมืองแร่ถ่าน หินแต่อย่างใด โดยมีการรวมหัวกันระหว่างข้าราชการและนายทุนเพื่อละเมิดสิทธิครอบครองที่ดิน ของประชาชน โดยพยายามเร่งรัดการขอประทานบัตรเพื่อให้ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหิน ก่อน แล้วให้เจ้าของที่ดินไปเรียกร้องหรือฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเอาที่ดินที่ตนเองมี สิทธิครอบครองกลับคืนมาภายหลัง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ถึงจะได้ที่ดินที่ตัวเองถือครองคืนมาเพราะกระบวน การร้องเรียนหรือฟ้องคดีต่อศาลใช้เวลายาวนานกว่าคดีความจะสิ้นสุด หรือถึงแม้ในที่สุดหากได้ที่ดินคืนมาก็จะไม่มีสภาพเดิมเหมือนเก่า ทำกินไม่ได้อีกต่อไป เพราะถูกขุดเปิดทำลายหน้าดินเพื่อเอาถ่านหินไปหมดแล้ว ๔. มีการทำประชาคมหมู่บ้านเท็จ หลอกลวง สวมรอย เพื่อช่วยเหลือให้บริษัทดำเนินการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหินต่อไปให้ ได้ โดยไม่ฟังเสียงประชาชน หรือบิดเบือนความเห็นที่ได้จากการประชุม กล่าวคือ ในการประชุมชี้แจงข้อมูลของบริษัทและส่วนราชการ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๓ ที่ศาลาเอนกประสงค์โรงเรียนบ้านแหงเหนือ โดยมีปลัด อบต.บ้านแหง เป็นผู้บันทึกการประชุม  และ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๑ และหมู่ ๗ เป็นผู้รับรองรายงานการประชุม ข้อเท็จจริงที่ชาวบ้านบันทึกเอาไว้ได้ในแผ่นซีดีบันทึกภาพและเสียงพบว่าขัด แย้งกับรายงานการประชุม โดยรายงานการประชุมบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า “ใครเห็นด้วยให้บริษัทขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหิน ให้ยกมือขึ้น” แต่ข้อเท็จจริงที่ได้จากแผ่นซีดีบันทึกภาพและเสียงที่บันทึกไว้ได้ในช่วงเวลาเดียวกันระบุว่า “ใครเข้าใจในเรื่องที่อธิบายเกี่ยวกับการชี้แจงการขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหิน ให้ยกมือขึ้น” การ กระทำดังกล่าวไม่ได้เป็นไปตามกระบวนการชี้แจงข้อมูลและสอบถามความเห็นโดย โปร่งใสและสุจริต การถามความเห็นเพียงเท่าที่กล่าว ผู้เข้าร่วมประชุมย่อมเข้าใจได้ว่าเป็นการสอบถามว่าชาวบ้านรับฟังคำชี้แจง แล้วเข้าใจหรือไม่ ไม่ใช่เป็นการสอบถามความเห็นชอบว่า ยินยอมหรืออนุญาตให้บริษัทได้รับประทานบัตรและประกอบกิจการเหมืองแร่ถ่านหิน ตามที่อ้างไว้ในบันการประชุมเท็จแต่อย่างใด ๕. มติของสภา อบต.บ้านแหง เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๓ มิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากว่าสภา อบต.บ้านแหงมีมติเห็นชอบการขอประทานบัตรและการประกอบกิจการเหมืองแร่ถ่านหิน ของบริษัท โดยนำรายงานการประชุมชี้แจงข้อมูลของบริษัทเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๓ ที่บ้านแหงเหนือ มาใช้เป็นหลักฐานพิจารณาลงมติของสภา ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นไปตามหลักการของการมีส่วนร่วมของประชาชน ๖. บิดเบือนข้อมูลผลประโยชน์ที่ อบต. จะได้รับจากค่าภาคหลวงแร่  เนื่องจากว่าการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหินของบริษัทดังกล่าวมี อบต. เกี่ยวข้อง ๒ แห่ง  แห่งแรกเป็น อบต.ในพื้นที่ทำเหมือง คือ อบต.บ้านแหง และแห่งที่สองเป็น อบต. ในพื้นที่เส้นทางลำเลียงถ่านหิน คือ อบต.ปงเตา  ซึ่ง จะมีบ้านปันใต้เป็นเส้นทางลำเลียงถ่านหิน หากมีการทำเหมืองแร่เกิดขึ้นจะได้ส่วนแบ่งค่าภาคหลวงถ่านหินเท่ากับ อบต.และเทศบาลตำบลอื่น ๆ ในจังหวัดลำปางอีก ๙๘ แห่ง คือประมาณ ๓,๙๑๘ บาทต่อเดือน ต่างจากที่ อบต.บ้านแหง ได้เดือนละ ๗๖๘,๐๐๐ บาท หรือแตกต่างกันประมาณ ๑๙๙ เท่า คำถามสำคัญที่ประชาชนบ้านปันใต้ ในเขต อบต.ปงเตา เริ่มตั้งคำถามเสียงดังขึ้นเรื่อย ๆ ก็คือ ทั้ง ๆ ที่ อบต.ปงเตา ต้องแบกรับภาระปัญหาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นไม่แตกต่างกับ อบต.บ้านแหง ไม่ว่าผลกระทบที่เกิดจากฝุ่นถ่านหินระหว่างทางลำเลียง  เสียงดังรบกวนจากรถบรรทุกขนถ่านหิน  น้ำหนัก บรรทุกถ่านหินต่อความสามารถแบกรับน้ำหนักของถนน ถ้าคิดการขนถ่านหินที่ ๓๐ ตันต่อเที่ยว (เฉพาะน้ำหนักถ่านหิน ยังไม่รวมน้ำหนักรถบรรทุก) จะมีรถบรรทุกขนถ่านหินผ่านหมู่บ้านปันเหนือและใต้วันละ ๑๑๑ เที่ยว รวมวิ่งกระบะเปล่า (ขากลับ) เพื่อมารับถ่านหินเป็นวันละ ๒๒๒ เที่ยว หรือคิดเป็นชั่วโมงละ ๕ เที่ยว รวมวิ่งกระบะเปล่าได้ชั่วโมงละ ๑๐ เที่ยว หรือใน ๖ นาที จะเห็นรถบรรทุกถ่านหินวิ่งผ่านหมู่บ้านปันเหนือและใต้ ๑ คัน แล้วทำไมนายทุนและข้าราชการบางคนถึงไปบิดเบือนข้อมูลว่า อบต.ปงเตา จะได้รับค่าภาคหลวงแร่ถ่านหินร้อยละ ๑๐ คิดเป็นเงินประมาณ ๓๘๔,๐๐๐ บาทต่อเดือน เต็มจำนวนโดยไม่ต้องแบ่งค่าภาคหลวงถ่านหินร้อยละ ๑๐ ให้กับ อบต.หรือเทศบาลตำบลอื่น ๆ ทั่วทั้งจังหวัดลำปางอีก ๙๘ แห่ง แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ส่วนแบ่งจากค่าภาคหลวงแร่เพียง ๓,๙๑๘ บาทต่อเดือนเท่านั้น เพราะต้องแบ่งค่าภาคหลวงแร่ร้อยละ ๑๐ ไปให้กับ อบต./เทศบาลตำบลอื่น ๆ อีก ๙๘ แห่งทั่วทั้งจังหวัดลำปาง (ดูตารางในบทความนี้ หน้าถัดไป) ด้วย มูลค่าของค่าภาคหลวงที่แตกต่างกันนี่เองจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม อบต.บ้านแหง ถึงอยากให้มีการทำเหมืองถ่านหินแห่งนี้มาก ถึงขั้นมีมติโดยใช้ข้อมูลเท็จที่ได้จากประชาคมหมู่บ้านสนับสนุนให้บริษัท ดำเนินการขอประทานบัตรต่อไปได้ ในขณะที่ อบต.ปงเตา กำลังเครียดกับการถูกหลอกลวงให้มีมติจากสภา อบต. สนับสนุนให้บริษัทลำเลียงถ่านหินผ่านหมู่บ้านปันใต้ได้   ตาราง มูลค่าและค่าภาคหลวงถ่านหินแหล่งบ้านแหงเหนือ-ใต้
อายุ ประทานบัตร ปริมาณสำรองถ่านหิน ที่บริษัทเขียวเหลืองวางแผนทำเหมือง (๑๐ ล้านตัน) มูลค่าถ่านหิน ที่บริษัทเขียวเหลืองขุดได้ (๙๖๐ บาท/ตัน) ค่าภาคหลวงถ่านหิน ที่รัฐได้ (ร้อยละ ๔)
๑ เดือน ๑๐๐,๐๐๐ ตัน ๙๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๓,๘๔๐,๐๐๐ บาท
๑ ปี ๑,๒๐๐,๐๐๐ ตัน ๑,๑๕๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๔๖,๐๘๐,๐๐๐ บาท
๘ ปี ๔ เดือน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ตัน ๙,๖๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๓๘๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท
  ตาราง ส่วนแบ่งค่าภาคหลวงถ่านหินแหล่งบ้านแหงเหนือ-ใต้ ระหว่างรัฐส่วนกลางกับท้องถิ่น* (บาท)
อายุ  ประทานบัตร ค่าภาคหลวง  ถ่านหินที่รัฐได้ ส่วนแบ่งค่าภาคหลวงถ่านหินแหล่งบ้านแหงเหนือ-ใต้ ระหว่างรัฐส่วนกลางกับท้องถิ่น (บาท)
กระทรวง  การคลัง  (ร้อยละ ๔๐) อบจ. ลำปาง    (ร้อยละ ๒๐) อบต. บ้านแหง     (ร้อยละ ๒๐) อบต. อื่น ๆ    ของลำปาง  (ร้อยละ ๑๐) อบต. อื่น ๆ   ทั่วประเทศ  (ร้อยละ ๑๐)
๑ เดือน ๓,๘๔๐,๐๐๐ ๑,๕๓๖,๐๐๐ ๗๖๘,๐๐๐ ๗๖๘,๐๐๐ ๓๘๔,๐๐๐ ๓๘๔,๐๐๐
๑ ปี ๔๖,๐๘๐,๐๐๐ ๑๘,๔๓๒,๐๐๐ ๙,๒๑๖,๐๐๐ ๙,๒๑๖,๐๐๐ ๔,๖๐๘,๐๐๐ ๔,๖๐๘,๐๐๐
๘ ปี ๔ เดือน ๓๘๔,๐๐๐,๐๐๐ ๑๕๓,๖๐๐,๐๐๐ ๗๖,๘๐๐,๐๐๐ ๗๖,๘๐๐,๐๐๐ ๓๘,๔๐๐,๐๐๐ ๓๘,๔๐๐,๐๐๐
หมายเหตุ *               ส่วนแบ่งหรือการจัดสรรค่าภาคหลวงถ่านหินตามตารางนี้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง การจัดสรรค่าภาคหลวง ออกตามความใน พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งกำหนดให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) จัดสรรค่าภาคหลวงแร่ที่ผลิตได้จากประทานบัตรหรือสัมปทานให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ภายหลังจากหักส่งเป็นรายได้ของรัฐส่วนกลาง (กระทรวงการคลัง) ในอัตราร้อยละ ๔๐ แล้ว   ประเด็น สำคัญจากตาราง เมื่อเทียบกับถ่านหินเพียงน้อยนิด คือ ๑๐ ล้านตัน ผลประโยชน์ที่ อบต.บ้านแหง ได้น้อยนิดเดียว ไม่คุ้มค่ากับทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ผืนแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์และวิถีชีวิตของคนบ้านแหงที่ต้องสูญเสียหรือได้รับ ผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ เพราะต้องเปิดทำลายหน้าดินเป็นบริเวณกว้างมากกว่า ๑,๐๐๐ ไร่ และต้องขุดลึกมากที่ระดับ ๑๕๐ เมตรจากผิวดิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบน้ำใต้ดินอย่างรุนแรงในอนาคต รวมทั้งพื้นที่ที่ต้องถูกเปิดหน้าดินเป็นบริเวณกว้างถึง ๑,๐๐๐ ไร่ดังกล่าว เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยจอน ลำห้วยโป่ง และลำห้วยย่อยอีกหลายสายไหลผ่าน โดยเฉพาะระบบเหมืองฝายของลำห้วยจอนที่นำน้ำไปหล่อเลี้ยงนาข้าวหลายร้อยไร่จะ ถูกทำลายลงไปหากมีเหมืองเกิดขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นหากลำห้วยจอนซึ่งเป็นลำห้วยใหญ่สายหนึ่งที่เติมน้ำให้กับ น้ำแม่แหงถูกทำลายจากการเปิดหน้าดินทำเหมืองถ่านหิน ทุ่งนาผืนใหญ่ของหลายหมู่บ้านที่ใช้น้ำแม่แหงทดน้ำเข้านา ผลผลิตข้าวจะเสียหายตามไปด้วย ซึ่งน้ำแม่แหงเป็นลำน้ำสาขาสายสำคัญสายหนึ่งของลำน้ำงาวก่อนที่จะไหลลงสู่ แม่น้ำยมต่อไป และ เมื่อเทียบกับถ่านหินเพียงน้อยนิด คือ ๑๐ ล้านตัน แต่ค่าภาคหลวงถ่านหินที่ได้จะถูกแบ่งเฉลี่ยให้เท่ากันในแต่ละหมู่บ้านที่ อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต.บ้านแหง เป็นลักษณะเบี้ยหัวแตก จนไม่สามารถเอามาใช้เป็นกองทุนเพื่อเตรียมการ ป้องกัน เฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ หรือกำกับดูแลเพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบได้เลย ก็เพราะว่าค่าภาคหลวงถ่านหินที่ อบต.บ้านแหง ได้รับนั้นจะต้องเอาไปรวมเข้ากับรายได้ส่วนอื่น ๆ ที่จัดเก็บได้ในรอบปี และนำเงินรายได้ที่จัดเก็บได้ทั้งหมดไปวางแผนพัฒนาตำบลในภาพรวม แต่จะไม่สามารถนำเงินรายได้ที่ได้จากค่าภาคหลวงถ่านหินมาวางแผนเพื่อเตรียม การ ป้องกัน เฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ หรือกำกับดูแลเพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำเหมืองถ่านหินโดย เฉพาะแต่อย่างใด เนื่องจากแรงกดดันของสมาชิก อบต. ที่อยากได้ส่วนแบ่งจากค่าภาคหลวงถ่านหินเพื่อเอาไปพัฒนาหมู่บ้านตนเองด้วย เพื่อสร้างความนิยมต่อชาวบ้านที่ลงคะแนนเลือกเข้ามาเป็นสมาชิก อบต.  ทั้ง ๆ เป็นหมู่บ้านที่ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากการทำเหมืองแร่ถ่านหินเลยก็ตาม แต่สมาชิก อบต. พวกนี้มีส่วนสำคัญต่อการยกมือลงมติเห็นชอบให้มีการทำเหมืองได้ พวกเขาจึงเห็นว่าสมควรได้รับค่าตอบแทนจากการยกมือสนับสนุนบริษัท     แผนที่นิเวศหมู่บ้านแหงเหนือ หมู่ ๑ และ ๗ และแปลงคำขอประทานบัตร เพื่อขอทำเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด (จัดทำโดย ชาวบ้านบ้านแหงเหนือ หมู่ ๑ และ ๗ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง  พฤศจิกายน ๒๕๕๓) แผนที่นิเวศของหมู่บ้านแหงเหนือหมู่ ๑ และ ๗ แสดงพื้นที่คำขอประทานบัตรเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด ที่ซ้อนทับลงไปในไร่นาหรือที่ดินทำกินที่บางส่วนเป็นที่ดิน ส.ป.ก. (จัดทำโดย ชาวบ้านบ้านแหงเหนือ หมู่ ๑ และ ๗ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง  พฤศจิกายน ๒๕๕๓)   จากประชาธิปัตย์ถึงภูมิใจไทยและเพื่อไทย ผี ส.ป.ก. ยังตามหลอกหลอน     ป้ายรณรงค์ที่บ้านแหงเหนือ คัดค้านการนำที่ดิน ส.ป.ก. ไปให้นายทุนทำเหมืองแร่ถ่านหิน (ลิขสิทธิ์ภาพถ่ายเป็นของนายขวัญชัย ใจแก้วทิ)   ราย ชื่อเกษตรกรผู้ถือครองที่ดินในเขตที่ดิน ส.ป.ก. ในบริเวณตามคำขอประทานบัตรที่ ๔, ๕ และ ๘/๒๕๕๓ มีทั้งสิ้น ๗๓ ราย รวมพื้นที่ประมาณ ๖๖๑ ไร่ จากพื้นที่ขอประทานบัตรรวม ๕ แปลง คือ แปลงที่ ๔ – ๘/๒๕๕๓ ทั้งหมดประมาณ ๑,๒๐๐ ไร่ หรือคิดเป็นที่ดิน ส.ป.ก. ในเขตคำขอประทานบัตรไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง จาก ปัญหาความไม่ไว้วางใจที่กล่าวมา กำลังนำมาสู่การคัดค้านขอใช้พื้นที่ ส.ป.ก. เพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหงอยู่ในขณะนี้ เพราะมีการเปรียบเทียบกรณีการแจกที่ดิน ส.ป.ก. ๔-๐๑ สมัยที่นายสุ เทพ เทือกสุบรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี ๒๕๓๘ สร้างผลงานชิ้นสำคัญด้วยการแจกที่ดิน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้กับนายทศพร เทพบุตร สามีของนางอัญชลี เทพบุตร ขณะเป็นเลขานุการของตนเอง ไม่เพียงแต่นายทศพร เทพบุตร ที่ได้รับที่ดินผืนงามของเกาะภูเก็ตกว่า ๙๐ ไร่ แต่ยังมีนายทุนและคนสนิทของพรรคประชาธิปัตย์อีกหลายรายที่ได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ เช่นเดียวกัน จากข้อครหาเอาที่ดินคนจนไปแจกคนรวย จนเป็นเหตุให้พรรคประชาธิปัตย์ต้องประกาศยุบสภาหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจ เกี่ยวกับเรื่อง ส.ป.ก. ๔-๐๑ ของพรรคฝ่ายค้าน เนื่องจากว่านายทศพร เทพบุตร และนายทุนและคนสนิทของพรรคประชาธิปัตย์อีกหลายรายไม่ใช่เกษตรกรคนยากจนที่ ไม่มีที่ดินทำกิน แต่เป็นผู้มีอันจะกิน โดยเฉพาะนายทศพร เทพบุตร เป็นเศรษฐีใหญ่ของเกาะภูเก็ต ครั้งหนึ่ง ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยออกแถลงการณ์โต้ คตส. หรือคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่ถูกตั้งขึ้นมาโดย คปค. (คณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กรณีที่นายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการ คตส. แถลงต่อสื่อมวลชนว่าจะแจ้งความกล่าวโทษทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว ในคดีซุกหุ้นและการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตสืบเนื่องมาจากกรณีการแปลงค่า สัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตและกรณีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าให้พม่ากู้ เงิน ๔,๐๐๐ ล้านบาท ว่านโยบายการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ภายหลังศาลได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนและคืนที่ดิน ส.ป.ก. แก่รัฐ (ให้นายทศพร เทพบุตร คืนที่ดิน ส.ป.ก. แก่รัฐ) เป็นการออก ส.ป.ก. ที่ไม่ได้ให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้จริง ซึ่ง นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รู้ดีว่าลำพังพลังทางการเมืองของพรรคภูมิใจไทย ที่ตนเองนำพวกพ้องซึ่งเป็น ส.ส. อยู่ในพรรคดังกล่าว ๗ คน ไปอาศัยอยู่ด้วยไม่สามารถผลักดันให้เกิดเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหงได้อย่าง แน่นอน เพราะทัศนคติทางการเมืองของประชาชนที่บ้านแหงและทั่วทั้งอำเภองาวรังเกียจ พรรคการเมืองอย่างพรรคภูมิใจไทย หนทางเดียวคือต้องอาศัยพลังทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยถึงจะผลักดันให้เกิด เหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหงขึ้นได้ ข่าวที่นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ สามีซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรี และนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นัดพบนายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมาในพรรคภูมิใจไทย ที่หอบหิ้ว ส.ส. และแกนนำกลุ่มมัชฌิมาในพรรคภูมิใจไทยมารับประทานอาหารเย็นร่วมกันเมื่อวัน ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่านายสมศักดิ์กำลังจะย้ายไปอยู่พรรคเพื่อไทย ถือว่ากลับถิ่นเก่าตั้งแต่สมัยที่พรรคเพื่อไทยยังเป็นพรรคไทยรักไทย พร้อมหอบหิ้ว ส.ส. ทั้ง ๗ คน ของพรรคภูมิใจไทยไปอยู่ด้วยชัดเจนขึ้น หลังจากที่เป็นข่าวเรื่องนี้มานานสักระยะหนึ่งแล้ว ไม่ว่านายสมศักดิ์ เทพสุทิน จะเข้าไปอยู่พรรคเพื่อไทยด้วยเป้าหมายใดก็ตาม แต่เป้าหมายหนึ่งก็คือต้องการผลักดันให้ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหินที่ บ้านแหง และนี่คือบทพิสูจน์ ก็เพราะว่าป้ายรณรงค์ของชาวบ้านที่เขียนเอาไว้ว่า ‘ภูมิใจไทยเอาที่ดิน ส.ป.ก. ของคนจนไปให้นายทุนทำเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหง’ เตรียมพร้อมเสมอที่จะเปลี่ยนข้อความเป็น ‘เพื่อไทยเอาที่ดิน ส.ป.ก. ของคนจนไปให้นายทุนทำเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหง’ ถึงแม้จะต่างกรรมต่างวาระ หรือบริบทของเวลาและสถานที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่ข้อกล่าวหา ‘เอาที่ดินคนจนไปแจกคนรวย’ เหมือนสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเมื่อปี ๒๕๓๘ แต่เป็นข้อกล่าวหา ‘เอาที่ดินคนจนไปให้นายทุนทำเหมืองแร่’ ใน สมัยคาบเกี่ยวที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน กำลังนำพวกพ้องกลุ่ม ส.ส. ๗ คน ย้ายออกจากพรรคภูมิใจไทยไปอยู่พรรคเพื่อไทยอยู่ในขณะนี้ ซึ่งข้อกล่าวหานี้จะเป็นบทพิสูจน์พรรคเพื่อไทยว่าจะทำการเมืองแบบพรรคประชา ธิปัตย์หรือไม่         [1] หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เล่มที่ ๑๖ ฉบับที่ ๔๒ – ๔๔ ลงวันที่ ๔ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑  อนุญาต ให้บริษัท เขียวเหลือง จำกัด เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลบ้านแหง อำเภองาว จังหวัดลำปาง เพื่อการเกษตรกรรมแบบผสมผสาน (วนเกษตร) จนถึงวันที่ ๓ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม