ใครได้ใครเสีย จากนิรโทษกรรม และ ตรวจสอบจริยธรรม สส.

939 06 Nov 2013

คำให้การเพิ่มเติมคดีหมายเลขดำที่ 1872/ 2556 ศาลปกครองกลาง วันที่ 1เดือน พย . พุทธศักราช 2556 นายมงคลกิตติ์ สุขสินธ์ธารานนท์ กับพวกรวม 4 คน ผู้ฟ้องคดี ระหว่าง รมต กระทรวงพลังงาน กับพวกรวม 8 คน ผู้ถูกฟ้องคดี ข้าพเจ้า พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง ที่อยู่ 51หมู่ 17 ถนนบางนาตราดกม. 10 แขวงบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540 โทร 086 3671004 ผู้ฟ้องคดีและผู้แทนผู้ฟ้องคดีทั้งสาม พบว่ามีข้อมูลที่จะกราบเรียนต่อศาลเพิ่มเติม ในกรณีย์เจ้าหน้าที่รัฐกำหนดราคา น้ำมันไม่เป็นธรรม จึงใคร่ขออนุญาต กราบเรียน ชี้แจง ต่อศาลดังนี้ ราคาน้ำมัน มีการสนับสนุนให้ใช้ราคาขายอ้างอิงราคา ต่างประเทศ ซึ่งก๊าซหุงต้ม ผลิตได้ในประเทศ ครึ่งหนึ่ง และราคาอยู่ที่ 19-20 บาทต่อลิตร แต่มติคณะรัฐมนตรี และมติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่2,3 ให้ใช้ ราคาต่างประเทศ รวมทั้งการบวกราคาค่ากองทุนน้ำมันอีก ประมาณ 10 บาทต่อลิตร ในน้ำมันเบนซิน 95 แล้วเอาส่วนนี้ไปเพิ่ม ให้ความร่ำรวยปตท และโรงกลั่นต่างๆ ในสามปีที่ผ่านมา ได้ชดเชยไปแล้ว กว่า 140,000 ล้านบาทท เอกสารแนบ 2 และมีคำสั่งที่ให้ชดเชยโดยมิชอบ ที่ลงนามโดยนายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนายการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน ปริมาณ น้ำมัน ที่ผลิตได้ จากน้ำมันดิบ ซึ่ง ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณที่ถูกต้องโดยมีประชาชน มีส่วนร่วม ตามพระราชบัญญัติ ปิโตรเลี่ยม มาตรา 4,9,13 ,76 เพราะกำหนดให้เพียงเจ้าพนักงานเท่านั้นที่จะตรวจสอบปริมาณน้ำมัน และก๊าซ ได้ จึงขาดความโปร่งใส และความถูกต้อง การมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 58 78(4,5) และขาดการได้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 67 85(4) จึงขอกราบเรียนมาเพื่อให้ศาลโปรดพิจารณา ไต่สวน และขอให้หน่วยงานรัฐดำเนินการแก้ไขดังนี้ 1ขอให้แก้ไข พรบ.ปิโตรเลี่ยม มาตรา 4 9 13 76 ในเรื่องการตรวจสอบปริมาณ น้ำมัน ปิโตรเลี่ยม เพราะขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 78 (4,5 ) 2 ขอให้ยกเลิกพรบปิโตรเลี่ยมมมาตรา 84 เรื่องสัดส่วนสัมปทาน 3 ขอให้ยกเลิกพรบ ปิโตรเลี่ยม มาตรา 15,16, 22,23 เรื่องสิทธิการให้สัมปทานเพราะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 58 66 67 85(4) 4ขอให้ยกเลิกมติ ครม ที่กำหนดให้ คิดราคาน้ำมัน และก๊าซ LPG ตามราคาตลาดโลก จึง เป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ออกกฎ คำสั่ง ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน และเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครอง ตามพระราช บัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9(1) และ เป็นผู้กระทำหรือละเว้น การกระทำ โดยมิชอบ หรือ โดยไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 ทั้งหมดนี้จึงใคร่ขอกราบเรียนต่อศาลโปรดพิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริง เพื่อป้องกันความเสียหาย เกิดภาระแก่ประชาชนทั่วประเทศ และผู้ฟ้องคดี ขอขอบพระคุณอย่างสูง ลงชื่อ พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ผู้ฟ้องคดีและผู้แทนผู้ฟ้องคดี ที่1-3 ........................... เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ สภาธรรมาภิบาล พรรคพลังงานไทย เรื่อง การแก้ไขกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐​ และการออกกฎหมายนิรโทษกรรม และการออกกฎหมาย พรบ ความมั่นคง ขัดประมวลจริยธรรมข้าราชการการเมือง และขัดรัฐธรรมนูญ วันนี้ที่๑ พย ๒๕๕๖ เครือข่ายประชาชนข้างต้น ได้ยื่นหนังสือต่อเลขาผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง ๑ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ ให้กรอบการเจรจาการค้าไม่ผ่านสภา เป็นการรวบรัดอำนาจ ทั้งหมด อยู่ที่คนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๕๗​ ๕๘ , ๗๘​(๔,๕​) , ๘๗(๒,๓) ,​๑๖๕,​ ๑๗๕ ๒ การตรากฎหมายนิรโทษกรรม ที่จะเอาอำนาจนิติบัญญัติ และบริหารไปลบล้างอำนาจตุลาการ ซึ่งขัด หลักการปกครองที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย หลักการแห่งการแบ่งแยกอำนาจ อีกทั้ง ถ้าร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา๓มีเจตนาและมุ่งหมายที่จะลบล้างให้คดีทุจริตคอร์รัปชันทั้งหมด ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗​ ซึ่งขัดต่อเจตนารมย์ของอนุสัญญาขององค์การสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านการทุจริต (United Convention against Corruption : UNCAC 2003) รวมทั้งขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา มาตรา๘๒ ที่รัฐต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญา และพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับ นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศหากพรบ .นิรโทษกรรมประกาศใช้ การที่มีนักการเมืองที่ฉ้อโกงประชาชน ไม่ว่าเรื่องจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือทุจริตทุกคดี ก็จะถูกนิรโทษกรรมไปด้วย ซึ่งนักการเมือง ก็จะมีผลประโยชน์ทับซ้อน อีกทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งประธานรัฐสภา และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ นำเสนอกฎหมาย ผ่าน ร่างพรบ.นิรโทษกรรม ฉบับนี้ ถือว่าปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือ คนใดคนหนึ่งที่กำลังถูกตรวจสอบความผิดฐานฉ้อโกง หรือได้กระทำความผิดที่ได้ตัดสินไปแล้ว ถือว่าทำหน้าที่ขัด กฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๒​​ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการ เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น คือการเสนอ กฎหมายนิรโทษกรรม และ ขัดกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ๓ . ประเด็นการใช้บังคับ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พศ​๒๕๕๑ทั้งๆที่ยังไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการรอน สิทธิประชาชน โดยตรงในยามที่บ้านเมืองเป็นปกติ ซึ่งสิทธินี้ถือว่าเป็นเสาหลักสำคัญหลักหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยรวมทั้งรัฐบาลได้ ฉวยโอกาสในช่วงเวลาการออกกฎหมายความมั่นคง เพื่อผ่าน กฎหมายสำคัญๆที่เอื้อประโยชน์ ต่อตนเอง และพวกพ้อง เช่นกฎหมายนิรโทษกรรม และรัฐธรรมนูญ ๑๙๐ อีกทั้งการกระทำของคณะกรรมาธิการ รัฐสภา ซึ่งล้วนเป็น ข้าราชการการเมือง จักต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองพ.ศ. ๒๕๕๑โดยที่มาตรา ๒๗๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภทให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้นโดยให้ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้ โดยข้าราการการเมืองจักต้องปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม คือต้องยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และข้าราชการการเมืองต้องไม่ใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่น ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมืองไปแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สิน หรือไม่ก็ตามซึ่ง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล การประพฤติปฏิบัติตนของรัฐมนตรี ข้าราชการการเมืองอื่นๆ ตามข้อบัญญัติที่๓๐ ผศ.วิวัฒน์ชัย กุลมาตย์ พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี พท.รัฐเขต แจ้งจำรัส นายสมมาตร์ พรนที โทร ๐๘๖๓๖๗๑๐๐๔​​​ ๐๘๙๐๑๖๔๔๕๐​ ................................................................... เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ สภาธรรมาภิบาล พรรคพลังงานไทย ๕๑ หมู่ ๑๗ ถ.บางนา-ตราดกม.๑๐ ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ๑๐๕๔๐ วันที่ ๑ พย. พ.ศ.๒๕๕๖ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐​ และการออกกฎหมายนิรโทษกรรม และการออกกฎหมาย พรบ ความมั่นคง ขัดประมวลจริยธรรม ข้าราชการการเมือง ขัด รัฐธรรมนูญ กราบเรียน ฯพณฯ ประธานรัฐสภา(นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์) เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลได้ใช้เสียงข้างมาก ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ เพื่อให้มี การอนุญาต ให้รัฐบาลสามารถทำการเจรจาการค้ากับต่างประเทศได้ โดยไม่ผ่านสภา รวมทั้งการเสนอร่างพรบ .นิรโทษกรรม และการประกาศใช้ พระราชบัญญัติ ความมั่นคง ฯ เพื่อป้องกันประชาชนมาประท้วงในสิ่งที่ประชาชนไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ภาคประชาชนที่รักความป็นธรรม และห่วงใยบ้านเมือง เห็นว่า การกระทำดังกล่าว ของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการ มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และประมวลจริยธรรม ข้าราชการการเมือง และขอให้ รัฐบาลแก้ไขการ ดังนี้ ๑ การตรากฎหมายนิรโทษกรรม ที่จะเอาอำนาจนิติบัญญัติ และบริหารไปลบล้างอำนาจตุลาการ ซึ่งขัด หลักการปกครองที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย หลักการแห่งการแบ่งแยกอำนาจ หรือในภาษาอังกฤษว่า The Separation of Powers หรือ The Division of Powers (ที่มา . นักกฎหมายระหว่างประเทศ​ ) อีกทั้ง ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา๓มีเจตนาและมุ่งหมายที่จะลบล้างให้คดีทุจริตคอร์รัปชันทั้งหมดซึ่งขัดต่อเจตนารมย์ของอนุสัญญาขององค์การสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านการทุจริต (United Convention against Corruption : UNCAC 2003) รวมทั้งขัดต่อ รัฐธรรมนูญมาตรา มาตรา๘๒ ที่ รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและ ความร่วมมือกับนานาประเทศตลอดจนต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญา และพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับ นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ หากพรบ.นิรโทษกรรมประกาศใช้ การที่มีนักการเมืองที่ฉ้อโกงประชาชน ไม่ว่าเรื่องจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือคดีทุจริตทุกคดี ก็จะถูกนิรโทษกรรมไปด้วย ซึ่งเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตและมีผลประโยชน์ทับซ้อน และฉ้อฉล อีกทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่นำเสอนกฎหมาย ที่ร่วมกัน ยกมือโหวตผ่าน ร่างพรบ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ ถือว่าปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือ คนใดคนหนึ่ง ที่กำลังถูกตรวจสอบ ความผิดฐานฉ้อโกง หรือได้กระทำความผิดที่ได้ตัดสินไปแล้ว ถือว่าทำหน้าที่ขัด กฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๒​​ ที่บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการ เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น คือการเสนอ กฎหมายนิรโทษกรรม และ ขัดกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตซึ่งรวมถึงประธานสภา และผู้แทนทุกท่านที่โหวตผ่านร่างพรบ .นิรโทษกรรมนี้หรือไม่ ๒ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ ให้กรอบการเจรจาการค้าไม่ผ่านสภา เป็นการรวบรัดอำนาจ ทั้งหมด อยู่ที่คนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๕๗​ ๕๘ , ๗๘​(๔,๕​) , ๘๗(๒,๓) ,​๑๖๕,​ ๑๗๕ หรือไม่ ๓ ประเด็นการใช้บังคับ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พศ​๒๕๕๑​ ในพื้นที่ ๓ เขต ของกรุงเทพมหานคร จนถึง ๓๐ พย ๒๕๕๖ โดย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ทั้งๆที่ยังไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการรอน สิทธิประชาชน โดยตรงในยามที่บ้านเมืองเป็นปกติ โดยปิดกั้นการแสดงออกของประชาชนตามสิทธิรัฐธรรมนูญ รวมทั้งรัฐบาล ได้ ฉวยโอกาสในช่วงเวลาการออก กฎหมายความมั่นคง เพื่อผ่าน กฎหมายสำคัญๆที่เอื้อประโยชน์ ต่อตนเอง และพวกพ้อง เพื่อให้คนกลุ่มใด หรือคนใด สามารถกระทำการใดที่มิชอบ ให้ชอบ ด้วยกฎหมายเพราะ ได้ตรากฎหมายรองรับไว้แล้ว เช่น การแก้ไข รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ หรือการออกพระราชบัญญัตินิรโทษ กรรมสำหรับคนที่ถูกศาลตัดสินแล้วว่ามีความผิดเช่น คดี รถดับเพลิง คดีที่ดินรัชฎา ฯ รวมถึงคดีจำนำข้าว ที่ค้างคาในปปช จึงเป็นการสร้างกฏหมาย ออกมารอนสิทธิประชาชน ที่จะใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ ที่เรียกขานกันในภาษาอังกฤษว่า " The Right to Peaceful Assembly and Association" ซึ่งสิทธินี้ถือว่า เป็นสิทธิโดยเด็ดขาดของประชาชน เป็นเสาหลักสำคัญหลักหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นกฏหมายตัวนี้ เมื่อตราออกมาบังคับใช้ เกี่ยวกับการชุมนุมโดยสงบของประชาชน จึงเป็นการรอนสิทธิประชาชนโดยตรงใน การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งการกระทำของคณะกรรมาธิการ รัฐสภา ซึ่งล้วนเป็น ข้าราชการการเมือง จักต้องปฏิบัติ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองพ.ศ. ๒๕๕๑โดยที่มาตรา ๒๗๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภทให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น โดยให้ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้ โดยข้าราการการเมืองจักต้องปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมดังนี้ ข้อ ๖ ข้าราชการการเมืองมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย รักษาประโยชน์ส่วนรวมยึดหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในค่านิยมหลัก คือต้องยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย ข้อ ๘ ข้าราชการการเมืองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยทุกประการ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๑๙๐ การออก พรบ .นิรโทษกรรม และการใช้พรบ. ความมั่นคง ล้วนแล้วแต่ขัดรัฐธรรมนูญ และ เอื้อต่อผลประโยชน์ทับซ้อน ต่อนักการเมือง และผู้ที่ได้กระทำ ความผิด ในเรื่องคอรัปชั่น ข้อ ๑๔ ข้าราชการการเมืองต้องไม่ใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่น ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมืองไปแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สิน หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล การประพฤติปฏิบัติตนของรัฐมนตรี ข้าราชการการเมืองอื่นๆ ตามข้อบัญญัติที่๓๐ จึงใคร่ขอให้ประธานสภา แจ้งไปยังนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดและผู้รับผิดชอบในประมวลจริยธรรมนักการเมือง ได้โปรดดำเนินการ แก้ไขในการตรา พรบ.นิรโทษกรรม การประกาศใช้ พรบ ความมั่นคง และการ แก้ไข รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ เรื่องการกระทำที่ขัดต่อ ประมวลจริธรรมของนักการเมือง ขัดรัฐธรรมนูญ และการไม่ทำตามพันธกรณี ระหว่างประเทศ อย่างเร่งด่วน ผลเป็นประการใด โปรดแจ้งให้ทราบด้วย ขอแสดงความนับถือ ผศ.วิวัฒน์ชัย กุลมาตย์ พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี พท.รัฐเขต แจ้งจำรัส นายสมมาตร์ พรนที โทร ๐๘๖๓๖๗๑๐๐๔​​​ ๐๘๙๐๑๖๔๔๕๐​ ..................................................................... เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ สภาธรรมาภิบาล พรรคพลังงานไทย ๕๑ หมู่ ๑๗ ถ.บางนา-ตราดกม.๑๐ ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ๑๐๕๔๐ วัน๑ พย. พ.ศ.๒๕๕๖ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐​ และการออกกฎหมายนิรโทษกรรม และการออกกฎหมาย พรบ ความมั่นคง ขัดประมวลจริยธรรม ข้าราชการการเมือง ขัด รัฐธรรมนูญ กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลได้ใช้เสียงข้างมาก ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ เพื่อให้มี การอนุญาต ให้รัฐบาลสามารถทำการเจรจาการค้ากับต่างประเทศได้ โดยไม่ผ่านสภา รวมทั้งการเสนอร่างพรบ .นิรโทษกรรม และการประกาศใช้ พระราชบัญญัติ ความมั่นคง ฯ เพื่อป้องกันประชาชนมาประท้วงในสิ่งที่ประชาชนไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ภาคประชาชนที่รักความป็นธรรม และห่วงใยบ้านเมือง เห็นว่า การกระทำดังกล่าว ของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการ มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และประมวลจริยธรรม ข้าราชการการเมือง และขอให้ รัฐบาลแก้ไขการ ดังนี้ ๑ การตรากฎหมายนิรโทษกรรม ที่จะเอาอำนาจนิติบัญญัติ และบริหารไปลบล้างอำนาจตุลาการ ซึ่งขัด หลักการปกครองที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย หลักการแห่งการแบ่งแยกอำนาจ หรือในภาษาอังกฤษว่า The Separation of Powers หรือ The Division of Powers (ที่มา . นักกฎหมายระหว่างประเทศ​ ) อีกทั้ง ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา๓มีเจตนาและมุ่งหมายที่จะลบล้างให้คดีทุจริตคอร์รัปชันทั้งหมดซึ่งขัดต่อเจตนารมย์ของอนุสัญญาขององค์การสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านการทุจริต (United Convention against Corruption : UNCAC 2003) รวมทั้งขัดต่อ รัฐธรรมนูญมาตรา มาตรา๘๒ ที่ รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและ ความร่วมมือกับนานาประเทศตลอดจนต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญา และพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับ นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ หากพรบ.นิรโทษกรรมออกมาได้ การที่มีนักการเมืองที่ฉ้อโกงประชาชน ไม่ว่าเรื่องจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือคดีทุจริตทุกคดี ก็จะถูกนิรโทษกรรมไปด้วย ซึ่งเป็นการใช้อำนาจที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และฉ้อฉล อีกทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่นำเสอนกฎหมาย ที่ร่วมกัน ยกมือโหวตผ่าน ร่างพรบ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ ถือว่าปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือ คนใดคนหนึ่งที่กำลังถูกตรวจสอบ ความผิดฐานฉ้อโกง หรือได้กระทำความผิดที่ได้ตัดสินไปแล้ว ถือว่าทำหน้าที่ขัด กฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๒​​ ที่บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการ เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น คือการเสนอ กฎหมายนิรโทษกรรม และ ขัดกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือไม่ ๒ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ ให้กรอบการเจรจาการค้าไม่ผ่านสภา เป็นการรวบรัดอำนาจ ทั้งหมด อยู่ที่คนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๕๗​ ๕๘ , ๗๘​(๔,๕​) , ๘๗(๒,๓) ,​๑๖๕,​ ๑๗๕ หรือไม่ ๓ ประเด็นการใช้บังคับ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พศ​๒๕๕๑​ ในพื้นที่ ๓ เขต ของกรุงเทพมหานคร จนถึง ๓๐ พย ๒๕๕๖ โดย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ทั้งๆที่ยังไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการรอน สิทธิประชาชน โดยตรงในยามที่บ้านเมืองเป็นปกติ โดยปิดกั้นการแสดงออกของประชาชนตามสิทธิรัฐธรรมนูญ รวมทั้งรัฐบาล ได้ ฉวยโอกาสในช่วงเวลาการออก กฎหมายความมั่นคง เพื่อผ่าน กฎหมายสำคัญๆที่เอื้อประโยชน์ ต่อตนเอง และพวกพ้อง เพื่อให้คนกลุ่มใด หรือคนใด สามารถกระทำการใดที่มิชอบ ให้ชอบ ด้วยกฎหมายเพราะ ได้ตรากฎหมายรองรับไว้แล้ว เช่น การแก้ไข รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ หรือการออกพระราชบัญญัตินิรโทษ กรรมสำหรับคนที่ถูกศาลตัดสินแล้วว่ามีความผิดเช่น คดี รถดับเพลิง คดีที่ดินรัชฎา ฯ รวมถึงคดีจำนำข้าว ที่ค้างคาในปปช จึงเป็นการสร้างกฏหมาย ออกมารอนสิทธิประชาชน ที่จะใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ ที่เรียกขานกันในภาษาอังกฤษว่า " The Right to Peaceful Assembly and Association" ซึ่งสิทธินี้ถือว่า เป็นสิทธิโดยเด็ดขาดของประชาชน เป็นเสาหลักสำคัญหลักหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นกฏหมายตัวนี้ เมื่อตราออกมาบังคับใช้ เกี่ยวกับการชุมนุมโดยสงบของประชาชน จึงเป็นการรอนสิทธิประชาชนโดยตรงใน การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งการกระทำของคณะกรรมาธิการ รัฐสภา ซึ่งล้วนเป็น ข้าราชการการเมือง จักต้องปฏิบัติ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองพ.ศ. ๒๕๕๑โดยที่มาตรา ๒๗๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภทให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น โดยให้ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้ โดยข้าราการการเมืองจักต้องปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมดังนี้ ข้อ ๖ ข้าราชการการเมืองมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย รักษาประโยชน์ส่วนรวมยึดหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในค่านิยมหลัก คือต้องยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม ข้อ ๘ ข้าราชการการเมืองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยทุกประการ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๑๙๐ การออก พรบ .นิรโทษกรรม และการใช้พรบ. ความมั่นคง ล้วนแล้วแต่ขัดรัฐธรรมนูญ และ เอื้อต่อผลประโยชน์ทับซ้อน ต่อนักการเมือง และผู้ที่ได้กระทำ ความผิด ในเรื่องคอรัปชั่น ข้อ ๑๔ ข้าราชการการเมืองต้องไม่ใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่น ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมืองไปแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สิน หรือไม่ก็ตาม ซึ่งนายกรัฐมนตรี รวมทั้งนักการเมืองบางคน ก็ได้ประโยชน์จากการออกพรบ นิรโทษกรรมอันนี้ อีกทั้งนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล การประพฤติปฏิบัติตนของรัฐมนตรี ข้าราชการการเมืองอื่นๆ ตามข้อบัญญัติที่๓๐ จึงใคร่ขอให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดและผู้รับผิดชอบในประมวลจริยธรรมนักการเมือง ได้โปรดดำเนินการแก้ไขในในวิธีการตรา พรบ.นิรโทษกรรม ยกเลิกการประกาศใช้ พรบ ความมั่นคง และการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ เนื่องจากเป็นการกระทำที่ขัดต่อ ประมวลจริธรรมของนักการเมือง ขัดรัฐธรรมนูญ และการไม่ทำตามพันธกรณี ระหว่างประเทศ อย่างเร่งด่วน ผลเป็นประการใด โปรดแจ้งให้ทราบด้วย ขอแสดงความนับถือ ผศ.วิวัฒน์ชัย กุลมาตย์ พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี พท.รัฐเขต แจ้งจำรัส นายสมมาตร์ พรนที โทร ๐๘๖๓๖๗๑๐๐๔​​​ ๐๘๙๐๑๖๔๔๕๐​ ............................................. สภาธรรมาภิบาล ๕๑ หมู่ ๑๗ถนนบางนาตราด กม.๑๐บางพลี สมุทรปราการ ๑๐๕๔๐ www.thammapiban.com E-mail : thai9lee@gmail.com โทร : ๐๘๖-๓๖๗๑๐๐๔โทรสาร.๐๒๗๖๓๗๗๒๒ วันที่ ๓๐ตุลาคม ๒๕๕๖ เรื่อง ขอทราบข้อมูลข่าวสารทางราชการเพิ่มเติม เรียน อธิบดีกรมสรรพสามิต ข้าพเจ้า พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรีในฐานะประชาชนคนไทยขอใช้สิทธิตาม พรบ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ จากการที่ข้าพเจ้า ได้รับเอกสารตอบกลับจากกรมสรรพสามิต เรื่องข้อมูลการชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ กค ๐๖๑๖ ลงวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ เรียบร้อยแล้ว และมีข้อสงสัยในข้อ ๒ บรรทัดที่ ๔ ที่ว่า “ได้มีการจ่ายเงินชดเชยน้ำมันทุกประเภทของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่บริษัทต่างๆ” จึงใคร่ขอทราบว่ามีบริษัทใดบ้างที่ได้รับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเป็นจำนวนเท่าใด ในการตั้งกองทุนน้ำมันที่ผ่านมา จำนวนเงินที่ไปชดเชยให้ปตท และบริษัทต่างๆเท่าใด มีใครบ้าง แต่ละบริษัทได้เงินชดเชยเท่าได จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการภายใน ๑๕ วัน ขอขอบพระคุณอย่างสูง ขอแสดงความนับถือ พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี โทร ๐๘๖๓๖๗๑๐๐๔​​​​ แฟกซ์ ๐๒​๗๖๓๗๗๒๒​​E-mail : kamolpanch@gmail.com .................................................. เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ สภาธรรมาภิบาล พรรคพลังงานไทย ๕๑ หมู่ ๑๗ ถ.บางนา-ตราดกม.๑๐ ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ๑๐๕๔๐ วันที่ ๑ พย พ.ศ.๒๕๕๖ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐​ และการออกกฎหมายนิรโทษกรรม และการออกกฎหมาย พรบ ความมั่นคง ขัดประมวลจริยธรรมข้าราชการการเมือง และขัดรัฐธรรมนูญ กราบเรียน ผู้ตรวจการแผ่นดิน เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลได้ใช้เสียงข้างมาก ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ เพื่อให้มี การอนุญาต ให้รัฐบาลสามารถทำการเจรจาการค้ากับต่างประเทศได้ โดยไม่ผ่านสภา รวมทั้งการ เสนอร่างพรบ .นิรโทษกรรม และการประกาศใช้ พระราชบัญญัติ ความมั่นคง ฯ เพื่อป้องกันประชาชนมาประท้วงในสิ่งที่ประชาชนไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ภาคประชาชนที่รักความป็นธรรม และห่วงใยบ้านเมือง เห็นว่า การกระทำดังกล่าว ของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการ มีความชอบตามรัฐธรรมนูญ และประมวลจริยธรรม ข้าราชการการเมืองหรือไม่ และขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตรวจสอบความชอบในการตรากฎหมาย และแก้ไขกฎหมายฯ ( ตามเอกสารแนบ )ดังนี้ ก. การตรากฎหมายนิรโทษกรรม ที่จะเอาอำนาจนิติบัญญัติ และบริหารไปลบล้างอำนาจตุลาการ ซึ่งขัด หลักการปกครองที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย หลักการแห่งการแบ่งแยกอำนาจ หรือในภาษาอังกฤษว่า The Separation of Powers หรือ ในวันนี้นิยมเรียกกันว่า The Division of Powers (ที่มา . นักกฎหมายระหว่างประเทศ​ ) อีกทั้ง หากร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา๓มีเจตนาและมุ่งหมายที่จะลบล้างให้คดีทุจริตคอร์รัปชันทั้งหมด ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗​ ซึ่งขัดต่อเจตนารมย์ของอนุสัญญาขององค์การสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านการทุจริต (United Convention against Corruption : UNCAC 2003) รวมทั้งขัดต่อ รัฐธรรมนูญมาตรา มาตรา๘๒ ที่รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและ ความร่วมมือกับนานาประเทศตลอดจนต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญา และพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับ นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศหากพรบ.นิรโทษกรรมประกาศใช้ การที่มีนักการเมืองที่ฉ้อโกงประชาชน ไม่ว่าเรื่องจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือทุจริตทุกคดี ก็จะถูกนิรโทษกรรมไปด้วย ซึ่งเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตและมีผลประโยชน์ทับซ้อน ขัดหลักนิติธรรม อีกทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่นำเสอนกฎหมาย ที่ร่วมกันยกมือโหวตผ่าน ร่างพรบ.นิรโทษ กรรม ฉบับนี้ ถือว่าปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือ คนใดคนหนึ่งที่กำลังถูกตรวจสอบความผิดฐานฉ้อโกง หรือได้กระทำความผิดที่ได้ตัดสินไปแล้ว ถือว่าทำหน้าที่ขัด กฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๒​​ ที่บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการ เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น คือการเสนอ กฎหมายนิรโทษกรรม และ ขัดกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือไม่ ข. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ ให้กรอบการเจรจาการค้าไม่ผ่านสภา เป็นการรวบรัดอำนาจ ทั้งหมด อยู่ที่คนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๕๗​ ๕๘ , ๗๘​(๔,๕​) , ๘๗(๒,๓) ,​๑๖๕,​ ๑๗๕ หรือไม่ ค. ประเด็นการใช้บังคับ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พศ​๒๕๕๑​ ในพื้นที่ ๓ เขต ของกรุงเทพมหานคร จนถึง ๓๐ พย ๒๕๕๖ โดย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ทั้งๆที่ยังไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการรอน สิทธิประชาชน โดยตรงในยามที่บ้านเมืองเป็นปกติ โดยปิดกั้นการแสดงออกของประชาชนตามสิทธิรัฐธรรมนูญ รวมทั้งรัฐบาล ได้ ฉวยโอกาสในช่วงเวลาการออก กฎหมายความมั่นคง เพื่อผ่าน กฎหมายสำคัญๆที่เอื้อประโยชน์ ต่อตนเอง และพวกพ้อง เพื่อให้คนกลุ่มใด หรือคนใด สามารถกระทำการใดที่มิชอบ ให้ชอบ ด้วยกฎหมายเพราะ ได้ตรากฎหมายรองรับไว้แล้ว เช่น การแก้ไข รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ หรือการออกพระราชบัญญัตินิรโทษ กรรมสำหรับคนที่ถูกศาลตัดสินแล้วว่ามีความผิดเช่น คดี รถดับเพลิง คดีที่ดินรัชฎา ฯ จึงเป็นการประกาศใช้กฏหมาย ออกมารอนสิทธิประชาชน ที่จะใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ ที่เรียกขานกันในภาษาอังกฤษว่า " The Right to Peaceful Assembly and Association" ซึ่งสิทธินี้ถือว่า เป็นสิทธิโดยเด็ดขาดของประชาชน เป็นเสาหลักสำคัญหลักหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นกฏหมายตัวนี้ เมื่อตราออกมาบังคับใช้ เกี่ยวกับการชุมนุมโดยสงบของประชาชน จึงเป็นการรอนสิทธิประชาชนโดยตรงใน การปกครองในระบอบประชาธิปไตย และขัดรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๓ อีกทั้งการกระทำของคณะกรรมาธิการ รัฐสภา ซึ่งล้วนเป็น ข้าราชการการเมือง จักต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองพ.ศ. ๒๕๕๑โดยที่มาตรา ๒๗๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภทให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น โดยให้ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้ โดยข้าราการการเมืองจักต้องปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมดังนี้ ข้อ ๖ ข้าราชการการเมืองมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย รักษาประโยชน์ส่วนรวมยึดหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในค่านิยมหลัก คือต้องยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมมีจิตสำนึก

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม