การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 : การกระชับอำนาจของฝ่ายบริหารและชนชั้นนำ พร้อมการกำจัดพื้นที่ประชาชน
1015 05 Nov 2013
การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 :
การกระชับอำนาจของฝ่ายบริหารและชนชั้นนำ พร้อมการกำจัดพื้นที่ประชาชน
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
ตาม ที่รัฐบาลได้ผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 จนกระทั่งผ่านการพิจารณาของรัฐสภาวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 ผลของการแก้ไขเนื้อหาหลายส่วนในมาตรา 190 ได้ก่อให้เกิดความสงสัยและสับสนกันอย่างมากว่า จะมีผลกระทบอย่างไร ใครได้? ใครเสีย? และเสียหายอย่างไร? เนื้อหาในมาตรา 190 ที่มีไม่กี่วรรค ทำไมถึงมีผลสะเทือนอย่างมากต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
- ประเภทหนังสือสัญญา (มาตรา 190 วรรคสอง)
บทบัญญัติเดิม |
การแก้ไขใหม่ (ผ่านวาระ 3) |
เดิมกำหนดไว้ว่า “หนังสือสัญญา” ที่ต้องผ่านกระบวนการตาม ม.190 มีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่
1. หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทย
2. หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิ อธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง
3.หนังสือสัญญาที่จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา
4. หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
5. หนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ |
ถูกตัดให้เหลือ 4 ประเภท โดย 3 ประเภทแรกเป็นประเภทหนังสือแบบเดิม แต่ประเภทที่ 4 เขียนให้จำกัดอย่างมาก
1. หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทย
2. หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิ อธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง
3.หนังสือสัญญาที่จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา
4. หนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน |
การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบ
- หนังสือ สัญญาที่จะเข้าข่ายมาตรา 190 ถูกจำกัดให้แคบลงอย่างมาก ซึ่งหมายถึงว่า กระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลของรัฐสภา รวมทั้งกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ก็จะถูกจำกัดพื้นที่ให้แคบลงไปด้วย สามารถเข้าไปร่วมดำเนินการได้เฉพาะหนังสือสัญญาที่กำหนดประเภทไว้อย่างจำกัด เท่านั้น
- ตัวอย่างหนังสือสัญญาประเภทที่ 4 และที่ 5 ตาม ม.190 เดิม ที่ได้ดำเนินการผ่านรัฐสภา เช่น ความตกลงการค้าเสรี ความ ตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญา ความตกลงด้านการเปิดเสรีภาคบริการ ฯลฯ แต่ตอนนี้ถูกจำกัดให้เหลือเพียง “หนังสือสัญญาการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน” เท่านั้น
- กรอบการเจรจา และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (มาตรา 190 วรรคสาม)
บทบัญญัติเดิม |
การแก้ไขใหม่ (ผ่านวาระ 3) |
ก่อน การดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญา คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น และให้คณะรัฐมนตรีเสนอ “กรอบการเจรจา” ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย |
ถูกตัดออกไปทั้งหมด |
การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบ
การ ตัดบทบัญญัติเติมออก ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเตรียมความพร้อมในการเจรจา อำนาจต่อรองในการเจรจา เนื่องจาก ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล และความรอบคอบในการเจรจา เนื่องจากเหตุผลหลายประการ ดังนี้
กรอบเจรจา
- การเสนอ “กรอบเจรจา” ต่อรัฐสภาเป็นสิ่งที่อารยะประเทศกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างความโปร่งใสต่อการเจรจา และเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับคณะเจรจา เมื่อถูกคู่เจรจาเรียกร้องกดดันมาก สามารถปฏิเสธโดยอ้างกรอบเจรจาที่ผ่านรัฐสภาได้
- หัว หน้าคณะเจรจาหนังสือสัญญาหลายคณะ ได้ให้ข้อมูลยืนยันต่อคณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา ว่ากรอบเจรจาเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเจรจา
- การ ที่ต้องเสนอ “กรอบเจรจา” ต่อรัฐสภา ทำให้คณะรัฐมนตรี หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบการเจรจา ต้องจัดทำเนื้อหากรอบเจรจาอย่างรอบคอบ ช่วยยกระดับการเตรียมความพร้อมในการเจรจาของฝ่ายไทย พร้อมทั้งสร้างความพร้อมให้ฝ่ายนิติบัญญัติในการติดตามเพื่อตรวจสอบหรือสนับ สนุนอย่างมีประสิทธิภาพ อันนำไปสู่การลงมติแสดงเจตนาผูกพันธ์หนังสือสัญญาในขั้นตอนสุดท้ายอย่าง รัดกุม
- กรอบ เจรจา ไม่ใช่เรื่องที่สร้างความเสียเปรียบ หรือเป็นการเปิดเผยท่าทีให้กับคู่เจรจารู้ล่วงหน้า เนื่องจากกรอบเจรจาเป็นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของการเจรจา กำหนดหลักการและทิศทางหลักของการเจรจา ไม่ได้แสดงรายละเอียดว่าจะไปเจรจาลดภาษีสินค้าประเภทใด อัตราเท่าใด
- ตัวอย่างกรอบเจรจาความตกลง FTA ไทย-อียู ที่ผ่านรัฐสภาตาม ม.190 เช่น ให้มีมาตรการปกป้องกรณีที่เกิดปัญหาด้านดุลการชาระเงิน ให้มีการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่สอดคล้องกับระดับการพัฒนาของ ประเทศ
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
- การ ให้ข้อมูลและจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ทำให้การเจรจามีความโปร่งใส ทำให้ผลประโยชน์จากการทำหนังสือสัญญากระจายสู่สังคมโดยรวม ไม่กระจุกอยู่เฉพาะกลุ่มอำนาจที่สามารถเข้าถึงข้อมูลการเจรจา และการรับฟังความคิดเห็นที่เปิดกว้างทำให้คณะเจรจาได้เข้าใจและรับทราบแง่ มุมการเจรจาอย่างรอบด้านและรอบคอบมากยิ่งขึ้น
- 3. การเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญา (ม.190 วรรคสี่)
บทบัญญัติเดิม |
การแก้ไขใหม่ (ผ่านวาระ 3) |
เมื่อ ลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงราย ละเอียดของหนังสือสัญญานั้น |
ถูกตัดออกไปทั้งหมด |
การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบ
- การ ที่ประชาชนได้เข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญาภายหลังจากที่ได้มีการเจรจา เสร็จสิ้นแล้ว จะทำให้ประชาชนซึ่งหมายถึงผู้ที่อาจได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและลบ นักวิชาการ ผู้สนใจ ได้ช่วยกันดูรายละเอียดของหนังสือสัญญา ช่วยให้ข้อคิดเห็นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของรัฐสภาในการให้ความ เห็นชอบเพื่อแสดงเจตนาผูกพัน และ ช่วยทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่าสิ่งที่ได้เจรจาตกลงกันจะก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวม การปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญาจะนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจ รัฐสภาขาดข้อมูลข้อคิดเห็นจากภาคประชาชนเพื่อประกอบการพิจารณา
- การแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากหนังสือสัญญา (ม.190 วรรคสี่)
บทบัญญัติเดิม |
การแก้ไขใหม่ (ผ่านวาระ 3) |
ใน กรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม |
ถูกตัดออกไปทั้งหมด |
การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบ
- ผล ของหนังสือสัญญาย่อมส่งผลกระทบทั้งทางด้านบวกและด้านลบ การแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางลบอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม จึงเป็นหลักการที่ถูกต้อง ที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญกำหนดไว้เช่นนั้น แต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหาและอุปสรรคอยู่มาก ดังนั้นเมื่อตัดบทบัญญัติในเรื่องการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบออกไป จากรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีหลักประกันของการดำเนินงานในเรื่องนี้
บทส่งท้าย : ปัญหาของ ม.190 อยู่ที่ไหน ??? และอะไรเป็นทางออก
การ ปฏิบัติตามมาตรา 190 ที่ผ่านมามีปัญหาเกิดขึ้นจริง ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการส่งเรื่องเกี่ยวกับการทำหนังสือสัญญาไปสู่ การพิจารณาของรัฐสภาเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เรื่องที่ส่งไปส่วนใหญ่ไม่ได้เป็น“หนังสือสัญญา” ตามความหมายที่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือ เป็นหนังสือสัญญาแต่ไม่ได้เข้าข่ายหนังสือสัญญาประเภทใดประเภทหนึ่งในหนังสือสัญญา 5 ประเภทตามที่ระบุไว้ในมาตรา 190 วรรคสอง
สาเหตุของปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจาก 2 สาเหตุสำคัญ คือ (หนึ่ง) การไม่ได้ดำเนินการเร่งออกกฎหมายประกอบมาตรา 190 ตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งระบุไว้ว่าภายใน 1 ปีนับตั้งแต่รัฐบาลชุดแรกที่รับตำแหน่งหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ได้แถลง นโยบายต่อรัฐสภา (สอง) ปัญหาความหวาดกังวลของหน่วยงานภาครัฐหลังมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญใน กรณีปราสาทเขาพระวิหาร ทำให้ส่งเรื่องต่างๆ แทบทุกเรื่องให้รัฐสภา เพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน
แนว ทางหลักของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงอยู่ที่การเร่งออกกฎหมายประกอบมาตรา 190 เพื่อสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับรายการของประเภทหนังสือสัญญาที่ต้องนำเสนอต่อ รัฐสภาตามมาตรา 190 ( เท่าที่มีการศึกษารวบรวม มีไม่เกิน 20 รายการ) และสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการ ขั้นตอน รายละเอียดของกติกาต่างๆ เพื่อรองรับการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้ในมาตรา 190
อนึ่ง กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ได้ร่วมกับประชาชนเสนอร่างกฎหมายประกอบมาตรา 190 โดยการเข้าชื่อมากกว่าหนึ่งหมื่นรายชื่อ และเสนอต่อประธานรัฐสภาไปแล้วตั้งแต่ปี 2554 แต่ประธานรัฐสภามีคำสั่งไม่รับ โดยให้เหตุผลว่าประชาชนไม่มีสิทธิ์เสนอกฎหมายประกอบมาตรา 190 ทาง FTA Watch จึงต้องดำเนินการฟ้องศาลปกครอง