1026 15 Aug 2013
ชื่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบ: โครงการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน, ทั่วประเทศ วันที่ 14 ส.ค.56 เวลา 11.30 น. ที่ห้องประชุมชั้น 4 สถาบันวิจัยและพัฒนา (RDI) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำภาคอีสาน โดยนายสุวิทย์ กุหลาบ วงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนพัฒนาชนบท (กป.อพช.อีสาน) นำกลุ่มชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการจัดการน้ำภาคอีสาน ใน พื้นที่การสร้างเขื่อนและฝายกั้นน้ำในลุ่มน้ำโขง ชี มูล ร่วมกับนักวิชาการนิเวศวัฒนธรรม และกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวนกว่า 60 คน ตั้งโต๊ะแถลงข่าว “คัดค้านโครงการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน บทเรียนจากความล้มเหลวและความไม่คุ้มค่าของโครงการโขง ชี มูล รัฐต้อง หยุด! การใช้งบประมาณที่ไม่คุ้มค่า ทำลายระบบนิเวศและวิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำ” โดยนายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ เลขาธิการ กป.อพช.อีสาน กล่าวว่า จากบทเรียนการจัดการน้ำของรัฐในพื้นที่ภาคอีสาน ภายใต้โครงการโขง ชี มูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเขื่อนบนลำน้ำมูล ชี และลำน้ำสาขา ตลอดช่วง 24 ปีที่ผ่านมา ซึ่งรัฐเพิกเฉยที่จะให้ความสำคัญกับกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสังคมและชุมชน ไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชนท้องถิ่นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นโครงการที่เพ้อฝันของนักการเมือง แล้วทุ่มงบประมาณลงไปอย่างมหาศาล ได้ปรากฏอย่างชัดเจนแล้วว่า การจัดการน้ำขนาดใหญ่แบบรวมศูนย์ที่มีแผนแม่บทมาแล้ว และการออกแบบก่อสร้างไม่คำนึงถึงความสอดคล้องเหมาะสมกับภูมินิเวศท้องถิ่น แต่ละแห่ง ได้ทำลายลุ่มน้ำอีสาน “ในนามเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำภาคอีสาน ขอแสดงจุดยืนให้รัฐบาลและสังคมเห็นว่าพวกเราไม่เห็นด้วยกับโครงการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านที่จะทำลาย ระบบนิเวศและวิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำ โดยจะร่วมกันติดตาม และเดินหน้าล่ารายชื่อประชาชน 3.5 แสนคนคัดค้านอีกด้วย” นายนิมิต หาระพันธ์ กลุ่ม ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร และเขื่อนธาตุน้อย กล่าว่า ชาวบ้านในพื้นที่ต้องทนทุกข์ได้รับความเดือดร้อนจากการสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำ ชี มาเป็นเวลา 20-30 ปี จากการที่รัฐบาลในสมัยนั้นโกหกกับชาวบ้านว่าจะทำเป็นฝายยางกั้นแม่น้ำ และบอกว่าจะเอาน้ำมาให้ ในขณะที่ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลยว่าจะเอาหรือไม่เอาโครงการ “กระบวนการมีส่วนร่วมของชาวบ้านก็แค่เข้าไปเป็นตัวประกอบเพราะโครงการได้ถูกกำหนดมาจากข้างบนแล้ว ทั้ง ที่ปัญหาเก่ายังไม่ได้รับรับการแก้ไขปัญหาใหม่ก็ยังจะเข้ามาทับถมอีก สิ่งที่รัฐบาลเยียวยามามันก็ไม่คุ้มกับวิถีชีวิตและแหล่งทำมาหากินที่ชาว บ้านสูญเสียไป ซึ่งจะใช้อีกสักกี่แสนล้านมันก็ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาได้” ด้านนายสันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ นักวิชาการนิเวศวัฒนธรรม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าวว่า จากเหตุการณ์พายุเฮอริเคนแคทรินา พัดถล่มในสหรัฐอเมริกา แล้วเกิดอุทกภัยน้ำท่วมหนักในหลายเมือง ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ จึงทำให้อเมริกาหันมาทบทวนเกี่ยวกับวิศวกรรมการสร้างเขื่อนว่าไม่มีความ เหมาะสมกับการจัดการน้ำ ท้ายที่สุดจึงนำมาซึ่งการทุบเขื่อนออก แล้วบทเรียนที่ไม่คุ้มค่าและล้มเหลวแบบนี้ประเทศไทยยังจะนำมาใช้ในบ้านเรา อีกหรือ “รัฐบาล ควรสนับสนุนรูปแบบการจัดการน้ำที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพพื้นที่อันหลาก หลายในแต่ละภูมินิเวศของพื้นถิ่น ให้ความสำคัญกับสมดุลของระบบนิเวศลุ่มน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมให้ภาคีต่างๆ ในลุ่มน้ำได้มีส่วนสำคัญร่วมกันในการกำหนดรูปแบบเพื่อให้เกิดการแบ่งปันการ ใช้น้ำอย่างเหมาะสม และการเข้าถึงทรัพยากรน้ำอย่างเป็นธรรม” /-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/ นายเดชา คำเบ้าเมือง ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ศสธ.) ตู้ปณ. 14 อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 โทรศัพท์ : 081-3696266 อีเมล์ : decha_61@yahoo.com ; huktin.ud@gmail.com05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม