การสื่อสารทางการเมืองในเฟซบุ๊กและหนังสือพิมพ์ออนไลน์ : กรณี V For Thailand

1484 15 Aug 2013

มีเดียมอนิเตอร์เผย V for Thailand สื่อสารการเมืองแบบไร้แกนนา ชูแนวคิดนิรนามภาคประชาชน ชวนล้มระบอบทักษิณ แต่เน้นการชุมนุมออนไลน์สู่ออฟไลน์ มากกว่าการสร้างและสื่อสารการเมืองด้วยข้อมูลเชิงลึก ส่วนหนังสือพิมพ์ออนไลน์นาเสนอปรากฎการณ์ V for Thailand เป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง ด้วยมุมมองอย่างการเมืองกระแสหลัก มากกว่าเป็นขบวนการของกลุ่มนิรนามภาคประชาชน ======================= ช่วงกลางปี 2556 เกิดปรากฏการณ์ชุมนุมทางการเมืองแบบนิรนามของกลุ่มวีฟอร์ไทยแลนด์ที่ใช้ เฟซบุ๊กในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล (Online) และนัดหมายการชุมนุมทางการเมือง ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด (Offline) ข้อมูลเมื่อ 30 กรกฎาคม 2556 พบว่าเพจ V for Thailand มีจานวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้นถึง 124,000 คน นอกจากนี้ปรากฏการณ์หน้ากากขาวยังได้รับความสนใจในวงกว้าง โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ซึ่งหากใช้คา “หน้ากากขาว” สืบค้นในเสิร์ชเอ็นจิ้นอย่างกูเกิล (Google) จะปรากฏเว็บเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ชุมนุมหน้ากากขาวมากถึง 13,500,000 รายการ โดยในจานวนนี้แบ่งเป็นบล็อกข่าวและเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ถึง 928,000 รายการ การศึกษาเรื่อง “การสื่อสารทางการเมืองในเฟซบุ๊กและหนังสือพิมพ์ออนไลน์ : กรณี V For Thailand” โดยมีเดียมอนิเตอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ (1) เนื้อหาและการสื่อสารทางการเมืองที่ปรากฏในเพจ V for Thailand (2) การนาเสนอปรากฏการณ์ V for Thailand ในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ (3) เปรียบเทียบการนาเสนอเนื้อหาที่ปรากฏการณ์ในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ และข้อความสถานะในเฟซบุ๊กของ V for Thailand หน่วยที่ศึกษา คือ เนื้อหาในเพจเฟซบุ๊ก V for Thailand ระหว่างวันที่ 3-16 มิ.ย. 2556 หรือ ช่วงการชุมชุมใหญ่ครั้งที่ 2 (3-9 มิ.ย. 2556) และ ช่วงการชุมนุมใหญ่ครั้งที่ 3 (10-16 มิ.ย. 2556) และ ศึกษาการนาเสนอปรากฏการณ์ V for Thailand จากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ จานวน 10 ฉบับ คือ ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน ข่าวสด คมชัดลึก โพสต์ทูเดย์ ไทยโพสต์ กรุงเทพธุรกิจ แนวหน้า และ เอเอสทีวี-ผู้จัดการ (จากการสารวจพบว่าไทยโพสต์ออนไลน์ ใช้เนื้อหาข่าวและบทความจากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์รายวัน เป็นหลัก) พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ 1. พัฒนาการและความหมายตั้งต้นของเพจ V for Thailand - เพจ V for Thailand ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 5 ธ.ค.2554 โดยแนะนาภาพยนตร์เรื่อง “V For Vendetta” (ผลงานกากับของ James McTeigue ออกฉายในปี 2548) และวิธีการทาหน้ากากกายฟวอกซ์ ที่เป็นสัญลักษณ์การล้มล้างรัฐบาลคดโกง คอร์รัปชั่น - เดือน ก.พ. 2555 เพจ V for Thailand โพสต์ข้อความตรวจสอบนโยบายรัฐบาล เป็นครั้งแรกในประเด็น การจัดการทรัพยากรน้ามัน ปัญหาคอร์รัปชั่นที่ไทยถูก FATF แบล็คลิสต์เป็นแหล่งฟอกเงิน พฤติกรรมไม่เหมาะสมของนักการเมือง - ในช่วงแรกของการสื่อสารประเด็นทางการเมือง เพจ V For Thailand นาเสนอข้อมูลกิจกรรมจากเพจอื่นที่มีแนวคิดทางการเมืองในทางเดียวกัน เช่น กลุ่มหน้ากากพลังแห่งความดี ชุมนุมเรียกร้อง "สิทธิ และเสรีภาพของสื่อมวลชน" กรณีแบนละคร เหนือเมฆ 2 กลุ่มพลังธรรมาธิปไตย สนามหลวง ร่วมกับ กลุ่ม Woman Thailand จัดกิจกรรมแสดงพลังล้มล้างระบอบทักษิณ ที่สีลม - วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน 2556 คือ การนัดชุมนุมครั้งแรก ด้วยยุทธการ ประกาศศักดา รวมพลใหญ่ คนหน้ากาก โดยก่อนจะถึงวันชุมนุม ทางเพจได้สร้างหน้ากิจกรรมขึ้น ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 โดยมuจุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล รายงานความคืบหน้า รวมทั้งระดมพลและเตรียมความพร้อม เพจ V for Thailand ระบุตนเองว่าเป็น “กองทัพประชาชน" หรือ "The Anonymous Thailand" เกิดขึ้นด้วย "ศรัทธา - พลังแห่งความดี" ระบุสาเหตุที่เคลื่อนไหวทางการเมืองโดยใช้หน้ากากกายฟวอกซ์ จากภาพยนตร์เรื่อง V For Vendetta เนื่องจากตัวละครเอกของเรื่องได้เคลื่อนไหวทางการเมืองภายใต้หน้ากากดังกล่าวเพื่อการต่อสู้กับความไม่ยุติธรรมของรัฐบาล และระบุถึงความหมายของ คาว่า V หมายถึง "Victory" หรือ "ชัยชนะ" ในการต่อสู้กับการคอร์รัปชั่นในประเทศไทย 2. เนื้อหาทางการเมืองของเพจ V for Thailand สัญลักษณ์ทางการเมืองของเพจ V for Thailand คือ รูปหน้ากากกายฟวอกส์ ซึ่งต่อมาสื่อมวลชนเรียกว่า “หน้ากากขาว” เป็นสัญลักษณ์การต่อสู้เคลื่อนไหวทางการเมืองของภาคประชาชนที่ใช้กันมากในหลายประเทศในยุโรปและตะวันออกกลาง เพจ V for Thailand นามาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงรัฐบาล การต่อต้านคอร์รัปชั่น และ ความไม่ยุติธรรมในสังคม จากการสารวจข้อความที่โพสต์ในหน้าเพจ V for Thailand ระหว่างการชุมนุมรอบที่ 2 และ 3 พบ 461 ข้อความ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มเนื้อหาหลัก คือ ข้อความเพื่อสื่อสารความเคลื่อนไหวของกลุ่ม/เพื่อนัดหมายการชุมนุมทางการเมือง (Political Demonstration) จานวน 324 ข้อความ คิดเป็น 70.28% ข้อความประกาศเจตนารมณ์ทางการเมือง (Political Will) จานวน 91 ข้อความ คิดเป็น 19.74% และ ข้อความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง (Political issues) จานวน 46 ข้อความ คิดเป็น 9.98 % ทั้งนี้ แหล่งข้อมูลที่เพจ V for Thailand มักเลือกแชร์มาเป็นข้อความสถานะนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1) แฟนเพจที่มีเนื้อหา/วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งที่คล้ายคลึงกับเพจ V for Thailand และ 2) เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ต่างๆ วิเคราะห์เนื้อหาทางการเมืองของเพจ V for Thailand ได้ดังนี้ -. จุดยืนการเมืองชัด ล้มระบอบทักษิณ ข้อความประกาศจุดยืน/เจตจานงทางการเมือง ซึ่งทาให้ เพจ V for Thailand มีความชัดเจนและสร้างแฟนเพจได้มาก การจาแนกได้ 5 กลุ่มเนื้อหา ดังนี้ (1) ข้อความสื่อความหมายเพื่อการล้มล้างระบอบทักษิณ ซึ่งพบมากที่สุด (54 ข้อความ) รองลงมาคือ (2) ข้อความประกาศจุดยืนความเป็นนิรนาม/ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของกลุ่ม (13 ข้อความ) (3) ข้อความต่อต้านความรุนแรง (11 ข้อความ) (4) ข้อความเรียกร้องความถูกต้อง และความยุติธรรม (7 ข้อความ) และ (5) ข้อความเพื่อการปกป้องชาติและสถาบันกษัตริย์ (6 ข้อความ) -. วิพากษ์ประเด็นการเมืองฉาว เนื้อหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ที่เป็นประเด็นที่ถูกนามาโพสต์เป็นข้อความสถานะมากที่สุด คือ การทุจริตของโครงการรับจำนำข้าว (17 ข้อความ) โดยเฉพาะกรณี นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ และนายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ รัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ในขณะนั้น ที่ไม่สามารถชี้แจงตัวเลขโครงการรับจำนำข้าวที่ชัดเจนให้กับนักข่าวได้ รองลงมาคือ ข่าวพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักการเมือง (10 ข้อความ) ซึ่งมีทั้งการถามหาจริยธรรมจากนักการเมืองทั่วไป และการโจมตีเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะกรณีนายปลอดประสพ สุรัสวดี ต่อด้วย ข่าวความไร้ประสิทธิภาพของกฎหมายในการตรวจสอบการทุจริตทางการเมือง (9 ข้อความ) โดยประเด็นที่โพสต์ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้นักการเมือง และ ข่าวการบริหารงานของรัฐที่ไร้ประสิทธิภาพ (6 ข้อความ) โดยประเด็นที่โพสต์เกี่ยวข้องกับการโจมตีการบริหารงานของรัฐทั้งในภาพรวมและในโครงการต่างๆ เช่น การจัดงาน World Expo เป็นต้น ส่วน ข่าวโครงการเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท (3 ข้อความ) โดยประเด็นที่โพสต์เกี่ยวกับการโจมตีเรื่องการทุจริตและความไม่โปร่งใสในโครงการเงินกู้ 2.2 ล้านบาท ขณะที่ ประเด็นเรื่องการที่รัฐบาลครอบงาสื่อ พบน้อยที่สุด (1 ข้อความ) . จากออนไลน์ สู่ ออฟไลน์ : สื่อสารสร้างกลุ่มเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง เนื้อหาที่พบมากที่สุด คึกคักและมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิกด้วยกันมากที่สุด ของเพจ V for Thailand คือ ข่าวคราวความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มผู้ชุมนุม วิเคราะห์แล้วแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มคือ (1) การนัดหมายวัน เวลา/ การเตรียมความพร้อมในการชุมนุม (164 ข้อความ) (2) การรายงานสถานการณ์การชุมนุม (72 ข้อความ) (3) การขอความร่วมมือในการขยายเครือข่าย และสร้างเพจกลุ่มย่อยต่างๆ (60 ข้อความ) และ (4) การรายงานความเคลื่อนไหวและกิจกรรมทั่วไป (28 ข้อความ) ผลการศึกษายังพบว่า ข้อความพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิก สะท้อนความรู้สึกร่วม ในความยินดี ความภาคภูมิใจ ความหนักแน่นและยึดมั่นในอุดมการณ์ ผ่านข้อความที่ให้กาลังใจ ชื่นชม ยินดี ในการชุมนุมของกลุ่มวีที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เนื้อหาส่วนใหญ่จึงเป็นการแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้สึก มากกว่าข้อมูลด้านการตรวจสอบทางการเมือง และเนื้อหาส่วนนี้นับเป็นปัจจัยสาคัญของการเคลื่อนการชุมนุมในโลกออนไลน์สู่โลกออฟไลน์ หรือการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ 3. การมีส่วนร่วมทางการเมืองและปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองในเพจวี จากการศึกษาพบว่า ข้อความที่สื่อสารภายในเพจ V for Thailand มากที่สุดคือ การสื่อสารเพื่อการเคลื่อนไหวของกลุ่ม/เพื่อนัดหมายการชุมนุมทางการเมือง (พบ 324 ข้อความ คิดเป็น 70.28%,) สมาชิกเพจมักเข้ามามีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ ผ่านการกดถูกใจ (Like) การแบ่งปัน (Share) และการแสดงความคิดเห็น (Comment) กับเนื้อหาการรายงานความเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมกลุ่มวี ซึ่งเป็นประเภทข้อความสถานะที่พบมากที่สุด ในขณะที่ข้อความสถานะที่พูดถึงประเด็นทางการเมืองมักมีการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์จากสมาชิกเพจน้อยที่สุด เนื่องจากเป็นประเภทข้อความสถานะที่พบน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอัตราการกดไลค์ต่อหนึ่งข้อความ กลับพบว่า สมาชิกเพจวี กลับชื่นชอบกดไลค์ข้อความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการประกาศจุดยืน/เจตนารมณ์ทางการเมืองมากกว่า (โดยเฉลี่ย ที่ 1 ข้อความ ต่อ 3,168 ไลค์) ขณะที่ข้อความที่มีเนื้อหาด้านข่าวสารประเด็นการเมือง มีเพียง 2,391 ไลค์ต่อ 1 ข้อความ ส่วนข้อความเนื้อหาการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมือง มี 2,141 ไลค์ต่อ 1 ข้อความ และเมื่อพิจารณา จานวนความคิดเห็น (Comment) และ จานวนการแชร์ข้อความ (Share) ที่มากที่สุดก็ยังคงเป็นข้อความที่มีเนื้อหาด้านการประกาศเจตนารมณ์ทางการเมือง ที่มีอัตราค่าแสดงความคิดเห็น จำนวน 450 ความเห็นต่อ 1 ข้อความ และ 107 ครั้งของการแชร์ ซึ่งสูงกว่าเนื้อหาข่าวสารประเด็นการเมืองและการเคลื่อนไหวทางการเมือง ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า เพจ V for Thailand อาจประสบความสาเร็จในการสร้างฐานมวลชนทางการเมืองของผู้ที่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อต่อต้านระบอบทักษิณ และรัฐบาลคอร์รัปชั่น แต่เนื้อหาทางด้านการตรวจสอบ การแลกเปลี่ยนวิพากษ์ความคิดเห็นทางการเมืองยังมีจานวนน้อย หรือ มีผู้ร่วมกลุ่มส่วนน้อยที่พยามยามสื่อสารข้อมูลเชิงลึกทางการเมือง ในขณะที่สมาชิกส่วนมากของกลุ่ม ค่อนข้างจะสื่อสารเพื่อแสดงว่า “เห็นด้วย” กับเนื้อหาทั้งหมดของเพจ V for Thailand แต่การพูดคุย ถกเถียง แลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นทางการเมือง ยังอยู่ในระดับที่น้อยมาก สรุป คือ เพจ V for Thailand เป็นพื้นที่ในการสื่อสารเพื่อนัดหมายการชุมนุมทางการเมืองผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก (Online) สู่ การชุมนุมที่เกิดขึ้นจริง (Offline) มากกว่าเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล - ประเด็นทางการเมือง อีกทั้งยังเป็นพื้นที่การสื่อสารที่ทั้งผู้ดูแลเพจ และสมาชิกมีอุดมการณ์และเจตนารมณ์ทางการเมืองเดียวกันคือล้มล้างระบอบทักษิณ รัฐบาลคอร์รัปชั่น และปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ 4. สื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์ กับการรายงานข่าวปรากฏการณ์ V for Thailand จากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ 10 ฉบับ (ในช่วงวันที 8-10 และ 15-17 มิ.ย. 2556) พบการนาเสนอปรากฏการณ์การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มวี รวม 227 ชิ้น แบ่งเป็น ข่าว 203 ชิ้น บทความ 24 ชิ้น โดยพบข่าวมากที่สุด จากหนังสือพิมพ์เอเอสทีวี-ผู้จัดการ (42 ชิ้น) รองลงมาคือแนวหน้า (34 ชิ้น) ส่วนบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มวีมากที่สุด พบในหนังสือพิมพ์เอเอสทีวี-ผู้จัดการออนไลน์ (5 ชิ้น) รองลงมาคือคมชัดลึก และมติชน (ฉบับละ 3 ชิ้นเท่ากัน) ในขณะที่ไม่พบบทความที่มีเนื้อหาดังกล่าวจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ในช่วงที่เลือกศึกษา แหล่งข่าวที่หนังสือพิมพ์มักใช้รายงาน คือ แหล่งข่าวที่มาจากฟากการเมืองเดิม เช่น นักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน หรือนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์การเมือง บุคคลที่เป็นแหล่งข่าวที่ปรากฏมากที่สุดคือ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (พบในข่าว 22 ครั้ง) นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พบในข่าว 17 ครั้ง) นายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย (พบในข่าว 16 ครั้ง) นายสุริยใส กตะศิลา (พบในข่าว 15 ครั้ง) และ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บารุง (พบในข่าว 9 ครั้ง) เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของการเป็นข่าว ของแหล่งข่าวที่เป็นสมาชิกกลุ่มวี กับกลุ่มการเมืองอื่นๆ พบว่า กลุ่มวีเป็นแหล่งข่าวที่ถูกอ้างอิงถึงเพียง 25 ครั้ง จากเนื้อหาข่าวทั้งหมด หรือคิดเป็น 11% ขณะที่แหล่งข่าวฟากรัฐบาล พบมากที่สุด คือ 55 ครั้ง คิดเป็น 25% รองลงมาคือแหล่งข่าวจากฝ่ายค้าน พบ 45 ครั้ง คิดเป็น 20% แสดงให้เห็นว่า สื่อมวลชนยังคงใช้แหล่งข่าวคู่ขัดแย้งทางการเมืองคู่เดิม (รัฐบาล-ฝ่ายค้าน) ในการอธิบายปรากฏการณ์การชุมนุมของกลุ่ม V for Thailand วิเคราะห์การรายงานข่าวปรากฏการณ์ V for Thailand ของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ได้ดังนี้ . ประทับตราความหมาย สีขาว คู่ขัดแย้ง สีแดง เกือบทั้งหมดของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ 10 ฉบับที่ศึกษา เรียกสมาชิกเพจ V for Thailand ว่า “กลุ่มหน้ากากขาว” ขณะที่แฟนเพจหรือกลุ่มสมาชิกเพจ เรียกตัวเอง “กลุ่มวี” เมื่อวิเคราะห์ แหล่งข่าว พบว่า แหล่งข่าวกลุ่มรัฐบาล กลุ่มเสื้อแดง และกลุ่มแนวร่วมเสื้อแดง มีแนวโน้มการอธิบายตัวตนของกลุ่มวี ไปในทิศทางเดียวกัน คือเป็นการเชื่อมโยงกลุ่มผู้ชุมนุมหน้ากากขาวกับกลุ่มการเมืองเก่า เช่น กลุ่มการเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มไทยสปริงและม็อบที่สนามหลวง (แหล่งข่าว - อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด, พร้อมพงษ์ นพฤทธิ์) กลุ่มที่มีกลุ่มการเมือง กลุ่มทุนฝ่ายตรงข้ามรัฐที่เคยสนับสนุนรัฐประหาร และผู้มีมีอานาจหนุนหลังอยู่ (แหล่งข่าว - พร้อมพงษ์ นพฤทธิ์) หรือกลุ่มที่เป็นพวกเดียวกันกับกลุ่มเสื้อเหลือง (แหล่งข่าว – ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บารุง) หรือกลุ่มที่พยายามเรียกร้องให้ทหาร ออกมาปฏิวัติ ในขณะที่แหล่งข่าวกลุ่มนักวิชาการ มักอธิบายตัวตนของกลุ่มวี ในลักษณะการเคลื่อนไหวภาคประชาชนเป็นหลัก แหล่งข่าวที่อธิบายสาเหตุการรวมตัวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านระบอบทักษิณของกลุ่มวีที่ชัดเจน มีเพียง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักวิชาการ และ กลุ่มวี ที่หยิบยกประเด็นความไม่มีประสิทธิภาพ ความไม่โปร่งใส และความไม่ชอบธรรมของรัฐบาล เป็นสาเหตุหลักในการรวมตัวชุมนุมทางการเมือง ในขณะที่พบว่า กลุ่มแหล่งข่าวเสื้อแดง หรือ นปช. เลือกอธิบายว่าสาเหตุในการชุมนุมเพื่อล้มรัฐบาลของกลุ่มวีเป็นเรื่องเลื่อนลอย ไร้น้าหนัก ขณะที่บทความในหนังสือพิมพ์ มีการกล่าวถึงกลุ่มวีในลักษณะการวิเคราะห์ตัวตน/ อัตลักษณ์ของกลุ่มวีที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับกลุ่มการเมืองเก่าหรือกลุ่มการเมืองอื่นๆ เช่น การมองกว่าเป็นพวกเดียวกับกลุ่มไทยสปริง เสื้อเหลือง และ การวิเคราะห์กลุ่มวีในลักษณะปรากฏการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชน เช่น การอธิบายว่ากลุ่มวีเป็นการเคลื่อนไหวสมัยใหม่ โดยบทความส่วนใหญ่อธิบายว่าความไม่โปร่งใสของรัฐบาลเป็นสาเหตุหลักที่ทาให้กลุ่มวีออกมาเคลื่อนไหวรวมตัวชุมนุมทางการเมือง การรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ต่อปรากฏการณ์ V for Thailand สะท้อนให้เห็นว่า สื่อมวลชนยังคงทาข่าวในลักษณะของข่าวปรากฏการณ์ และฉายภาพความขัดแย้งของคู่ตรงข้ามเช่นเดิม ยังอาศัยแหล่งข่าวการเมืองเดิมๆ คือ การให้ผู้นาความคิดทางการเมือง (Opinion Leaders) เป็นแหล่งข่าวหลัก และรายงานข่าวปรากฏการณ์ V for Thailand ด้วยมุมมองแบบ “สังเกตการณ์อยู่ห่างๆ” ลักษณะเช่นนี้อาจสะท้อนให้เห็นถึงข้อจากัดด้านกรอบความคิดในการรายงานสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในแบบกลุ่มนิรนาม ที่ไร้แกนนา ดังนั้น ผู้ชุมนุมกลุ่มวีจึงไม่ได้พื้นที่ในฐานะแหล่งข่าว ในสัดส่วน เท่าที่ควร คือมีสัดส่วนเพียง 11% ของแหล่งข่าวที่ปรากฏในข่าวทั้งหมด ซึ่งอาจทาให้หนังสือพิมพ์ออนไลน์สะท้อนปรากฏการณ์ V for Thailand ได้ไม่รอบด้าน ทั้งไม่สะท้อน “การสื่อสารและการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยรูปแบบ วิธีการ หรือ แนวทางที่แตกต่างจากเดิม” นอกจากนี้ หากวิเคราะห์ในเชิงการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาภาคพลเมืองให้มีบทบาทสาคัญในการร่วมตรวจสอบนักการเมืองแล้ว อาจกล่าวได้ว่า ทั้งการสื่อสารของกลุ่มวีและ ทิศทางการนาเสนอปรากฎการณ์นี้ของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ มิได้สื่อสารหรือนาเสนออย่างมีนัยยะเพื่อการพัฒนาภาคพลเมืองให้มีบทบาทสาคัญในการร่วมตรวจสอบนักการเมือง 5. ข้อเสนอแนะ 1. Social Media เช่น Facebook เป็นสื่อสังคมออนไลน์ ที่น่าจะใช้ได้ดีในการสื่อสารทางการเมือง โดยเฉพาะที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการตรวจสอบนักการเมือง แต่ผู้ดูแลเพจ และสมาชิกเพจ ควรมีศักยภาพในการนาเสนอข้อมูลที่เชื่อถือได้ในเชิงลึก อย่างมุ่งหวัง การร่วมคิดวิเคราะห์ เพื่อสืบค้นข้อเท็จจริง สื่อสังคมออนไลน์ควรเป็นพื้นที่การสื่อสาร เพื่อแสดงออกทางความคิดเห็นทางการเมือง อย่างใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ทั้งควรมุ่งพัฒนาให้พื้นที่สาธารณะในสื่อสังคมออนไลน์ เป็นพื้นที่เปิด สาหรับผู้ที่มีจุดยืนทางการเมือง และความคิดเห็นที่แตกต่าง หลากหลาย ควบคู่ไปกับการดาเนินการให้ผู้ร่วมสื่อสาร มีใจเปิดกว้าง มีทักษะและความอดทนอดกลั้นในการถกเถียงแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้สื่อสังคมออนไลน์สามารถทาหน้าที่ยกระดับการสื่อสารทางการเมือง ทั้งการพัฒนาพลเมืองให้เป็นผู้มีบทบาทสาคัญในการร่วมพัฒนาคุณภาพการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบนักการเมือง 2. สื่อมวลชนควรนาเสนอขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง อย่างให้ความสนใจกับมิติขบวนการภาคประชาชน หรือ People Movement มากกว่าการยึดติดในมิติการนาเสนอข่าวแบบมีคู่ขัดแย้ง หรือ ข่าวที่ต้องมีแหล่งข่าวที่คุ้นชิน เช่น นักการเมือง นักวิชาการ นักวิพากษ์ทางการเมือง หรือพึ่งพาแหล่งข่าวที่เป็นผู้นาทางความคิด เพราะในสถานการณ์ที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองมีหลายรูปแบบ สื่อมวลชนควรเปิดพื้นที่ให้แหล่งข่าวที่เป็นประชาชนคนทั่วไป โดยเฉพาะกรณี V for Thailand ที่เน้นความนิรนาม และไร้แกนนำ สื่อมวลชนควรปรับกรอบและมุมมองในการทาข่าวขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง ให้เป็นพื้นที่เพื่อสะท้อนความจริงจากทุกฝ่าย อย่างหลากหลาย และเป็นธรรม ไม่ทางานในกรอบคิดและวิธีการเดิม ๆ โดยเฉพาะ การจัดกลุ่มทางการเมือง อันอาจทาให้สื่อมวลชนกลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มการเมืองกลุ่ม ใดกลุ่มหนึ่ง หรืออาจมีส่วนขยายความขัดแย้ง อย่างไม่ตั้งใจ ในทางตรงกันข้าม ก็อาจทาให้สื่อมวลชนพลาดการรายงานสถานการณ์ทางการเมือง ตามสภาพที่ปรากฏและรับรู้ได้โดยทั่วไป

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม