1063 24 Jun 2013
หลังจากบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ได้เปิดดำเนินการทำเหมืองแร่ทองคำและเงินในปี พ.ศ.2544 จนถึงปัจจุบัน ได้ก่อความเดือดร้อน นานาประการให้กับ ชาวบ้านเขาหม้อ หมู่ 9 ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร และบ้านคลองตาลัด หมู่ ๖ ตำบลวังโพรง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก จน ทำให้ชาวบ้านต้องลุกขึ้นสู้เรียกร้องสิทธิ์ เรียกร้องความเป็นธรรม ผ่านหน่วยงานรัฐและอื่นๆ มาโดยตลอดแต่ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแลจริงจัง ทำให้วันนี้ ทั้งโรงเรียนและวัดต้องร้างปิดตัว คนดั้งเดิมในชุมชนทยอยอพยพย้ายไป กลาย เป็นชุมชนใหม่ที่ส่วนมากเป็นครอบครัวคนงานเหมือง ส่วนผลกระทบที่เกิดจากการระเบิดหินบนเขาหม้อบ้านสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวนจากเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนสารพิษฟุ้งกระจายเข้าบ้านเรือนราษฎรสร้างความเดือดร้อน ให้รับราษฎรเป็นอย่างมากสิ่งแวดล้อมปนเปื้อนด้วยมลพิษ นำมาซึ่งอาการเจ็บป่วยเพราะใช้น้ำ ระบบน้ำบาดาลให้ดินปนเปื้อนสารพิษ ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำทำการเกษตร และ ยังปิดกั้นทำลายขุดเอาทองคำใต้ถนนสาธารณะประโยชน์โดยไม่มีการขออนุญาต ละเมิดวิถีชุมชนและทำลายสาธารณะประโยชน์โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย หลังจากชาวบ้านได้เรียกร้องต่อรัฐบาลมาหลายรัฐบาลเพื่อให้ช่วยแก้ไขปัญหาผล กระทบจากการทำเหมืองแร่แต่ไม่ได้รับความสนใจจากส่วนราชการ ในขณะที่ บริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด กลับวางแผนขยายพื้นที่สำรวจแร่ทองคำมายังเขตจังหวัดพิษณุโลกซึ่งใหญ่กว่า เดิมอีกหลายเท่า อย่างไม่คำนึงถึงความเสียหายที่ยากจะประมาณการได้ ทั้งๆ ที่พื้นที่ทำกิน ชุมชน ในเขตจังหวัดพิษณุโลกเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีประวัติศาสตร์ มีหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต และมีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นพื้นที่ป่าที่ติดกับเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งสะ แหลงหลวง เป็นป่าต้นน้ำเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว มากกว่าที่จะเอามาทำเหมืองแร่ ที่ซึ่งประเทศไทย ประชาชนคนไทยและชุมชนรายรอบแทบจะไม่ได้อะไรเลย มีแต่ความแต่ความเดือดร้อน และเสียงชาวบ้านที่ร้องเรียนเพราะได้รับผลกระทบในทุกๆ ด้าน อาทิ -บ่อ ทิ้งกากแร่ที่ 1 ด้านใต้ของโรงประกอบโลหกรรมเหมืองทองชาตรี กำลังรั่วซึมอยู่ แก้ปัญหาไม่ได้ ชาวบ้านรอบๆพบว่ามีปลาและสัตว์อื่นๆตายในสระน้ำข้างเหมืองทองจำนวนมาก -บ่อทิ้งกากแร่แห่งใหม่ที่ 2 กำลังก่อสร้างปิดทับทางสาธารณะประโยชน์ ซึ่งอบต.ตรวจพบแล้วว่าผิดกฏหมายแต่ไม่ยอมดำเนินการใดๆ -อัค ราไมนิ่งถูกตรวจพบว่าปิดกั้นทางสาธารณะประโยชน์จึง ไปดำเนินการขออนุญาตตามมาตรา9 และพยายามปกปิดขั้นตอนการประกาศที่ระบุว่าจะมีผู้ใดคัดค้านหรือไม่ แต่ชาวบ้านสืบทราบจึงได้ร่วมลงนามคัดค้านการขออนุญาตเส้นทางนี้ไปแล้ว -โรงงานประกอบโลหกรรมส่วนขยายของอัคราไมนิ่ง ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบโลหกรรมแต่ก็ฝ่าฝืนเดนเครื่องผลิต -ชาวบ้าน 100 % รอบๆบ่อทิ้งกากแร่แห่งนี้ 2 คัดค้านมาตลอดแต่ราชการยังดึงดันช่วยเหลือเหมืองทอง -บ่อทิ้งกากแร่แห่งที่ 2 นี้ตั้งอยู่บนชั้นน้ำบาดาลของชาวบ้านรอบๆ ซึ่งเกิดการรั่วซึมอยู่ เป็นต้น ดัง นั้นจึงอยากย้ำเตือนแถลงข้อเท็จจริงให้พี่น้องประชาชนคนไทยรับทราบและยังยืน ยันที่จะยื่นข้อเสนอต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากการสำรวจและทำ เหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด ดังนี้ 1.ให้ รัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ไม่รับคำขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ทองคำและเงินเขตจังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์และพิษณุโลก จนกว่าจะประเมินความเสียหายและผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จากการทำเหมืองแร่ทองคำและเงินของบริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด จากโครงการชาตรีและชาตรีเหนือ จนเสร็จสิ้นเห็นผลเป็นรูปธรรม และ ชดเชย ชดใช้ เยียวยา ความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สภาวะ ปกติสุข หรือมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี เช่น จะต้องไม่มีประชาชนในเขตรอบเหมืองแร่ทองคำโครงการชาตรีและชาตรีเหนือมีสาร พิษปนเปื้อนจนทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บหรือเสียชีวิต จนเสร็จสิ้นเห็นผลเป็นรูปธรรม รวม ทั้งจะต้องทำการฟื้นฟูสภาวะแวดล้อมที่เสียหายไปจากการทำเหมืองแร่ทองคำชาตรี และชาตรีเหนือให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ หรือไม่มีมลพิษปนเปื้อนจนทำอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บให้กับชีวิตประชาชนในรอบ เขตเหมืองแร่ ทั้งนี้ ให้มีตัวแทนประชาชนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินความเสียหาย ชดเชยชดใช้ความเสียหาย และฟื้นฟูสภาวะแวดล้อมที่เสียหายด้วย 2.ให้ สงวน อนุรักษ์ทรัพยากรแร่ทองคำเอาไว้ก่อน โดยให้มีการทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเชิงยุทธศาสตร์ โดยให้มีทางเลือกในการไม่นำแร่ทองคำเอามาใช้ หรือเก็บแร่ทองคำเอาไว้ก่อนด้วย ทั้งนี้ เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ประเทศชาติและ ประชาชนต้องแบกรับค่าชดใช้ ชดเชย เยียวยาและฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยให้มีตัวแทนชาวบ้านกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเนินมะปรางเข้าร่วมเป็นคณะ กรรมการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ด้วย 3.ให้รัฐบาลหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกาศเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อมพื้นที่ภูเขาหินปูนชาย ขอบเทือกเขาเพชรบูรณ์และภูเขาลูกโดด ในเขต อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก เพื่อสงวนรักษาเอาไว้สำหรับเป็นแหล่งทัศนศึกษาหรือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 4.ให้ทำการคุ้มครองชาวบ้านที่ถูกคุกคามจากการคัดค้านการทำเหมืองแร่ทองคำชาตรีและชาตรีเหนือของบริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด ถ้อย แถลงที่ร้องเรียนทั้งหมดนี้ ถูกยื่น ถูกร้องเรียน ผ่านหน่วยงานรัฐมาทุกขั้นตอน ผ่านสื่อมวลชน ผ่านการชุมนุมมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็ยังไร้วี่แวว ซึ่งสิ่งที่ได้คือความเงียบงัน และการมาเยือนของความสิ้นหวัง เหมือนเหยื่อผลกระทบจากโครงการพัฒนาอื่นๆ ที่รัฐคิดเพียง การตักตวงแบบไร้สติปัญญา นั่นเอง... ทีมงานไทยเอ็นจีโอ รายงาน05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม