แอมเนสตี้ส่งจดหมายถึงกรมราชทัณฑ์ย้ำต้องคุ้มครองสิแอมเนสตี้ส่งจดหมายถึงกรมราชทัณฑ์ย้ำต้องคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังภายใต้การระบาดของโรคโควิด-19 ทธิผู้ต้องขังภายใต้การระบาดของโรคโควิด-19 

919 30 Aug 2021

ขอบคุณภาพ จาก ประชาชาติธุรกิจ : https://www.prachachat.net/general/news-670125

แอมเนสตี้ส่งจดหมายถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์ขอให้ตรวจสอบการเข้าถึงสิทธิด้านสาธารณสุขของผู้ต้องขังอย่างเร่งด่วนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในสถานคุมขัง ย้ำ 5 ข้อเรียกร้องที่ต้องตรวจสอบและดำเนินการอย่างเร่งด่วน ทั้งเรื่องการจัดหาอุปกรณ์และสิ่งของเครื่องใช้ในการดูแลสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน อุปกรณ์ป้องกันจากการติดเชื้อโควิด-19 จัดหาอาหารและโภชนาการให้เพียงพอและเหมาะสม มีมาตรการลดความแออัดเพื่อให้สามารถทำการเว้นระยะห่างทางกายภาพได้ รวมทั้งให้การประกันว่าผู้ต้องขังสามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขที่มาตรฐานสากลได้ 

นางปิยนุช โคตรรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นนแล ประเทศไทย ระบุว่าจากการติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในเรือนจำ และได้พูดคุยกับผู้ต้องหาคดีการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ทางแอมเนสตี้มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อสถานการณ์การเเพร่ระบาดของโรคโควิด– 19 ในสถานคุมขังรวมถึงเรือนจำทั่วประเทศ พร้อมระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2564 มีผู้ต้องหาจากการแสดงออกทางการเมืองอย่างน้อย 12 ราย ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวอย่างน้อย 4 ราย ได้แก่ ปนัดดา ศิริมาศกุล สิรชัย นาถึง แซม สาแมท และ ธนพัฒน์ กาเป็ง ซึ่ง 3 รายได้ติดเชื้อโควิดจากเรือนจำ ในขณะที่ผู้ต้องหาอีก 8 ราย ยังอยู่ระหว่างการคุมขังใน 3 เรือนจำ คือ เรือนจำชั่วคราวรังสิต ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง และทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ได้แก่ พริษฐ์ ชิวารักษ์ ภาณุพงศ์ จาดนอก ชาติชาย แกดำ พรหมศร วีระธรรมจารี ณัฐชนน ไพโรจน์ อานนท์ นำภา จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา และเวหา แสนชนชนะศึก  

“เราได้รับรายงานจากทนายความที่เข้าเยี่ยมผู้ต้องหาว่า ผู้ต้องหาที่ยังถูกคุมขังอย่างน้อย 5 รายติดโควิด-19 โดยรวมมีผู้ต้องหาคดีการเมืองที่ได้รับเชื้อโควิดอย่างน้อย 8 ราย จาก 12 ราย เนื่องจากด้วยข้อจำกัดด้านสถานที่ในการคุมขังที่มีความแออัด ผู้ต้องขังจึงไม่สามารถรักษาระยะห่างทางกายภาพ  โดยมาตรการที่เป็นทางเลือกอื่นในการบังคับใช้เเทนการคุมขังยังไม่ถูกบังคับใช้อีกทั้งการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขที่ล่าช้าและมีข้อจำกัดรวมถึงสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังคลุมเครือและอาจเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือนักโทษทางการเมือง ทำให้ผู้ต้องขังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ซึ่งขัดต่อข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (United Nations Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners) 

“ดังนั้น ทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทยจึงเรียกร้องให้กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรมตรวจสอบและดำเนินการอย่างเร่งด่วน ดังต่อไปนี้  

1. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ต้องจัดหาอุปกรณ์และสิ่งของเครื่องใช้ในการดูแลสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน (อาทิ สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน และน้ำยาสระผม) ให้ผู้ต้องขังอย่างเพียงพอโดยเฉพาะในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  

2. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ต้องจัดหาอุปกรณ์ เช่น หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เจลหรือสเปรย์แอลกอฮอลล์สำหรับฆ่าเชื้อ และสบู่ล้างมือ ให้กับผู้ต้องหาทุกคนเพื่อให้สามารถป้องกันตนเองจากการติดเชื้อและอาจช่วยให้ลดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลงได้ 

3. จัดหาอาหารและโภชนาการให้เพียงพอและเหมาะสม โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เชื้อสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและรุนแรง การมีโภชนาการที่เพียงพอให้กับผู้ต้องขังยังมีส่วนช่วยในการเพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกายในสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวได้ 

4. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จำเป็นต้องลดความแออัด เพื่อให้สามารถทำการเว้นระยะห่าทางกายภาพ ซึ่งช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้ 

5. ผู้ต้องขังต้องสามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณะสุขที่ได้มาตรฐานสากล เข้าถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วนเมื่อพบว่าได้รับเชื้อโควิด-19 รวมถึงการเข้าถึงวัคซีนที่เป็นธรรม โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 

 
 

 

**********
 
เนาวรัตน์ เสือสอาด
หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร
Naowarat Suesa-ard
Media and Communications Supervisor

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม