#save ความเป็นธรรม

2038 29 Mar 2021

"เราไม่ได้ต้องการสร้างความขัดแย้งกับชาวบ้าน เราแค่ต้องการรักษาผืนป่าแก่งกระจานที่เป็นสมบัติของคนทั้งชาติ หาจุดตรงกลางให้เราสามารถเดินต่อไปได้ ผืนป่าไม่ใช่สมบัติของใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่แม้แต่ของกรมอุทยานฯ แต่เป็นของคนไทยทุกคน ถ้ามองถึงเจตนารมณ์เราเพียงแค่ไม่อยากให้ผืนป่าถูกทำลายไม่ว่าจะจากฝีมือใครทั้งนั้น เมื่อทุกฝ่ายได้คุยและหาทางออกร่วมกัน สิ่งดีๆก็จะเกิดขึ้นกับผืนป่า ที่สำคัญเป็นป่าต้นน้ำของจังหวัดเพชรบุรี"

( บทสัมภาษณ์ เนตรนภา งามเตร ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน คัดจาก ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 3 มีนาคม 2564 )

ผมนั่งอ่านบทสัมภาษณ์ หรือ ข้อมูล อันเป็นเท็จจริง บางแง่มุมจากเจ้าหน้าที่รัฐบ้าง จากกลุ่มที่ออกมา Save แก่งกระจานบ้าง ซึ่งนับว่าเป็นสถานการณ์ที่น่าสนใจระหว่างการปะทันของขั้วความคิด การจัดการป่าโดยรัฐ ซึ่งได้แบบแผน ชุดความคิด ความรู้ แบบอเมริกา ที่แยกคนกับป่าออกจากกัน กับอีกแนวคิด คือ การจัดการป่าแบบส่วนร่วม หมายถึง ไม่เอาคนออกจากป่า เพราะชุมชน ประชาชน ที่อยู่อาศัยมายานานนั้น ย่อมมีสิทธิ์ที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

อีกทั้ง วิถีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มีงานศึกษา เรื่องรูปแบบการผลิตการเกษตร เป็นวิจัย ค้นคว้าบันทึก สะสมเป็นองค์ความรู้มาหลายปี เพื่อยืนยันว่า คนอยู่กับป่าได้ และ ระบบการทำไร่หหมุนเวียน เป็นรูปแบบการเกษตรเชิงธรรมชาติ มีความเกื้อกูล ความสมดุลให้ธรรมชาติด้วย แต่จนถึงวันนี้จากการเหตุการณ์ ทำให้รู้ว่า สังคมไทย รัฐไทย นั้น กลับไปสู่จุดเดิม คือ สังคมไม่เข้าใจคำว่า “ไร่หมุนเวียน” ที่สำคัญกว่านั้น คือ ยังคงมีอคติกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มีทัศนคติที่เหยียดเชื้อชาติ เหยียดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ค่อนรุนแรงมากในสังคมไทย

แม้กระทั่งท่าที เจ้าน้าที่รัฐเองก็ยังคง ปฏิบัติเช่นนั้น ทั้งๆ  “กลุ่มชาวบ้านกะเหรี่ยงบางกลอย” ทุกคนโนกระทำจากอำนาจรัฐ จากเจ้าหน้าที่ และกฎหมายไทย ที่ไม่เข้าใจ รากฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรมเลย ทำให้ ชาวบ้านกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่ง ถูกขับไล่ เผา อุ้มฆ่า พลัดบ้านพลัดเมือง และขึ้นโรงขึ้นศาล จนบางที ถ้าเรา ซึ่งเป็นระชาชนคนธรรมดา ก็อดถามในใจไม่ได้ ว่า อะไรทำให้ชาวบ้านกลุ่มนี้เผชิญวิบากกรรมหนักหนาเช่นนี้ อย่าถามหาเลย เรื่องความยุติธรรม

ในขณะที่ชาวบ้าน แทบไม่มีพื้นที่ยืน เหน้าที่รัฐ กลับระดม เครื่องไม้เครื่องมือ สรพกำลัง เทคโนโลยี ประดิษฐ์ข้อมูล ทุกรูปแบบมาออกสื่อ มาโจมตี สร้างความจริง ที่คับแคบให้สังคมเชื่อและร่วมเป็นเสียง
save แก่งกระจาน ลำพังฝ่ายหนึ่ง เรียกร้องเพื่อสิทธิ์ เพื่อปากท้อง ตัวเองและลูกหลานตัวเอง แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ใช้คำว่า “ธรรมชาติอันล้ำค่า” “ทรัพยากรของแผ่นดิน” “สมบัติของชาติ” เข้าโจมตี พร้อมข้อมูลที่แอบอิง มากกว่าการศึกษาวิจัย ที่ความรู้วิชาการจริงๆ

 

ผมนั่งภาพถ่ายดาวเทียม แล้วสะท้อนใจ ไร่หมุนเวียน คือ การไร่แบบสลับที่ วนไปเรื่อยๆ หากเป็นสมัยก่อน ยาวนานถึง 15 ปี 12 ปี จึงจะครบกลับมาที่เดิม ซึ่งที่ทำกินตรงนั้นฟื้นกลับเป็นป่า คืนภาพ เป็นแนวทางเกษตรธรรมชาติ เพราะไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไถพรวน แต่การไปถ่ายรูป ตอนแผ้วถางเตรียมเพาะปลูก จึงจงใจ พูดความจริงไม่ครบด้าน และไม่เป็นธรรมกับชาวบ้าน ซึ่งทางออก ควรจะคำนึงการอนุรักษ์ สิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน และ ความยั่งยืนทางสองฝ่าย เรียนรู้กัน มีเป้าหมายด้วยกัน ไม่ใช่ ประชาชน มีหน้าที่ต้องทำตาม และยอมรับการละเมิดสิทธิ์ ไม่จบไม่สิ้น

 

ดังนั้น การปกครองใดๆ ที่ไม่คำนึงถึงความเป็นธรรม การปกครองนั้น ก็ล้วนแต่ไร้ความชอบธรรม รัฐไทย คนไท บางส่น อาจจะชื่นชม และ อยากให้จัดการ ชาวเขาเหล่านี้ ด้วย ความคิดที่อาจจะมองว่า เอาเปรียบได้อยู่กับธรรมชาติ แต่วิธีคิดของชาวกะเหรี่ยงในการมองธรรมชาติ กับ วิธีคิดคนไทยหรือคนเมือง นั้นต่างกัน การอยู่กับธรรมชาตินั้น ผูกโยงกับความเชื่อ พิธีกรรม กติกา และให้สอดคล้อง ไม่เช่นนั้น เขาอยู่มานาน โดยที่ป่าเขาไม่เสียหาย คงทำไม่ได้ และที่ป่าไม้ มันหมด ไปจากแผ่นไทย ไม่ใช่ชาวเขาตัดหรอกครับ ไอ้ชาวเมืองที่นั่งอยู่ในตำแหน่งการเมือง ตำแหน่งข้าราชการ นี่แหละ.... อนุญาตให้ตัด

ถ้าจะถามผม ผมขอ #save ความเป็นธรรม มากกว่าครับ...

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม