2 ทศวรรษ ไทยเอ็นจีโอ ตอนที่ 13 รางวัลเว็บส่งเสริมประชาสังคมดีเด่น กระทรวงไอซีที

1961 22 Jul 2020



การทำงานสื่อเล็กๆ ที่เกิดจากเด็กหนุ่ม 2-3 คน เคยมีสูงสุด 5 คน และเคยลดต่ำแค่ผมคนเดียว ก็หลายปี หลายช่วง ทำให้เราเรียนรู้ อะไรมามาย ความพยายามที่จะสร้างสรรค์ แนวคิด วิธีการ สื่อสารให้สังคมรับรู้ ข่าว ความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับบทบาท การทำงาน ตลอดปัญหาชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิ และการสูญเสียทรัพยากร เป็นงานที่กว้างและสำคัญมาก แต่การสนใจ ใส่ใจของทุน ของคนทำงานพัฒนา แกนนำชาวบ้าน ที่ซึ่งตระหนักและเห็นคุณบทบาทสื่อเล็กๆ มีน้อย หลายคนต้องการใช้สื่อเพียงเพื่อประสิทธิผลในการสื่อสารกับสังคม หรือการเมือง แต่ไม่สามารถที่จะสร้างสื่อของตัวเองได้ เพราะงานทำสื่อ จะให้สำเร็จได้ คนนั้นต้องเข้าใจสถานะของสื่อที่ตนเองทำอยู่ รักในการสัมภาษณ์ ชอบในการรับฟัง ทำความเข้าใจ และสามารถเลือกประเด็นเอานำเสนอได้ ถูกต้อง ตรงตามเจตนาของผู้ต้องการบอกเล่า กล่าวถึง ไม่ใช่สื่อ คือตัวกำหนดเนื้องเรื่อง แต่ฝ่ายเดียว

ด้วยความที่เราไม่มีทักษะ เรื่องสื่อแบบสื่อมวล ไม่ไดรียนมาและเรามีชุดความเชื่อในการทำสื่อ ในรูปแบบที่เราทำได้และถูกต้องตามแนวคิดที่เราอยากทำ นั่นคือ เขียนจากความจริงที่แหล่งข่าว หรือ ผู้ใหญ่สัมภาษณ์ พูด เผย นำเสนอ ออกมาทั้งหมด บางคนว่ามันยาวไป ไม่มีใครอ่าน ก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็อาจจะมีคนที่สนใจจริงๆ นำไปศึกษาค้นคว่าต่อ  หรือที่ผมมักบอกน้องๆ ในทีมเสมอเวลาถอดเทป ว่าอย่าตัดโดยไม่จำเป็น คำหยาบ ประเด็นซ้ำ ตัดได้ แต่นอกจากนั้น ถ้าชาวบ้านอยากพูด ก็ลงให้หมด

ผมเรียกสื่อตัวเองนี้ ว่า สื่อทางเลือก จนเป็นที่คุ้นหูในเวลานั้น และอิทธิของ
www.Thaingo.org แม้ว่าไม่สามารถพัฒนาตัวเองให้เติบโตเป็นสื่อกระแสหลักได้ แต่ก็เป็นสื่อที่คนทำงานพัฒนาทั้งรุ่นใหม่ รุ่นเก่าเกือบทั่วประเทศรู้จัก  จนวันหนึ่งมีน้องๆ ลาออกจากทัมไปขยับงานสื่อที่บ้านเกิด ก็อยากสร้างสื่อไทยเอ็นจีโอ เวอร์ชั่นภูมิภาค ตอนเรียกตั้งชื่อว่า “เสียงอีสาน” ( Seang Esaan ) ผมก็เลยแซวไปว่า เหมือนชื่อ คณะหมอลำแม่นกน้อย อุไรพร คนจะสับสน วันนั้น ผมตั้งชื่อให้ใหม่ว่า Esaan Voice  ซึ่งเป็นที่ชอบใจมาก แต่ก็เดินต่อไปได้ไม่นาน เหมือนสื่อเว็บอื่นๆ ของขบวนเอ็นจีโอไทย เนื่องจากคนทำงานไม่ได้ทะลุทะลวงวิธีคิดในการทำสื่อ ที่สำคัญผู้บริหารสื่อ (webmaster) ต้องเป็นคนเข้าใจวิธีการทำงาน และมีบทบาทสำคัญมากในการนำพาสื่อเว็บนี้ให้รอด หมายถึง มีคนเข้ามาชม มาอ่าน มาติดตาม

ในแง่หนึ่ง ผมมีผู้บริหารที่มีเมตตามาก คือ พี่ต๋อย (กรรชิต สุขจมิตร) มากกว่านั้น คือ เข้าใจถ่องแท้และให้เต็มที่ในเรื่องเสรีภาพทางความคิด ทำให้คนสื่อนำเสนอได้เต็มที่ไม่ต้องพะวง ต่างๆ หลายๆองค์กรที่ทำไปไม่ได้แพราะมีคนคอยตรวจสอบ ตรวจตราข่าว จนขาดความอิสระ และสุดท้าย ก็ยุติ

ขยับจากสื่อมาสร้างคนทำสื่อ อบรมทำเว็บ อบรมแบบกราฟฟิค  อบรบตัดต่อถ่ายทำคลิป วีดีโอ  อบรมนักคิดนักเขียนนักแต่ง  นักรายงานข่าว อบรมผู้บริหารเว็บไซต์ และสร้างกลุ่ม ชมรม เครือข่าย อาทิ ชมรม
ICT เพื่องานพัฒนา นั่นคือบทบาทในยุคแรกๆ จนมาถึงยุคที่ 2 สร้างค่ายสร้างคน (หนุ่มสาว เยาวชน) สร้างขบวนคนหนุ่มสาวไปเรียนรู้ปัญหา ไปทำกิจกรรมร่วมกัน อาทิ ค่ายแม่ดึ๊ ค่ายสาม มอ.  (มหาลัย) ค่ายทำสื่อ ค่ายสร้างบุญ ฯลฯ



1 ทศวรรษ ไทยเอ็นจีโอ จึงเห็นโชคชะตาของไทยเอ็นจีโอ ทั้งขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุด แค่เพียงในรอบ 10 ปี ต่ำสุดนี่ถึงขนาดไปทำอย่างอื่น เพราะไทยเอ็นจีโอ หาทุนไม่ได้ ต้องหันไปทำงานอื่นๆ แทน แล้วงานนั้นก็กลายเป็นงานหลักเพื่อประคองการอยู่รอด และทำไทยเอ็นจีโอ เป็นงานว่าง งานอดิเรก ในเวลาต่อมา

แต่สิ่งหนึ่งที่ยืนยันเป็นหลักฐานว่าตลอดระยะเวลา   
1 ทศวรรษนั้น ไทยเอ็นจีโอทำอะไรไปบ้างให้สังคม คือ รางวัลเว็บไซต์ส่งเสริมประชาสังคมดีดเด่น ปี 2546 จากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ( กระทรวง ICT ) และนั่น คือ  ปีที่ www.thaingo.org ขึ้นไปสู่จุดสูงสุดในฐานะเว็บไซต์สื่อทางเลือก ชื่อ ThaiNGO.org

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม