ความเกลียดชังพุทธ-มุสลิมผ่านFake News ความท้าทายของสองศาสนิกในสังคมไทย

4983 21 Jan 2020

 

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) 

 

Shukur2003@yahoo.co.uk

                ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน

Fake News มหันตภัยร้ายทีกำลังทิ่มแทงสังคมพุทธ-มุสลิม

คำว่า Fake News อาจจะดูแคบเกินไป เพราะอันที่จริงแล้ว Fake News ไม่ได้หมายถึงข่าวที่ไม่จริงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ไม่เป็นข่าวลวง ซึ่งเป็นมหันตภัยใหม่และรวดเร็ว

             ความเป็นจริง Fake News มีมานานแล้ว แต่หลังจากมีการปล่อยคลิปข่าวเท็จ กล่าวคือกรณีที่มีผู้เผยแพร่คลิปในสื่อออนไลน์ตั้งข้อสงสัยว่าทำไมผู้กู้ยืม กยศ.ต้องกู้ยืมผ่านธนาคารอิสลาม ทำไมไม่กู้ผ่านธนาคารออมสิน และหากยอมเปลี่ยนศาสนา แล้วกยศ. จะยกหนี้ให้ จริงหรือไม่ (โปรดดูใน https://ejan.co/news/5ddce9934a302 )และข่าวนี้ถูกแชร์ และมีวิวาทะอย่างรุนแรงแม้ในห้องประชุมที่มีแม่ทัพภาคที่4 เป็นประธานที่ประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่ชายแดนใต้ของกลไกขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยมี http://spmcnews.com/?p=22693

  

          เรื่องเหล่านี้มีพลวัตแม้รัฐจะออกมาชี้แจงแต่ก็ไม่เป็นผล กล่าวคือ ตามที่ปรากฏข่าวสารทางสื่อออนไลน์ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปว่า ศาสนาอิสลามกำลังยึดครองประเทศไทย โดยกล่าวอ้างว่า รัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้มีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองศาสนาอิสลาม ซึ่งเมื่อรวมกับกฎหมายอิสลามที่มีอยู่เดิม จึงมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามถึง 10 ฉบับ มีมัสยิดเกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก มีการก่อสร้างมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีการสร้างห้องละหมาดไว้ตามที่สาธารณะต่างๆ รวมทั้งมีการรื้อทำลายวัดในศาสนาพุทธไปหลายแห่ง เป็นต้น

http://spmcnews.com/wp-content/uploads/2019/11/S__77250579-Custom-300x225.jpg.
✅✅
กรมการปกครอง ชี้แจงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย ดังนี้

.
✅✅
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องศาสนาอิสลาม จำนวน 4 ฉบับเท่านั้น ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. 2524 พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545

.
✅✅
โดยไม่ปรากฏว่ามีพระราชบัญญัติคุ้มครองศาสนาอิสลามแต่อย่างใด และรัฐบาลชุดปัจจุบันมิได้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม จะมีก็แต่เพียงการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. 2524 เพื่อโอนภารกิจการส่งเสริมกิจการฮัจย์ให้กรมการปกครองดูแลเท่านั้น

.
✅✅
ดังนั้น ประเด็นว่า มีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองศาสนาอิสลาม และมีกฎหมายอิสลาม จำนวน 10 ฉบับ จึงเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ

.
✅✅
มัสยิดเป็นศาสนสถานในศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับวัดในพระพุทธศาสนา หรือโบสถ์ในศาสนาคริสต์ ซึ่งสร้างขึ้นตามศรัทธาของศาสนิกชนที่นับถือศาสนานั้นๆ โดยกฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องจดทะเบียนกับทางราชการทุกแห่ง แต่หากประสงค์จะจดทะเบียนให้เป็นนิติบุคคลเพื่อจะถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ก็ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น วัด ก็ดำเนินการตามพระราชบัญญัติสงฆ์ พ.ศ. 2505 หรือการสร้างโบสถ์ในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก ก็ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาธอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128 หรือมัสยิด ก็ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540

http://spmcnews.com/wp-content/uploads/2019/11/S__77250581-Custom-300x225.jpg

.
✅✅
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีมัสยิดที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 จำนวน 3,965 แห่ง ซึ่งจากการจัดเก็บสถิติย้อนหลัง 6 ปี (พ.ศ.2555-2560) พบว่า มีมัสยิดขอจดทะเบียนเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 32 แห่ง ซึ่งสร้างขึ้นตามศรัทธาของชาวไทยมุสลิม มิใช่การสนับสนุนของรัฐบาลชุดปัจจุบันแต่อย่างใด

.
✅✅
ส่วนประเด็นที่กล่าวอ้างว่า การสร้างวัดต้องทำประชาพิจารณ์ ส่วนการสร้างมัสยิดไม่ต้องทำประชาพิจารณ์ ก็ต้องพิจารณาว่า กฎหมายกำหนดให้ต้องมีขั้นตอนดังกล่าวหรือไม่

.
✅✅
ประเด็นที่กล่าวอ้างถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม และการสร้างมัสยิด จึงเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ และบิดเบือน เพื่อสร้างกระแสให้เกิดความเข้าใจผิดต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งผู้นำเข้า หรือเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

       ล่าสุดมีการแถลงการณ์จากชาวพุทธกลุ่มหนึ่งออกคลิป ถ้าชายแดนใต้ ไม่สงบ!! ก็ให้จบการสร้าง มัสยิดทั่วไทย!!และกล่าวหาว่า การสร้างมัสยิดจะนำสู่ความรุนแรง ดูhttps://www.youtube.com/watch?v=naov-SIjg5o

 

กล่าวคือ เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.62 เวลา 09.00 น. ที่ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ออกรับหนังสือขอข้อมูลในการสร้างมัสยิดที่จังหวัดมุกดาหารจากกลุ่มมวลชน ในจังหวัดมุกดาหาร กลุ่มองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ ( อปพส.) และชมรมพิทักษ์พระพุทธศาสนา พร้อมด้วยพระสงฆ์ ในพื้นที่ ประมาณ 50 คน ซึ่งนำโดย นายอัยย์ เพชรทอง เลขาธิการองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ ( อปพส.) นายดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์ ประธานชมรมพิทักษ์พระพุทธศาสนา

นายอัยย์ เพชรทอง กล่าวว่า กลุ่มองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ ( อปพส.) และชมรมพิทักษ์พระพุทธศาสนา พร้อมด้วยพระสงฆ์ในจังหวัดมุกดาหาร ที่รวมตัวกันเดินทางมาในครั้งนี้ เดินทางมาด้วยความบริสุทธิ์ใจเพราะสงสัยว่าการสร้างมัสยิดที่จังหวัดมุกดาหารถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย มีการทำประชาพิจารณ์ ลงประชามติ หรือไม่

นายดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์ กล่าวว่า ชมรมพิทักษ์พระพุทธศาสนา เดินทางมาในครั้งนี้ เพราะสงสัยว่าการสร้างมัสยิดที่จังหวัดมุกดาหารชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า ทุกศาสนาเราอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบ เรื่องการก่อสร้างมัสยิดที่จังหวัดมุกดาหารนั้น มีการดำเนินการตามขั้นตอน เป็นเวลานานแล้ว ในส่วนองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ ( อปพส.) ที่มาให้ความรู้กับพี่น้องชาวพุทธก็ไม่ว่ากัน อยากฝากเรื่องของศาสนาพุทธที่ทั่วโลกยอมรับสอนให้เรามีสติ มองดูผู้อื่นแล้วย้อนมองตัวเอง เรามีหลักคำสอนที่ดีหมดแล้วอยู่ที่เราจะปฏิบัติได้แค่ไหน เป็นหลักในการดำเนินชีวิต หลักสำคัญอีกอย่างคือการให้อภัยเป็นการยกระดับจิตใจ ซึ่งเราทุกคนต่างเป็นชาวพุทธ นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าว  (โปรดดู https://siamrath.co.th/n/118663)

             ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข กล่าวว่า  “เราคงได้รับรู้รับทราบถึงปรากฏการณ์ของการตื่นกลัวอิสลามในสังคมไทยที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการขาดความรู้ความเข้าใจ การคลาดเคลื่อนในข้อมูลข่าวสารและข้อเท็จจริง และมาจากการใช้ทฤษฎีเหมารวม ในการอธิบายสถาการณ์ต่าง ๆ ที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมและความเข้าใจที่คับแคบของมุสลิมเอง อย่างไรก็ตาม การปล่อยให้มีการแสดงความคิดเห็นที่รุนแรง และการโต้เถียงกันไปมาในโลกของโซเชียลมีเดียไม่เป็นผลดีต่อบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันในสังคมสมานฉันท์อย่างสังคมไทย และอาจบานปลายไปสู่การแตกแยกและการเกลียดชังระหว่างศาสนา เหมือนกับที่เกิดขึ้นในบางประเทศรอบบ้านของเรา

http://spmcnews.com/?p=22823

 

ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอแนะที่ประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่ชายแดนใต้ของกลไกขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีการจัดตั้งคณะทำงานจะการทำความจริงในเรื่องให้ปรากฎ เพื่อแก้ปัญหาที่มีใครนำไปขยายความเกลียดชังระหว่างพุทธ-มุสลิมให้เป็นการเติมเชื้อไฟใต้

หากมองข่าวนี้ที่ถูกแชร์ในโลกออนไลน์ที่ชายแดนใต้นอกการประชุมยิ่งเห็นอารมณ์ของผู้คนมากมายจริงๆในขณะเดียวกันมีการตั้งคำถามว่าสังคมเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร เชื่ออะไรง่ายๆ หรือมันสะท้อนระบบการศึกษาไทยดร.วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ ให้ทัศนะต่อเรื่องนี้ว่า#การศึกษาของเราล้มเหลวจนน่าวิตกกล่าวคือนี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความล้มเหลวในการสอนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณของระบบการศึกษาไทยเรื่องแค่นี้ยังกลายเป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศได้ทั้งๆ ที่ทุกคนควรคิดได้ว่าเป็นเรื่องโจ๊กของคนไม่สมประกอบ สติไม่อยู่กับร่องกับรอย แต่ดันกลายเป็นกระแสความตื่นตูมกันได้ทั้งประเทศผมคิดว่าผู้บริหารไอแบงค์ต้องฟ้องนะครับ เพื่อเป็นอานิสงส์กระตุกต่อมคิดของคนไทย และเพื่อยืนยันสิทธิขั้นพื้นฐานในการปกป้องตนเองของธนาคาร  ฟ้องเพื่อเปิดพื้นที่พูดคุยให้สังคมเข้าใจกันด้วยเหตุด้วยผลเพื่อให้สังคมได้ตระหนักร่วมกันว่าการให้ข่าวเท็จแบบมักง่ายขาดความรับผิดชอบแบบนี้เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในสังคมอารยะ

ถ้าไอแบงค์(ธนาคารอิสลาม) ไม่ฟ้อง ผู้ถือหุ้นจะมีช่องทางไหนได้บ้าง ในการฟ้องผู้บริหารไอแบงค์ฐานที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่
 

นางสาว ลม้าย มะนาการมองว่า นี่อาจจะเป็น ความคับข้องใจของคนพุทธในพื้นที่ ที่ถูกสะสม ความเจ็บปวดที่เขาคิดว่าถูกกระทำตลอดไฟใต้ซึ่งท่านให้ทัศนะและเสนอแนะว่า ยังมีหลายเรื่อง ที่ดูจะต่อคิว ให้ ไม่เข้าใจกัน ถ้าเรามีฐานว่า ให้กลุ่มคนที่รู้สึกอึดอัด ระบาย ออกมาบ้าง
ดิฉันจำได้ว่า คณะกรรมการสมานฉันท์ (รายงาน กอส. 1ใน 9 ทางออก ) ) ระบุว่าการเปิดพื้นที่ความเจ็บปวดได้แสดงตัวในพื้นที่สาธารณะ และ มีกระบวนการจัดการ ที่เหมาะสม จะนำสู่การแก้ปัญหา ร่วมกันเป็นห่วงมากค่ะ เรื่องพุทธ_มุสลิม นิ
น่าจะเป็น ประเด็นอยู่เรื่อยไปเราคุยกันแบบ interface ในคนระนาบเดียวกันบ้าง น่าจะ เป็นทางเลือกทางไหมคะ

ด้วยความห่วงใยนะคะเราจะมาตั้งป้อม กันแบบนี้ หรือ อยากให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบแค่ การฆ่ากันตาย ด้วยอาวุธ นี้ก้อ ไม่รู้จะจบเมื่อไร

ในชีวิตประจำวัน มีประเด็น กันแบบนี้อีก จะแย่เอานะคะ

http://spmcnews.com/wp-content/uploads/2019/11/11-4-300x225.jpg
 

 

ในไลน์กลุ่ม โครงการลดความเกลียดชังในสื่อได้มองเห็นพิษภัยของFake News ที่จะยิ่งเพิ่มปัญหาชายแดนใต้ให้แก้ยากขึ้นหรืออาจจะยากกว่า ขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่อาจจะควบคุมได้ แต่โรคสร้างความเกลียดชังของมวลชนสองฝ่ายอาจจะนำสู่สงครามประชาชน และมีการเสนอแนะว่า ต้องมีเวทีที่เรียกว่าพื้นที่กลางการพูดคุย

                “ fake news ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เล่นประเด็นที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับFake News นั้น มีอคติเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คือเรื่องศาสนา ทำให้ fake news มีประสิทธิภาพดังต้องตระหนักก่อนว่า fake news เป็นเครื่องมือ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ มาในรูปของข่าว เพราะข่าวขายความน่าเชื่อถือทำให้คนเชื่อ วางใจ บวกกับอคติในตัว ทำให้ Fake News ประสบความสำเร็จ มี
2 ประการคือ1. ในเชิงโครงสร้างถ้า fake News ถูกใช้เป็นเครื่องมือแบบนี้ ใน จังหวัด ชายแดนภาคใต้ได้ผล
ทุกคนในที่นี่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกันหมด จำเป็นต้อง
สร้างสร้างระบบ Fact Checkingการตรวจสอบข้อมูลร่วมกัน ช่วยกัน ซึ่งทำประสบความสำเร็จในไต้หวัน เรียกว่า Co-Fact
คือ ใครได้ข้อมูลอะไรมา ที่สงสัยว่าเป็น Fake News ช่วยกันตรวจสอบแต่ต้องสร้างพื้นที่กลางเหมือนพื้นที่ห้องไลน์เรา  เราเหมือนทำหน้าที่เป็นCo-Factใครมีข้อมูลอะไรส่งมาช่วยกันตรวจเช็ค2. คือสร้างการรู้เท่าทัน fake News อันดับแรก รู้เท่าทันอคติตัวเอง อคติเป็นตัวทำให้เราเชื่อไปง่าย เมื่อเรารู้เท่าทันอคติ เราจะมีสติ กับ รณรงค์การให้ข้อมูลการรู้เท่าทัน Fake Newsวิธีเบื้องต้นในการตรวจจับ Fake News

  เป็นที่น่ายินดีว่า “Fact Checkingการตรวจสอบข้อมูลร่วมกันโดยพระผู้ใหญ่อย่างเจ้าคณะจังหวัดปัตตานี
เจ้าอาวาสวัดตานีนรสโมสร พระอารามหลวง เพราะเมื่อท่านทราบว่า ข่าวนี้เป็นFake News ได้ทำหนังสือด่วนเรื่อง ขอความร่วมมือระงับการเผยแพร่ข้อมูลที่ส่งผลเสียหายต่อบุคคลหรือองค์กรฯทางสื่อสารข้อความในโลกออนไลน์ โดยเนื้อหาหนังสือดังกล่าว ถูกส่งรวดเร็วเช่นกัน กล่าวคือ “เรียน เจ้าอาวาสและพระภิกษุสามเณรในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดปัตตานีทุกรูป 

ด้วยในสถานการณ์ความขัดแย้งใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้( ๓ จชต) เป็นเวลา ๑๕ ปีที่ผ่านมา สร้างความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมาย ทั้งสร้างความหวาดระแวงความไม่ไว้วางใจกันในกลุ่มประชาชนในพื้นที่อย่างมาก อันเป็นผลมาจากสาเหตุหลายๆปัจจัย และในสาเหตุหนึ่งที่เป็นปัจจัยให้ความขัดแย้งยิ่งเพิ่มมากขึ้น คือ การสื่อสารในโลกออนไลน์ที่เรียกกันว่า เฟสบุ๊ค, ไลน์, ข้อความ และการสื่อสารอื่นๆที่สามารถเผยแพร่เป็นสาธารณะได้อย่างกว้างขวางสู่ประชาชนทุกกลุ่มได้ง่าย ซึ่งส่งผลทั้งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม ทั้งเป็นโทษแก่สังคม แต่หากผู้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไม่ทำความเข้าใจถึง โทษ และ ประโย

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม