2535 07 Dec 2017
งานประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัคร ครั้งที่ 3 (The 3nd National Conference on Volunteerism)
“กระบวนการอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
อาสาสมัคร เป็นภาคส่วนส าคัญในการมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสังคม รวมถึงการท างานด้านการพัฒนาประเทศ ในมิติต่างๆ นับตั้งแต่ภัยพิบัติสึนามิในปี 2547 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของกระแสความเคลื่อนไหวด้านการท างานอาสาสมัคร ในประเทศไทย จนถึงปัจจุบันที่ผู้คนในสังคมหันมาสนใจการท างานอาสาสมัครเพิ่มมากขึ้น อาสาสมัครมีบทบาทส าคัญ ในการเข้าไปช่วยเสริมเติมเต็มให้กับงานพัฒนาในหลากหลายภาคส่วนและหลากหลายประเด็น อาทิ อาสาสมัครใน สถานการณ์ภัยพิบัติ, งานอาสาสมัครในภาคการศึกษา, งานอาสาสมัครกับประเด็นทางสิ่งแวดล้อม, งานอาสาสมัคร กับประเด็นด้านการสาธารณสุข เป็นต้น ในปัจจุบันกระแสงานด้านอาสาสมัครในประเทศไทยก าลังเติบโตและได้รับ ความสนใจจากหลากหลายภาคส่วนมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนปัจเจกบุคคลที่ต้องการเป็นอาสาสมัครที่มีจ านวนเพิ่มมากขึ้น และทั้งองค์กรในภาคส่วนต่างๆไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐที่มีอาสาสมัครเป็นก าลังส าคัญอยู่ในเกือบทุกกระทรวง, ภาคเอกชนที่มีความตื่นตัวในการท างานด้านการรับผิดชอบต่อสังคม, ภาคประชาสังคมที่ใช้อาสาสมัครเป็นตัว ขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนา, องค์กรระหว่างประเทศที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนอาสาสมัครต่างชาติมาช่วยงานด้าน การพัฒนาต่างๆ, ภาคส่วนสถาบันการศึกษา ที่มีนโยบายในการส่งเสริมงานอาสาสมัครทั้งในวิชาเรียนและกิจกรรม นักศึกษา และจากการศึกษาวิจัยสถานะงานอาสาสมัครในประเทศไทยในช่วงปีที่ผ่านมา เรื่องการบริหารจัดการ อาสาสมัครถือเป็นประเด็นส าคัญ ที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้งานอาสาสมัครที่ท าประสบผลส าเร็จ และเกิดความพยายาม ในการสร้างกลไกบริหารจัดการอาสาสมัครในระดับต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่น ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งใน ระดับประเทศนั้น เมื่อต้นปี 2559 ที่ผ่านมา เครือข่ายจิตอาสาได้รับมอบหมายจาก ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริม การจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ท าหน้าที่เป็นศูนย์ ประสานงานองค์กรอาสาสมัครแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายในการเป็นกลไกกลางในการประสานเครือข่ายองค์กร อาสาสมัคร และการส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดการท างานอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
จากกระแสการเติบโตดังกล่าว ท าให้ในปี 2558 ที่ผ่านมาเครือข่ายจิตอาสาร่วมกับภาคีเครือข่ายจ านวน 21 องค์กร ภายใต้การสนับสนุนจากส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกันจัดงานประชุม ระดับชาติด้านการอาสาสมัครครั้งที่ 1 ขึ้น ในวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยมี แนวคิดหลักในการจัดงานคือ “อาสาสมัครกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน” อันเป็นการรวบรวมความรู้และประสบการณ์ ด้านการท างานอาสาสมัครในประเด็นด้านการพัฒนาและเครื่องมือในการท างานอาสาสมัคร ซึ่งจากการจัดงานครั้งที่ ผ่านมา ได้รับผลตอบรับที่ดียิ่งในการเป็นเวทีสื่อสารเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ด้านการท างานอาสาสมัคร และ เป็นการเชื่อมร้อยเครือข่ายองค์กรที่ท างานเกี่ยวข้องกับอาสาสมัครในทุกภาคส่วน ซึ่งการจัดประชุมครั้งที่ 1 นั้นมีผู้ให้ ความสนใจเข้าร่วมรวมทั้งสิ้น ประมาณ 800 คน ตลอดทั้ง 2 วัน ท าให้คณะผู้จัดงานเล็งเห็นว่าการประชุมดังกล่าวเป็น ที่สนใจและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนงานอาสาสมัครในประเทศไทยอย่างยิ่ง จึงได้เกิดการประชุม ระดับชาติด้านอาสาสมัคร ครั้งที่ 2 ประจ าปี 2559 ระหว่างวันที่ 28-29 กันยายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งก็มีผู้เข้าร่วมเป็นจ านวนกว่า 800 คน และประสบความส าเร็จในการได้ข้อสรุปและน าเสนอแนว ทางการพัฒนาอาสาสมัครไทยในด้านต่างๆ โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จ านวนกว่า 100 คน มาร่วมแลกเปลี่ยน น าเสนอ แนวคิดและองค์ความรู้ในการพัฒนางานอาสาสมัครของประเทศไทยและระหว่าง ประเทศ
การจัดประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัคร 2 ครั้งที่ผ่านมา (2558-2559) ได้พิสูจน์และยืนยันความส าคัญ ของการพัฒนาองค์ความรู้และการต่อยอดขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรอาสาสมัครทั่วประเทศไทย ไม่ว่า จะเป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หรือ ภาคการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและยกระดับการ ท างานอย่างทั่วถึงและคลอบคลุม อีกทั้งมุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย เพื่อเป็นการสานต่อวาระการ พัฒนางานอาสาสมัครไทย ภาคีเครือข่ายจึงได้ร่วมมือกันจัด งานประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัคร ครั้งที่ 3
แนวคิดของการจัดงาน กระบวนการอาสาสมัครเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
อาสาสมัครกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”อาสาสมัครเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการท างานด้านการพัฒนามา ยาวนาน และ การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ที่ประสบความส าเร็จนั้น องค์ประกอบหนึ่ง คือ การมีอาสาสมัคร เข้ามาช่วยสนับสนุนการท ากิจกรรมด้านต่างๆ โดยอาสาสมัครจะเป็นพลัง หนุนเสริมการด าเนิน กิจกรรมซึ่งเป็นภารกิจส าคัญของสังคม ในบรรดาประเทศต่างๆที่มีการพัฒนาทางสังคมที่ก้าวหน้ามีจ านวนผู้เข้าร่วม กิจกรรมทางสังคมเป็น อาสาสมัคร เป็นจ านวนมาก อาทิเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2014 มีจ านวนอาสาสมัคร 62.8 ล้านคน คิดเป็น 25.3 เปอร์เซ็นต์ของจ านวนประชากร (สถิติจากระทรวงแรงงาน สหรัฐฯ) , ประเทศแคนาดา ปี
2013 มีจ านวนอาสาสมัคร 12.7 ล้านคน คิดรวมเวลาของการอาสาสมัครได้ประมาณ 2 พันล้านชั่วโมง (สถิติจาก Volunteer Canada)
เดือนธันวาคมปี 2015 สหประชาชาติ ได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals , SDGs) ประกอบไปด้วยเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 เป้าหมาย
อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ นาย บัน คี มุน ได้กล่าวถึงความส าคัญของ กระบวนการอาสาสมัคร กับการ บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนว่า “อาสาสมัครคือเครื่องมือของการท างานด้านการพัฒนาต่างๆซึ่งจะช่วย ขับเคลื่อนและดึงการมีส่วนร่วมจากประชาชนไปสู่การร่วมวางแผนและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่ งยืน (SDGs) ให้เกิดขึ้นจริงได้ นอกจากนั้นยังเป็นการวางรากฐานวาระทางสังคมใหม่ๆทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดพื้นที่ใหม่ๆส าหรับการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและประชาชาชนอันจะน าไปสู่ปฏิบัติการ ทางสังคมที่เป็นรูปธรรมและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น”
การท างานอาสาสมัครจึงเป็นวาระร่วมระดับโลกในปัจจุบัน และเป็นกลไกส าคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการ พัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งระดับพื้นที่และระดับโลก คุณค่าที่เกิดขึ้นจากการท างานอาสาสมัคร สร้างผลกระทบส าคัญแก่ สังคม คือ ช่วยปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ในสังคม ท าให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างคนในสังคมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งพัฒนาความเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมกับสังคม เนื่องจากการเป็นอาสาสมัครท าให้ประชาชนเข้าใจปัญหาสังคม และรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ซึ่งน าไปสู่การเกิดสังคมพลเมือง (Civic Society) ที่ประชาชนมีความเข้าใจปัญหาของ ประเทศ และพร้อมจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
pg. 3
1. เพื่อส ารวจสถานการณ์งานอาสาสมัครในภาพรวมระดับประเทศ และเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ด้านงาน อาสาสมัครกับประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติต่างๆ
2. เพื่อเผยแพร่และน าเสนอองค์ความรู้ ด้านงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนา อันจะน ามาสู่การยกระดับการ ท างานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
3. เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ซึ่งมีบทบาทส่งเสริมและ สนับสนุนด้านงานอาสาสมัครในประเทศไทย
1. เกิดการยกระดับความเข้าใจและตระหนักรู้ของสังคมเกี่ยวกับคุณค่าของงานอาสาสมัครต่อการพัฒนา ประเทศ
2. เกิดชุดความรู้และตัวอย่างปฏิบัติการด้านงานอาสาสมัครซึ่งสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
3. เกิดเครือข่ายและเกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคส่วนต่างๆในการขับเคลื่อนงานอาสาสมัครในประเทศ ไทย
เป็นการจัดงานประชุมเชิงวิชาการ ในประเด็นเรื่องงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาในมิติต่างๆ โดยมีทั้งรูปแบบ การจัดเวทีเสาวนา, การน าเสนอกรณีศึกษา/ ผลงานทางวิชาการ, การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อ น าเสนอและเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านงานอาสาสมัคร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ :เจ้าภาพร่วมหลักในการจัดงาน
หน่วยอาสาสมัครสหประชาชาติ (United NationVolunteer)
pg. 4
มูลนิธิวายไอวาย (Why,I,Why)
องค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (AmnestyInternational)
วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
วันที่ 9-10 มกราคม2561
เวลา: 09.00 – 17.00 น
สถานที่: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์
ที่อยู่: อาคาร Happy Workplace
เลขที่ 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กทม.
เว็บไซต์: www.volunteerspirit.org (ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน)
(1) นางสาวปรวรรณ ทรงบัณฑิตย โทร. 084 – 609-4509 Email: porrawan@volunteerspirit.org (2) นายพันธกานต์ อินต๊ะมูล โทร. 085-033-2794 Email: phantakarn@volunteerspirit.org
05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม