หลักสูตรอบรมเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูเพื่อมาตรฐานความยั่งยืน (Regenerative Agriculture for Sustainability Standards)

586 31 Oct 2024

เกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูเพื่อมาตรฐานความยั่งยืน (Regenerative Agriculture for Sustainability Standards)

 

ประโยชน์ของหลักสูตร

  • พัฒนาทักษะและองค์ความรู้ให้แก่ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนและผู้ประกอบการในการรับรองมาตรฐานการผลิตอ้อยอย่างยั่งยืน

  • ลดต้นทุนการผลิต และสร้างผลกระทบเชิงบวกด้านสิ่งแวดล้อม

  • ลดความเสี่ยงในการผลิตและการตลาด

  • เพิ่มโอกาสทางการตลาด และการเข้าถึงการสนับสนุนทางการเงิน

  • สนับสนุนการลดและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก การใช้ทรัพยากร 

  • เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์โดยสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ยั่งยืน ผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล

 

วันที่จัดการอบรม:

  • 23 - 24 พฤศจิกายน 2567

  • 7 - 8 ธันวาคม 2567

  • 14 ธันวาคม 2567

วันแรก: การแนะนำเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูและมาตรฐานความยั่งยืน

  • แนะนำหลักการเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู โอกาสและวิธีการเพิ่มความยั่งยืนและประสิทธิภาพในการปลูกอ้อย

  • อธิบายมาตรฐานความยั่งยืนสำหรับอ้อย และข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานเหล่านี้

  • การประเมินสถานะปัจจุบันของการผลิตอ้อย ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม

  • การอภิปรายปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืช  เช่น การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้สารเคมี

วันที่สอง: ฟื้นฟูสุขภาพดินและการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

  • เรียนรู้ความสำคัญของการดูแลดิน โดยเน้นการเพิ่มอินทรียวัตถุและการกักเก็บคาร์บอนในดิน 

  • แนวทางการปฏิบัติที่ช่วยฟื้นฟูดิน เช่น การหมุนเวียนพืช การปลูกพืชคลุมดิน และการลดการใช้สารเคมี

  • เทคนิคการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพสำหรับอ้อยและข้าว เช่น การชลประทานอย่างยั่งยืน การใช้น้ำอย่างประหยัด และการป้องกันการปนเปื้อน

  • ฝึกปฏิบัติการใช้เทคนิคการอนุรักษ์น้ำและปรับปรุงคุณภาพน้ำในแปลงปลูก

วันที่สาม: ลดก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในการผลิตอ้อย

  • วิเคราะห์แหล่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และกลยุทธ์การลดการปล่อยคาร์บอน

  • เทคนิคการดูดซับคาร์บอนเข้าสู่ดิน เช่น การลดการไถพรวน และการปลูกพืชที่ช่วยกักเก็บคาร์บอน 

  • การส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในแปลงอ้อย เพื่อสร้างระบบนิเวศที่แข็งแรงและสมดุล

  • กรณีศึกษาเกี่ยวกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

วันที่สี่: การแปรรูปของเสียสู่พลังงานที่ยั่งยืน

  • แนวทางการใช้ของเสียจากอ้อย เช่น ใบและ ชานอ้อย เพื่อผลิตพลังงานหมุนเวียน เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ ก๊าซชีวภาพ Biochar

  • สำรวจเทคนิคการผลิตพลังงานยั่งยืน และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการแปรรูปของเสีย

  • การใช้ประโยชน์จากของเสียทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าและลดปริมาณขยะ

  • การศึกษาตัวอย่างจริงจากฟาร์มที่ใช้เทคโนโลยีการแปรรูปของเสียเป็นพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่ห้า: การประเมินความยั่งยืน การ Claim Carbon Reduction and Removal และการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืนสำหรับอ้อย

  • แนะนำเครื่องมือคำนวณความยั่งยืน เพื่อวัดการปล่อยคาร์บอน การใช้น้ำ และการจัดการพลังงานในแปลงปลูก

  • ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือเพื่อประเมินผลลัพธ์และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานที่ยั่งยืน

  • แนวทางการ Claim การลดและกำจัดคาร์บอน โดยมีการจัดทำข้อมูลเพื่อการรับรอง

  • ขั้นตอนการรับรองมาตรฐาน สำหรับอ้อย รวมถึงการเตรียมพร้อมเพื่อให้ได้การรับรอง

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ยั่งยืน โดยใช้ผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับผลิตภัณฑ์

  • การวางแผนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถรักษามาตรฐานความยั่งยืนในระยะยาว

 

ลงทะเบียน https://docs.google.com/forms/d/1py_06eNtcV4sQwT-AhR_8lPJtXxiXW1Hl6mpn2ISbrg/edit

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม