มองหลักการให้ชัด

1074 14 Jul 2023


ในห้วงหนึ่งที่ผม กำลังสับสนมาก กับปรากฏการณ์ทางการเมือง เมื่อคนที่เรานับถือ เราเคารพ เขาสนับสนุนการรัฐประหาร เมื่อเขาอธิบายว่า “ทุนสามานย์” น่ากลัวกว่า “เผด็จการทหาร” แบบไทย ที่อยู่คู่กันมากับสังคมยาวนาน จนไม่ได้น่ากลัว และ ค่อนข้างจะมีคุณูปการกับคนไทย ผู้หลักผู้ใหญ่บางคนกับพูดตรงๆ ว่า มันเป็นยุทธวิธีของภาคประชาชน ที่จะต้องกองทัพมาจัดการ “ล้มรัฐบาลทุนนิยม” เมื่อชนะแล้วก็ค่อยมาร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญกันใหม่ ฯลฯ  ในตอนนั้นผมฟังแล้วก็เคลิ้มๆ ภาพออกมาสวย และประชาธิปไตยที่ไหนๆ ก็ต้องเดินทางล้มลุกคลุกคลานกันทั้งนั้น

ผมสนใจและเริ่มเข้าใจแง่มุม คำว่า รัฐ อธิปไตย ระบบ โครงสร้างอำนาจ การถ่วงดุล ตรวจสอบ เสรีภาพ เสมอภาค และ ประชาธิปไตย จริงๆจังๆ ก็ตอนเรียนมหาวิทยาลัย ผู้มีบทบาทสำคัญมากกลุ่มหนึ่ง รุ่นพี่ ( ค่ายชมรมอาสา) เพราะเราอธิบายยึดโยงปัญหาสังคม การเมือง ไปสู่ทางออก เดียวคือ ประชาชนต้องมีอำนาจ มีเสรีภาพ มีสิทธิ์มีส่วนร่วมในการ กำหนดหรือต่อต้านคัดค้าน นโยบายของรัฐได้ นั่นคือ การเมือง


การเมือง คือ รูปแบบและกระบวนการ ได้มาซึ่งอำนาจ แห่งรัฏฐาธิปัตย์  หรือ อำนาจสูงสุด จากประชาชน และ เพื่อประชาชน โดยแบ่งเป็น
3 สามฝ่าย คือ บริหาร ตุลาการและนิติบัญญัติ ซึ่งมีอิสระต่อกัน

ประชาธิปไตย คือ ระบอบการเมืองที่ อำนาจนั้นต้องยึดโยงกับประชาชน ตั้งแต่ ประชาชนเป็น ผู้เลือก เป็นผู้ใช้อำนาจ และเป็นผู้ตรวจสอบ ฉะนั้น การที่มี รุ่นพี่ หรือ ผู้หลักผู้ใหญ่ ให้ผมยอมรับ สนับสนุน กระบวนการยึดอำนาจ และใช้อำนาจนั้น “แต่งตั้ง” “ถอดถอน” คนที่ประชาชนไม่ได้เลือก แต่มีสิทธิมาปิดกั้น ขัดขวาง กระบวนการแสดงเจตนารมณ์ ประชาชน จึงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น สุดท้ายผมจึง ไม่อาจยอมรับ คำอธิบายเหล่านั้น ใครได้

การมี สมาชิกวุฒิสภาก็ดี กกต.ก็ดี ปปช. ก็ดีหรือ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีอำนาจล้นเกินขอบเขต หรือก้าวล่วง สิ่งที่ประชาชนเลือก ก็ดี  ล้วนแต่ไม่อาจยอมรับได้ และทุกประเทศที่เป็นประชาธิปไตยก็เป็นเช่นนี้

วันนี้ เกือบ
2 เดือน เต็มๆ ที่ผ่านการเลือกตั้งมา ประเทศนี้ ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เป็นเรื่องที่น่าอับอายชาวโลกมาก บาง ส.ส. บอกว่า คะแนนที่ชนะ ยังไม่ถึง 20% ของประชากร บาง ส.ว. ว่า ก็หัวหน้าพรรคที่ชนะ ไม่มายอมรับ เจรจา ประนีประนอมกับ ส.ว. เอง หมายถึง อุปสรรคใหญ่ ที่กฎหมายอันพิลึกกึกกือ ของประเทศนี้ ใช้คือ ให้อำนาจ ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง มีสิทธิ ยกมือ หรือ คัดค้าน การเลือก  “นายกรัฐมนตรี” ที่มาจากการเลือกตั้งได้  คำถาม คือ ทำไมเราให้คนที่ถูกแต่งตั้งมา แต่งตั้งจากคนไม่กี่คน แต่ มามีสิทธิ “กำหนด” คนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน !!!

 

ไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหน เขาเขียนกฎหมายให้อำนาจ ส.ว.แบบนี้ การแต่งตั้ง วุฒิสภา หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิ สามารถทำได้ แต่จะไม่มีอำนาจใดๆ โดยตรงที่ไปขัดกับเจตนารมณ์ของประชาชน

 

เมื่อเช้า ผมเลยโพสต์สนุกๆ บนเฟสบุ้ค ว่า ผมไม่มีเพื่อน หมายถึง ไม่ได้คบใคร ที่สนับสนุน บทบาท ส.ว. การที่พรรคก้าวไกล ได้เป็น รัฐบาลหรือไม่ ผมให้สาระสำคัญน้อย กระนั้น ก็มีคำถามทิ้งไว้ว่า ถ้าคนชนะคะแนนไม่มีสิทธิตั้งรัฐบาล แล้วเราจะแข่งขันกันทำไม เอาเงิน เอาเวลานั้น ไปเจรจาลับๆ จับมือกันก่อนเลือกตั้ง ว่า มึงกะกู มาร่วมรัฐบาลกันและไม่ร่วมกับพรรคไหนๆ หรือ พรรคโน้น เท่านี้ ก็สบาย ไม่ต้องแข่งขันกับใคร รักษาฐานเสียง จำนวน ส.ส. ตัวเองไว้ให้เหนียวแน่นก็พอ อยู่เป็นพรรครองๆ ทำงานน้อยๆ แต่ หน้าด้านแทงกัก เท่านี้ก็พอ

ฉะนั้น ใครก็ตามที่เป็น ส.ส. ถ้าคุณมีหัวใจประชาธิปไตย อยากให้พรรคที่ชนะคะแนน อยากให้การเมือง คือ เรื่องของเสียงส่วนใหญ่ คือเสียงคนชนะคะแนน และเสียงของผู้ออกมาใช้สิทธิ์ คุณต้อง สนับสนุนจารีตประเพณีทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย นี้ให้ได้...

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม