การใช้หลักพุทธศาสนาเพื่อบำบัดสุขภาพจิตของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อ เอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์

836 30 Jul 2022

 

Used of Buddhist Principles to Treatment the Mental

ขอบคุณภาพ จาก : https://cth.co.th/hiv-and-aids/

Health of People Impacted of HIV Infections/AIDS Patients

 

ดร.ณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์*

Dr.Nuttawat Tangpatomwong

 

           ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์นั้น ควรใช้หลักสติให้มากยิ่งขึ้นต่อชีวิตตนเองที่ยังมีลมหายใจอยู่ เพราะการผิดพลาดพลั้งเผลอนั้นได้เกิดขึ้นมาแล้ว อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำ “กรรม” หัวใจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงตนเองนั้น คือการตระหนักรู้ถึงคุณค่าในตนเอง และองค์ประกอบของความสุขในการดำรงอยู่ของชีวิต ใช้การพัฒนาสมาธิและสติมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณค่าภายในตนเองให้ฟื้นคืนสู่สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายทางด้านจิตใจ ใช้หลักอริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ความทุกข์ของจิตใจนั้นเกิดจากตัวเราย้ำคิด ย้ำจำ ย้ำทำในเรื่องเก่าๆ เดิมๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้ว เรื่องเหตุของความทุกข์ปรับความคิดใหม่เชิงบวกหาหนทางในการแก้ไข โดยการเข้ารับการรักษาตัวอย่างทันท่วงที    การดับสิ้นไปของความทุกข์เปิดใจยอมรับความจริงและเผชิญกับความเป็นจริง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม     ตั้งวางเป้าหมายใหม่ให้กับชีวิต การปฏิบัติเพื่อความดับสิ้นไปของความทุกข์ปรับมุมมองทัศนคติและวิธีการคิดต่อพฤติกรรมเดิมๆ เสียใหม่เพื่อการก้าวเข้าสู่วิถีแห่งชีวิตใหม่กับการอยู่ร่วมและยอมรับกับความเป็นจริง      กับสิ่งแปลกปลอม (สิ่งสมมุติ) ที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราให้ได้อย่างปกติสุข

           นับวันนี้ วิทยาการและเทคโนโลยีมีความก้าวไกลและเจริญรุดหน้าไปมากเพียงใด ผู้คนก็จะหลงไหลได้ปลื้มไปกับการเสพติดสิ่งบริโภคและสื่อในรูปแบบต่างๆ ได้มากขึ้นตามไปเท่านั้น เพราะการหลื่นไหลของกระแสในรูปแบบการบริโภคนิยม จนเกินความยับยั่งชั่งใจต่อการเสพติดตามพฤติกรรมการบริโภคต่างๆ เปรียบเหมือน “เหรียญที่มีสองด้าน” ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มันก็ขึ้นอยู่กับการมี “สติ” ของผู้ใช้และผู้เสพเองว่า จะมีความรู้เท่าทันสื่อ และรู้เท่าทันต่อจิตใจและอารมณ์ของตนเองได้มากน้อยเพียงใด คนเราจะมีตัว “จริต 6” ที่หลักพุทธธรรมจะให้ความสำคัญว่า เป็นหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่มุ่งเน้นไปสู่การมองลักษณะของปุถุชนที่เป็นพื้นเพนิสัย หรือจิตที่อยู่ในตัวตนของแต่ละคนเป็นหลัก ซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนที่เสีย    ที่แตกต่างและปะปนกันไป มนุษย์เรานั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้เข้าสู่การฝึกจิตให้ดีแล้ว และยังคงดำเนินชีวิตอย่างเช่นธรรมดาสามัญเป็นปุถุชนคนเดินดิน ก็ย่อมมีจริตในตัวครบทั้ง 6 จริต และการทำความเข้าใจในเรื่องของจริต 6 จะช่วยให้มนุษย์เรารู้จักตัวเองมากขึ้น พร้อมทั้งเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาตัวเองได้ดีขึ้นไป แบบหรือประเภทใหญ่ๆ แห่งพฤติกรรมของคน  ตัวความประพฤติ เรียกว่า “จริยา” บุคคลผู้มีความประพฤติอย่างนั้นๆ เรียกว่า “จริต” ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป คือ (1) ราคจริต หมายถึงผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม (2) โทสจริต หมายถึงผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางใจร้อนหงุดหงิด (3) โมหจริต หมายถึงผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางเขลาเหงาซึม เงื่องงง งมงาย (4) สัทธาจริต หมายถึงผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง ชื่นบาน น้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย (5) พุทธิจริต หรือญาณจริต หมายถึงผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา และ(6) วิตกจริต หมายถึงผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางนึกคิด จับจด ฟุ้งซ่าน เป็นต้น “คนเราเป็นปกติธรรมดาต่อการมีและใช้จริตทั้ง 6 คือ ราคจริต, โทสจริต, โมหจริต, สัทธาจริต, พุทธิจริต และวิตกจริตในการดำเนินวิถีชีวิตประจำวันของตนเอง จนทำให้เกิดความผิดพลาด พลั้งเผลอ ขาดการยับยั้งชั่งใจ ขาดสติในการกระทำพฤติกรรมอะไรต่างๆ ลงไปโดยความประมาท ขาดการป้องกัน และหลงลืมการฉุกคิดถึงและตระหนักว่า จะเกิดและมีอันตรายหรือผลกระทบที่ร้ายแรงติดตามมาสู่ตัวเราได้ในภายหลังเมื่อการกระทำใดๆ นั้นได้เสร็จสิ้นและสิ้นสุดลงไปแล้ว และเป็นที่แน่นอนว่า “ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน” ตลอดจนเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่คนเราทุกๆ คนชอบที่จะคิดเข้าข้างตนเองอยู่เสมอๆ ว่า “คงจะไม่มีอะไร” หรือ “เราคงจะไม่เป็นอะไร” เพื่อเป็นการสร้างความสบายอกสบายใจให้เกิดขึ้นต่อผลการกระทำที่ได้เกิดขึ้นและเสร็จสิ้น สิ้นสุดลงไปอย่างสมบูรณ์แล้ว”                       “คติธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า "อโรคยา ปรมาลาภา" ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ”              ทั้งการไม่มีโรคคือโรคทางกาย และยังมีโรคอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเห็นได้ยากและรักษาได้ยาก นั่นก็คือโรคทางใจ คือกิเลสที่สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ ซึ่งเป็นเครื่องเสียดแทงจิตใจ ทำให้จิตใจเศร้าหมองไม่ผ่องใส

           “วิกฤติคือโอกาส” ให้เปลี่ยนปัญหาเป็นโอกาส ต้องใช้ปัญหาที่เกิดขึ้น ให้เป็นบทเรียนเพื่อสอนตนเอง และหาโอกาสพัฒนาตนเองให้รู้จักและเข้าใจ “ธรรมะ” หรือ “ธรรมชาติของชีวิต” ให้ดียิ่งขึ้น แต่ความแน่นอนก็คือความไม่แน่นอน ทุกสิ่งอย่างล้วนมีเหตุและมีปัจจัยทำให้เกิดขึ้นมาได้แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคทางกายหรือโรคทางใจ ซึ่งสัจจธรรมความจริงที่มนุษย์เราทุกคน ต้องยอมรับและหลีกหนีกันไม่พ้น คือการ “เกิด แก่ เจ็บ ตาย” ที่ทุกๆ ชีวิต ไม่ว่าจะ ยากดีมีจน สุขทุกข์ ราชาหรือยาจก ล้วนต้องเผชิญและยอมรับตามกฏของธรรมชาติที่เป็นจริงนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุ    ปรายนา : ทั้งคนมีคนจน ล้วนมีแต่ความตายเป็นเบื้องหน้า” เมื่อต้องเผชิญกับความสูญเสีย ความเศร้าโศก ความเสียใจ ความทุกข์ใจ ที่ล้วนเป็นสภาวะทางจิต แทบทั้งสิ้น ความประมาทก็คือความรู้สึกว่า “ไม่เป็นไร” ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “อปฺปมาทรตาโหถ (ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท)” ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าเราเกิดการกระทำที่ก่อให้มีความผิดพลาด พลั้งเผลอ ขาดการยับยั้งชั่งใจ ขาดสติจนส่งผลกระทบให้ตัวเราและร่างกายได้รับการติดเชื้อเอชไอวีเข้าไปแล้ว ในความเป็นจริงและความจริงที่ทุกๆ คนจะต้องตื่นกลัว และเกิดความหวาดวิตกไปต่างๆ นานา เมื่อได้รับทราบผลการติดเชื้อฯ แต่อย่าคิดหรือทำอะไรให้เกิดความผิดพลาดกับชีวิตของตนเองขึ้นเป็นครั้งที่สอง ให้ตั้งสติ และหยุดคิดมองหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วให้ดีที่สุด จงจำไว้ว่า “ทุกๆ ปัญหามีทางออกและทางแก้ไขได้เสมอ” อย่าหุนหันพลันแล่นไปตามกระแสของสภาวะอารมณ์ในขณะนั้น ด้วยการด่วนตัดสินใจกระทำอะไรลงไปโดยขาดการยั้งคิด แต่ทำไปด้วยสภาพอารมณ์เศร้า ท้อแท้ ผิดหวัง ทุกข์ใจ ฯลฯ

           สำหรับช่องทางการติดเชื้อเอชไอวี สามารถติดต่อกันได้ “โดยหลักๆ เพียง 3 ทางเท่านั้น คือ 1) ทางเพศสัมพันธ์ (การร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้อเอดส์) 2) ทางเลือด เช่น (2.1) การรับเลือด (2.2) การใช้เข็มและกระบอกฉีดยาเสพย์ติดร่วมกันกับผู้มีเชื้อเอดส์ (2.3) ทางมารดาสู่ทารก แม่ที่ติดเชื้อเอดส์จะทำให้คลอดมาติดเอดส์และเป็นเอดส์ 3) ทางน้ำลาย จากการดูดลิ้น ดูดปากกันอย่างรุนแรงจนทำให้รับเชื้อ เป็นต้น” และการพัฒนาของเอดส์ “โดยสามารถแบ่งอาการของผู้ติดเชื้อและเข้าสู่การเป็นโรคเอดส์ ออกได้เป็น 3 ระยะ คือ 1) ผู้ติดเชื้อ เอดส์ ถ้าได้รับเชื้อเอดส์หรือเอชไอวี เชื้อไวรัสนี้จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างร่องรอยของการได้รับเชื้อ จนกว่าจะไปทำการตรวจเลือดจะพบร่อยรอยเหล่านี้ ซึ่งเรียกว่า มีเลือดบวกเอดส์ และร่องรอยเหล่านี้สามารถตรวจพบในน้ำลายได้ ร่างกายอาจจะปกติทุกอย่างดูจากภายนอกก็คือ หนุ่มหล่อสาวสวยหรือคนธรรมดาทั่วไป ถ้าไม่ตรวจเลือดหรือน้ำลายก็จะไม่ทราบว่าติดเอดส์มาแล้ว คนเหลานี้ภายใน 10 ปี จะเป็นเอดส์เต็มขั้นประมาณร้อยละ 50 เรียก ระยะแรกนี้ว่าระยะที่ 1 เป็นระยะติดเชื้อไวรัสโรคเอดส์ โดยไม่มีอาการ ผู้ติดเชื้อจะมีสุขภาพปกติดีและไม่มีอาการป่วยใดๆ (โดยที่ยังไม่ได้เข้าสู่ขั้นตอนของการรักษาแต่อย่างใด) 2) เอดส์อ่อนหรือผู้ติด เชื้อที่มีอาการ คือพวกที่มีเลือดบวกเอดส์ และไม่รู้จักปฏิบิตตัวให้ถูกต้องจะมีอาการแสดงผลจากภาวะภูมคุ้ม กันเสื่อมลง ระยะนี้เรียกว่า ระยะที่ 2 เป็นระยะมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ ระยะนี้ผู้ติดเชื้อเริ่มมีอาการไม่สบาย และ3) เอดส์เต็มขั้น ผู้ป่วยเหล่านี้จะเคยเป็นเอดส์อ่อนมาก่อน มีภูมิคุ้มกันเสื่อมลงมาก และมีอาการติดเชื้อโรคอื่นๆ ที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ” หลักคำสอนเรื่องการพึ่งพาตนเองที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” เป็นหลักการยืนยันความเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ของพระพุทธศาสนา และพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า "อโรคยา           ปรมาลาภา" ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ทั้งการไม่มีโรคคือโรคทางกาย และยังมีโรคอีกอย่างหนึ่ง      ซึ่งเห็นได้ยากและรักษาได้ยาก นั่นก็คือโรคทางใจนั่นเอง เป็นเรื่องธรรมดาสามัญและแน่นอนที่ว่า เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นมาแล้วจากผลของการกระทบอันเนื่องมาจากความใจร้อน ใจเร็วกับการคาดหวังผลเร็วขึ้น ทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดง่าย เกิดอารมณ์ขุ่นมัว และเกิดโทสะ จนเก็บความคับข้องใจกลายเป็นอารมณ์ที่ขาดสติ ขาดความรู้ตัว ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ทำให้สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายทางด้านจิตใจย่ำแย่ตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีเหตุปัจจัยเกิดขึ้นมาแล้วควรตั้งใจสร้างความสมดุลทางอารมณ์และสติให้รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น และยอมรับผลของความเป็นจริงที่ตนเองได้กระทำลงไปด้วยตนเองอย่างตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตามที เพื่อลดความเครียดที่เกิดขึ้นลง แล้วหันกลับมาหาทางแก้ไขสภาพปัญหาต่างๆ ในอนาคตด้วยการนำหลักธรรมะ มาช่วยในการบำบัดพัฒนาสภาวะจิตที่ย่ำแย่ให้เกิดความสมดุลในชีวิตที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

           ในบทความวิชาการชิ้นนี้ ผู้เขียนมีเป้าประสงค์ที่จะนำเสนอแนวทางการนำหลักธรรมะ มาปรับใช้ในการช่วยบำบัดให้มีสุขภาพทางด้านจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ให้ได้รับการเยียวยาและเล็งเห็นถึงการใช้หลักธรรมโอสถในการบำบัดเพื่อการฟื้นฟู ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ได้มีแนวทางการนำหลักธรรมไปปรับใช้ เพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตในสังคมได้ต่อไปอย่างปกติด้วย “การใช้หลักพุทธศาสนาเพื่อบำบัดสุขภาพจิตของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์” ซึ่งศาสนายังมีประโยชน์และจำเป็นสำหรับชีวิตอยู่หรือไม่? นี่เป็นคำถามของคนรุ่นใหม่ที่เราอาจได้ยินบ่อยขึ้นในปัจจุบัน คำถามทำนองนี้ไม่ใช่สิ่งที่เหนือความคาดหมาย เพราะโลกทุกวันนี้เปลี่ยนไปเร็วมาก สิ่งที่มากับความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นคือ เสรีภาพทางความคิด ความเชื่อ ความรู้ และทางเลือกใหม่ๆ ในการดำรงชีวิต ซึ่งท้าทายบทบาทของศาสนาโดยตรงในการที่จะเป็นธรรมโอสถเยียวยา ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญาต่อไป

           สุขภาพจิต (Mental Health) องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “ความสามารถของบุคคลที่จะปรับปรุงตัวให้มีความสุขเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มีสัมพันธภาพอันดีงามกับบุคคลอื่นและสามารถดำรงชีวิตของตนเองอยู่ได้ โดยไม่เสียความสมดุล ทำให้มีความสุข ความสบายใจ รวมทั้งสามารถ สนองความต้องการของตนเองในสังคมของโลก ที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ใด้ โดยไม่มีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นภายในจิตใจแต่อย่างใด ทั้งนี้คำว่าสุขภาพจิต มิได้หมายความเฉพาะเพียงแต่ความปราศจากโรคทางจิตและโรคทางประสาทเท่านั้น” สุขภาพจิตก็คือสภาพความสมบูรณ์ของร่างกายทางด้านจิตใจนั้นเอง   พระพุทธศาสนา     เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่ทำได้ถึงระดับรากฐานของจิตสำนึกจะเป็นไปได้ เมื่อคนๆ นั้นเข้าถึงความสุขภายใน (ความสุขยั่งยืน) โดยผ่านการฝึกใจอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องการสร้างความตั้งใจ ความสมดุลทางอารมณ์ และสติ เพราะการฝึกใจในเรื่องดังกล่าว จะทำให้คนเราเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ       ที่คนเรารับทราบได้ โดยระบบประสาทสัมผัสกับความเป็นจริงที่เกิดจากการปรุงแต่งของความเห็น ที่เราสร้างขึ้นให้กับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ผลของการฝึกใจ ทำให้คนเรามองเห็นสิ่งต่างๆ ตามที่ประสาทสัมผัส ได้รับรวมถึงการรับทราบทางใจด้วย ซึ่งเป็นการรับรู้ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงตามธรรมชาติโดยปราศจากความคิดที่ปรุงแต่งบิดเบือน ที่คนเรามักจะมีต่อสิ่งต่างๆ โดยเป็นนิสัย โดยคิดว่านั่นคือ “ความจริง” สอดคล้องกับแนวคิดของ Richard Davidson ที่ว่า “สุขภาพจิตมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ เนื่องจากถ้าบุคคลใดก็ตามมีภาวะความสมบูรณ์ทางด้านจิตใจ ก็จะส่งผลถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี คือ      1) มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง (ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ เช่น กลัว วิตกกังวล โกรธ เกลียด อิจฉาริษยา และรู้สึกผิด, มีความเชื่อมั่นตนเองสามารถแก้ปัญหาและต่อสู้อุปสรรคต่างๆ ได้, ไม่ดูถูกตนเองหรือตำหนิตนเอง, สามารถทนต่อความผิดหวังได้) 2) มีความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น (รู้จักรักและให้ความสนใจผู้อื่นด้วยความจริงใจ,   มองโลกในแง่ดีเสมอ, มองเห็นความหวังดีของผู้อื่น, อยากเป็นมิตรกับบุคคลทั่วใป, เห็นอกเห็นใจบุคคลอื่นไม่เอารัดเอาเปรียบ) 3) สามารถเผชิญกับปัญหาในชีวิตได้ (เผชิญปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้, มีความสามารถในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง, มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ทั้งของตนเองและสังคม, ตัดสินใจทำอะไรได้ด้วยตนเอง, มีความพอใจในงานที่ทำ, มีความมานะพยายามที่จะทำงานให้สำเร็จ)”  เมื่อพูดถึงสุขภาพ ผู้คนมักนึกถึงสภาพทางกาย แต่ในความเป็นจริงที่ทุกคนไม่อาจปฏิเสธได้คือ เมื่อเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยทางกายขึ้นมาแล้ว ย่อมส่งผลต่อเนื่องมาสู่การเจ็บป่วยทางด้านจิตใจตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตลอดจนอาจส่งผลไปสู่ปัจจัยอื่นๆ เช่น ทางสังคมและปัญญา ติดมาด้วย เป็นต้น

           ชีวิตเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ต้องตายด้วยกันทุกคน เมื่อชีวิตเริ่มเกิดขึ้น ก็เท่ากับเริ่มเดินไปสู่ความตาย บางชีวิตก็ตายช้า บางชีวิตก็ตายเร็ว บางชีวิตก็ตายทรมาน บางชีวิตก็ตายสงบ และเมื่อความตายมาถึง ก็ต้องทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไป เหลือไว้แต่เพียงความทรงจำให้คนที่ยังอยู่ระลึกถึงเท่านั้น เราทุกคนที่เห็นๆ กันอยู่นี้ล้วนต้องตายด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ในวันหนึ่งวันใดข้างหน้า แต่ก็ไม่มีใครสนใจคิดถึงมัน ทุกคนคิดถึงแต่การมีชีวิตที่มีความสุข ทุกคนสนใจแต่จะแสวงหาและเสพสุข ทุกคนลุ่มหลงมัวเมาในชีวิต ยึดมั่นถือมั่นในชีวิต เหมือนกับว่าตนเองจะไม่ตาย เหมือนกับว่าตนเองจะอยู่ค้ำฟ้า อย่างนี้จะเรียกว่าอะไร นอกจากคำว่า “ความประมาท” คำสอนเรื่อง “กรรม” ของพระพุทธเจ้านั้น จะเป็นการสอนเรื่องของจิตใต้สำนึก ที่เมื่อได้ทำสิ่งใดไปแล้ว จะมีผลเป็นความรู้สึกของจิตใจนั้นเอง “กรรม” แปลว่า การกระทำด้วยเจตนา (เจตนา ก็คือกิเลส) ซึ่งเจตนาก็มาจากจิตนั่นเอง แต่เมื่อจิตสั่งร่างกายทำด้วย ก็จะเรียกว่า เป็นกรรมทางกาย (กายกรรม) ถ้าสั่งปากพูดด้วย ก็เรียกว่า กรรมทางวาจา (วจีกรรม) ถ้าจิตคิดนึกเอง โดยยังไม่ได้สั่งกายทำและปากพูด ก็เรียกว่า กรรมทางใจ (มโนกรรม) ซึ่งกรรมนี้ ก็สรุปได้ 2 ประเภท อันได้แก่ กรรมดี คือการทำความดี และกรรมชั่ว คือการทำความชั่ว ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ (ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลเป็นดี)”  และพุทธศาสนสุภาษิตอีกบทที่ว่า “น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ (ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี)”  “กรรมดี” ก็สรุปอยู่ที่ การมีเจตนาที่จะไม่เบียดเบียนชีวิต – ทรัพย์สิน – และกามารมณ์ของผู้อื่น การมีเจตนาที่จะไม่พูดโกหก – คำหยาบ – ส่อเสียด – และเพ้อเจ้อ การไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น ไม่อาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น การมีความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม รวมทั้งการช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทน (ไม่เห็นแก่ตัว) ส่วน “กรรมชั่ว” ก็สรุปอยู่ที่ การมีเจตนาเบียดเบียนชีวิต – ทรัพย์สิน – และกามารมณ์ของผู้อื่น การมีเจตนาในการพูดโกหก – คำหยาบ - ส่อเสียด – และเพ้อเจ้อ การมีความโลกอยากได้ของผู้อื่น การอาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น การมีความเห็นที่ผิดจากทำนองคลองธรรม รวมทั้งการละเลยไม่ช่วยเหลือผู้ที่กำลังเดือดร้อน หรือมีความทุกข์ (เห็นแก่ตัว) ผลของกรรม เรียกว่า “วิบาก” โดยผลของกรรม ก็คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากจิตใต้สำนึก คือเมื่อเราทำกรรมดี จิตใต้สำนึกของเรามันก็รู้อยู่ว่า เป็นความดีงามหรือถูกต้อง ดังนั้นมันจึงเกิดความสุขใจ หรืออิ่มเอมใจขึ้นมาทันที แต่เมื่อเราทำกรรมชั่ว จิตใต้สำนึกของเรามันก็รู้อยู่ว่ามันชั่ว หรือเลวหรือไม่ดีหรือผิด ดังนั้นมันจึงเกิดความร้อนใจ หรืออย่างน้อยก็ความไม่สบายใจขึ้นมาทันที โดยวิบากนี้ ถ้ายังไม่เกิดในทันทีที่กำลังทำกรรมอยู่ ก็จะเกิดเมื่อทำกรรมเสร็จแล้วก็ได้ หรืออาจจะเกิดในเวลาต่อมาอีกหน่อยก็ได้ อีกทั้งวิบากนี้ จะมากหรือน้อยและตั้งอยู่นานหรือไม่นาน ก็ขึ้นอยู่กับเจตนา ว่าจะมากหรือน้อย ซึ่งเราจะต้องมาสังเกตจากจิตของเราเอง วิบากหรือผลของกรรม ที่แท้จริงของพระพุทธเจ้านี้ ก็คือความรู้สึกจากจิตใต้สำนึก ซึ่งจัดว่าเป็นผลโดยตรง แต่ยังมีผลโดยอ้อม ที่ไม่จัดว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือเมื่อทำความดีแล้วได้รับรางวัล หรือมีคนชมเชยและชีวิตเจริญรุ่งเรือง แต่เมื่อทำความชั่วแล้วถูกลงโทษ หรือถูกติเตียนหรือชีวิตล่มจม ซึ่งผลโดยอ้อมนี้มันไม่แน่นอน เพราะมันขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก (เช่น ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น) คือถ้าทำดีแล้วไม่มีใครรู้ หรือสังคมไม่ยอมรับ ก็ไม่มีใครมาชมเชย หรือให้รางวัล หรือถ้าทำความชั่วแล้วปกปิดไว้ได้ หรือสังคมยอมรับ ก็ไม่ได้รับการลงโทษ หรือไม่ถูกติเตียน ดังนั้นพระพุทธเจ้า จึงไม่สอนเรื่องผลโดยอ้อมนี้ เพราะมันไม่แน่นอน ดังนั้นในการที่ชีวิตของคนเราจะต้องประสบ หรือต้องเผชิญกับสภาวะของโรคทั้งทางกายหรือทางใจก็ตาม ดังดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย : ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี”  จึงสามารถอนุมานไปได้ว่า เป็นผลมาจากการกระทำโดยเจตนาของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นนิสัยส่วนตัว พฤติกรรมความคุ้นชิน ความชอบ ความพึงพอใจฯลฯ ที่ล้วนแล้วแต่กระทำไปตามกิเลส ความต้องการหรือความชอบส่วนตัวแทบทั้งสิ้น จึงมีผลหรือวิบากหรือผลที่ได้จากการกระทำไปตามสภาวะของโรคต่างๆ ที่ตนเองประสบพบเจอมาด้วยความประมาทแทบทั้งสิ้น ทุกสิ่งอย่างในชีวิตของคนเราล้วนทำไปตามเหตุผลหรืออารมณ์ชี้นำไปทั้งสิ้น

           การติดเชื้อเอชไอวีเป็นปัญหาที่มิใช่เฉพาะการระบาดและการเจ็บป่วยจากโรคเท่านั้น ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับปัญหาพื้นฐานของสังคม การรังเกียจ กีดกัน และเลือกปฏิบัติ รวมทั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ได้รับผลกระทบอื่นๆ อีกด้วย การตัดสินใจในการจะทำสิ่งต่างๆ ของมนุษย์เรานี้ แยกได้ 2 ฝ่าย คือ ทำไปตามเหตุผลกับทำไปตามอารมณ์ ซึ่งการทำไปตามเหตุผลนั้น ก็คือการใช้สติปัญญาพิจารณาก่อน จึงค่อยทำไปตามเหตุผลที่มองเห็นแล้ว ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “สนาถา วิหรถ มา อนาถา : จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง”  คนที่มีปัญญาและมีใจหนักแน่น ก็มักจะทำไปตามเหตุผล เพราะเขาได้พิจารณาเห็นแล้วว่า สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ โดยไม่สนใจกับอารมณ์ของตัวเองว่า จะอยากทำหรือไม่อยากทำ ซึ่งบางทีมันก็ฝืนกับอารมณ์ของตัวเอง แต่ก็ต้องทำเพราะเห็นว่า มันมีผลดีแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น ส่วนการทำไปตามอารมณ์นั้น ก็คือการทำไปตามความรู้สึกที่กำลังเกิดอยู่เฉพาะหน้า ส่วนคนที่มีปัญญาน้อยก็มักจะทำอะไรไปตามความรู้สึก โดยไม่สนใจเหตุผล หรือเรียกว่า ทำไปตามอารมณ์ โดยไม่สนใจว่าจะเกิดผลเสียอย่างไรตามมาในภายหลัง เพราะไม่ชอบใช้ปัญญามาพิจารณา ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ : ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น”  ดังนั้น “สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย, ผู้หญิงข้ามเพศ, ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด, พนักงานบริการชาย, พนักงานบริการหญิง และกลุ่มหญิงที่มาฝากครรภ์ การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มประชากรหลัก เช่น การบูรณาการงานป้องกัน การให้ความรู้ และอุปกรณ์ป้องกันไปสู่การให้บริการดูแลรักษาและใช้แนวทางการค้นหาผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีให้ได้มากที่สุด และเชื่อมต่อเข้าสู่การรักษาแต่เนิ่นๆ และต่อเนื่อง ด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานเพื่อเข้าถึงกลุ่มประชากรหลัก ต้องใช้มาตรการเสริมในการป้องกันการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพที่เหมาะสมกับผู้ที่มีพฤติกรรมความเสี่ยงข้างต้นนั้น”  แต่ธรรมชาติของคนเรานั้น ย่อมจะมีปัญญามากบ้างน้อยบ้างด้วยกันทุกคน ดังนั้น จะหาคนที่เอาแต่เหตุผลเพียงอย่างเดียว    โดยไม่สนใจความรู้สึกหรืออารมณ์นั้นย่อมไม่มี หรือจะหาคนที่เอาแต่อารมณ์เพียงอย่างเดียวโดยไม่สนใจเหตุผลนั้นย่อมไม่มีอีกเช่นกัน คนที่จะใช้แต่เหตุผลเพียงอย่างเดียวนั้น จะต้องสามารถควบคุมอารมณ์ได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งตามปกติคนเรามักทำกันไม่ค่อยได้ เพราะขาดการฝึกฝนมาอย่างเพียงพอ ส่วนคนที่จะใช้แต่อารมณ์เพียงอย่างเดียวนั้น ดูจะมีมาก เพราะมันทำง่าย เหมือนกับพวกสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ที่เวลาเกิดความรู้สึกพอใจมันก็รักกัน แต่พอรู้สึกไม่พอใจมันก็ทำร้ายกัน ดังนั้นในตัวของคนเรา ในคนๆ เดียวนั้น จึงสามารถกระทำสิ่งต่างๆ ไปตามเหตุผลบ้างในบางครั้ง และทำไปตามอารมณ์บ้างในบางครั้ง โดยขึ้นอยู่กับว่าในขณะนั้น กำลังมีสภาวะจิตเป็นเช่นไร  คือถ้ากำลังมีจิตที่สงบหรือมีสมาธิ ก็ย่อมที่จะกระทำไปตามเหตุผล  แต่ถ้ากำลังมีจิตที่เร่าร้อน ฟุ้งซ่าน วุ่นวาย ก็ย่อมที่จะกระทำไปตามอารมณ์ ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย : ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใดๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้นๆ”  การกระทำไปตามอารมณ์นั้น มีโอกาสที่จะกระทำผิดพลาด หรือเกิดผลเสียตามมาในภายหลังได้มาก ส่วนการกระทำไปตามเหตุผลนั้น มีโอกาสที่จะกระทำถูก หรือเกิดผลดีได้มาก ดังนั้น ในภาคทฤษฎีการกระทำไปตามเหตุผล จึงย่อมที่จะมีผลดีกว่าการกระทำไปตามอารมณ์ แต่ว่าในประพฤติกและการปฏิบัติจริงๆ นั้น คนเรามักกระทำไปตามอารมณ์เสียมากกว่า เพราะไม่สามารถควบคุมจิตใจของตนเองได้ การกระทำที่จะใช้เหตุผล ให้มากกว่าการใช้อารมณ์นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการฝึกฝนอบรมจิต คนเราบางคนโชคดี ที่โตขึ้นมากับการใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ จึงมักเป็นคนที่หนักแน่นไม่ทำตามอารมณ์ จึงทำให้เป็นคนที่มีคนรัก เคารพนับถือมากและมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต มากกว่าคนที่ชอบใช้อารมณ์ แนวโน้มการติดเชื้อเอชไอวีสะสมอยู่ในกลุ่มประชากรหลักและความชุกในบางกลุ่ม เช่น “ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย ยังคงสูงต่อเนื่อง การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ การดำเนินงานเพื่อลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ แม้การดำเนินงานมีความก้าวหน้ามาเป็นลำดับ แต่ความครอบคลุมในประชากรหลักที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้แก่ ชายมีเพศสัมพันธ์กับชายและผู้หญิงข้ามเพศ พนักงานบริการที่ไม่ได้สังกัดสถานบริการผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด ยังไม่เพียงพอที่จะไปถึงเป้าหมายและเกิดผลกระทบตามที่ต้องการ จำเป็นต้องเพิ่มความพยายามและสนับสนุนทรัพยากรให้เพียงพอ พร้อมทั้งปรับการดำเนินงานให้ตอบสนองความต้องการที่เฉพาะและสอดคล้องกับบริบทมากขึ้น นอกจากนี้ ในประชากรทั่วไปกลุ่มอื่นๆ การดำเนินงานเริ่มขาดความต่อเนื่องและกิจกรรมสำคัญเริ่มขาดหายไป จึงมีความจำเป็นจะต้องมีการปรับและจัดการใหม่ให้เหมาะสม เพื่อให้การป้องกันยังคงมีความเข้มข้นเพียงพอและยั่งยืนในระบบต่อไป”  คำสุภาษิตที่ว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย     ไม้แก่ดัดยาก” นั้น  ดูจะเป็นวิธีที่ถูกต้อง ซึ่งถ้าใครที่ต้องการให้ลูกหลานของตนเอง เป็นคนชอบใช้เหตุผล       ก็ต้องหมั่นฝึกฝนให้ลูกหลาน เป็นคนมีเหตุผลมากกว่า การตามใจลูกหลาน จนทำให้ลูกหลาน เป็นคนที่ชอบเอาแต่ใจตัวเอง ซึ่งเด็กๆ ที่ถูกตามใจมากๆ ก็ย่อมที่จะเป็นเด็ก หรือเป็นคนมีนิสัยเอาแต่ใจตนเอง เพราะถูกตามใจมาเสียจนเคยตัวและเคยชิน ดังนั้นเมื่อกระทำสิ่งใดแล้ว ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นสุข สนุกสนานเด็กๆ      ก็อยากจะกระทำสิ่งนั้นๆ แม้ว่าสิ่งนั้น จะทำให้เกิดผลเสียอย่างยิ่งแก่ชีวิตในอนาคตก็ตาม  แต่ถ้าต้องกระทำสิ่งใด ที่ทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์หรือลำบาก เด็กๆ ก็ไม่อยากจะกระทำสิ่งนั้นๆ แม้ว่าการกระทำสิ่งนั้นๆ จะเกิดผลดีอย่างยิ่งแก่ชีวิตในอนาคตก็ตาม นี่เองที่ทำให้เด็กๆ สมัยใหม่นี้ เป็นเด็กดื้อด้าน ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ครูอาจารย์ ก็เพราะถูกเลี้ยงดูและตามใจมาเสียจนเคยตัวและเคยชิน คือจะกลายเป็นเด็กที่เอาแต่การใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลนั่นเอง ส่วนคนที่ไม่ได้เติบโตมา กับการใช้เหตุผลก็ตาม แต่ถ้าเข้าใจในเรื่องการใช้เหตุผลกับอารมณ์นี้แล้ว ก็สามารถที่จะฝึกฝนจิตของตนเองให้เข้มแข็ง จนสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ซึ่งหลักในการฝึกจิตนี้  ก็สามารถทำได้โดยการหมั่นฝึกสมาธิอยู่เสมอๆ การฝึกสมาธิ ก็สามารถกระทำได้หลากหลายวิธี ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องนั่งหลับตา และท่องภาวนาตามที่ปรากฏ การทำสมาธิซึ่งตามปกติแล้ว พฤติกรรมของคนเรา ที่ได้กระทำอะไรนานๆ มีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นนานๆ และให้ความสนใจ ความใส่ใจ จนเกิดความรู้สึกนิ่ง สงบ หรือความคุ้นชินกับสิ่งนั้นๆ อย่างโปร่งโล่งสบาย หรือผ่อนคลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสมาธิได้แทบทั้งสิ้น แต่เหนือสิ่งอื่นใด การฝึกสมาธิด้วยการนั่งหลับตาและภาวนา จะมีผลดีคือจะทำให้อาการความสงบนิ่ง ของคนกระทำได้รับผลสัมฤทธิ์ที่เร็วขึ้น และมีจิตใจจดจ่อที่แน่นอน ไม่มีสิ่งมากระทบอารมณ์ความรู้สึก ให้ต้องกลับไปกลับมาเริ่มต้นฝึกใหม่นั่นเอง และพยายามระวังจิตอย่าให้เอาแต่การใช้อารมณ์อยู่เป็นประจำ ซึ่งวิธีนี้เท่านั้นที่จะเปลี่ยนจากคนที่เอาแต่การใช้อารมณ์ มาเป็นคนที่มีเหตุผลได้มากขึ้น ส่วนใครที่คิดว่าเรา สามารถจะเปลี่ยนจิตใจกันได้ง่ายๆ นั้นจัดว่าคิดผิด คนเราต้องมาฝึกสมาธิกันให้มาก เพื่อจะได้เป็นคนที่มีเหตุผลมากกว่าเอาแต่การใช้อารมณ์ เราจึงจะมีความเจริญก้าวหน้า หรือประสบความสำเร็จในหน้าที่ การงานที่เราต้องการ แต่ถ้าเรายังไม่มีสมาธิที่เพียงพอ เราก็ต้องพยายามระวัง อย่าให้เกิดการใช้อารมณ์ หรือมีอารมณ์ขึ้นมาในขณะที่เราจะกระ??

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม