จิตวิญญาณระบอบประชาธิปไตย คือการตรวจสอบ ความโปร่งใสและการวิพากษ์วิจารณ์

827 05 Mar 2022

 

ข่าว นักการเมืองถูกศาลฎีกา ตัดสินจำคุก  99 ปี ทำไมผมรู้สึกเศร้า !!

ปกติ ผมจะชอบและสาแก่ใจ เวลามีนักการเมืองถูกจำคุก อาจจะมาจาก เกลียด หรือ เชื่อติดตา ฝังจำ ว่านายคนนู้น นางคนนี้ ชั่ว หรือเป็นนัการเมืองที่เลว แต่พอผ่านประสบการณ์ ในช่วง 10 หรือ 20 ปี มานี่ การดำเนินคดีต่างๆ กับ นักการเมือง การตัดสินจำคุก หรือ ถูกปลด ถูกตัดสิน ผมมัก รู้สึกเคลือบแคลงไปหมด ว่ามันง่าย และมักถูกใช้เป็นเครื่องกำจัด นักการเมือง และพินิจลงลึกดีๆ มักจะเห็นว่า ในระยะหลังๆ มักเกิดกับคน ที่ลงจากอำนาจ หรือ หมดบริวาร คนของตัว ซะส่วนใหญ่

ถ้าถามว่าใคร บ้าง ไม่มีคดีติดตัว ผมยังนึกไม่ออก ชวน หลีกภัย กรณีอุ้มไฟแนนซ์ ชวลิต ยงใจยุทธ กรณีปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว สุเทพ เทือกสุบรรณ กรณี สปก.
4-01 และ กรณีโรงพัก คดี 99 ศพ ของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คดีออกรายการของนายสมัคร สุนทรเวช คดีทักษิณ คดีจำนำข้าว นายกฯ ปู จนถึง ครม.ในรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งดาดดื่นหลายคดีมาก 

เราเป็นประชาชน เราติดตามรับรู้ และเห็นมาตลอด ความจบสิ้น รับโทษทัณฑ์ ส่วนมากอยู่ที่ใครยังเกาะเกี่ยวกับอำนาจในปัจจุบันได้ หรือเกาะเกี่ยวกับใคร ( ในฐานะประชาชนรู้สึกเช่นนั้นมาตลอด) เพราะพยานหลักฐาน บางครั้ง ก็เป็นเรื่อง สร้างขึ้นมาเพื่อข้อเท็จจริง ดูสมจริง และมีน้ำหนัก
สิ่งที่ผมรู้สึกคือ ระบบการเมือง ที่ไม่ปกป้องนักการเมือง เป็นเรื่องอันตรายในทางบริหาร ความเคลือบแคลงใจ ต่อกระบวนการยุติธรรม เพราะ คตส.
(คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (ชื่อย่อ คตส.)) เกิดจขึ้นจาก รัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ ไม่ใช่กระบวนการที่โปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วม ดังนั้น  การลงโทษคดีการเมือง ควรจะเป็นไปในทางการเมือง อาทิ ยุบพรรค ตัดสินทธิ์  หรืออย่างรุนแรง คือ ยึดทรัพย์ ฟ้องเรียกค่าเสียหาย แต่การสร้างคณะทำงานขึ้นมาไต่สวน และรับผิดในทางอาญา สำหรับผมแล้วมันดูไม่งดงาม และ น่าเชื่อถือ

หรืออย่างน้อย ควรจะต้องมีกระบวนการตรวจสอบการไต่สวนดำเนินคดี อีกคณะหนึ่งที่มาจาก ฝ่ายอื่น ซึ่งก็คือ ภาคประชาชน  ที่อิสระ เข้มแข็ง และ มีประสิทธิภาพ เพื่อรักษา หรือทำให้ประชาชนเห็นถึงการ ถ่วงดุล ตรวจสอบ และ แสดงออกถึงความยุติธรรม กลไกนี้ ไม่ใช่แค่มาทำหน้าที่ เฉพาะใคร แต่กับนักการเมืองทุกคน ที่เข้าไปทำงาน มีอำนาจออกนโยบาย ผลักดันโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ หรือ อนุมัติงบประมาณ แผ่นดิน

เพราะอย่าลืม ว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง ฝ่ายนโยบาย กับ ฝ่ายปฏิบัติ ซึ่งก็คือ ข้าราชการ ก็มีส่วนเอื้อผลประโยชน์ หรือทำให้เกิดการคอรับชั่น ได้ทั้งหมด ดังนั้น ถ้าเราจะปราบปรามจริงจัง เราต้องคิด หรือออกแบบ กระบวนการ กลไก ต่างๆ ให้สามารถเอาผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และมีกลไก ติดตาม ตรวจสอบ หรือ อุทธรณ์ ร้องเรียน หาจุดที่สามารถแสดงออกความยุติธรรม อย่างสมเหตุสมผลได้

หลายปีก่อน เราพุดคุยกันมากเรื่อง บทบาทการเมืองในส่วนภาคประชาชน เพราะนี่คือ กลไกถ่วงดุล ตรวจสอบ ที่สำคัญมากในระบอบประชาธิปไตย ไม่เช่นนั้น เราประชาชนก็ได้แต่ชม การเล่นปาหี่ทางอำนาจ ของคนบางกลุ่มบางพวก และยัดเยียดว่านี่คือ ประชาธิปไตย หรือ นี่คือ กระบวนการยุติธรรม ที่คนบางกลุ่มออกแบบไว้เพื่อกำจัดคู่ต่อสู้ทางการเมือง เป็น อำนาจที่สี่ เพราะว่า การหวังพึ่งพา กลไกรัฐสภา ที่มาจากการแต่งตั้ง (ส.ว.) และในสภาวะ ส.ส. ที่สนใจแค่การเป็น ลูกขุนพลอยพยัก ขาดสำนึกของการทำหน้าที่เป็น ผู้แทนราษฎร อย่างจริงจัง

ผมนึกถึงบรรทัดฐาน การดำเนินคดีทางการเมืองสำหรับนักการเมือง ผมอาจจะคิดมากไป แต่ผมเศร้าจริงๆ นะ....

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม