ชาวนาถูกปล้น

1191 18 Oct 2021

เหมือนจะอ่านเจอข่าว กรอบเล็กๆ หรือ สั้นๆ เมื่อ 2-3 วันก่อน เรื่อง พรบ.ข้าว เรื่องนี้ เป็นประเด็นข่าวเมื่อปี 2562 ระหว่าง มีการร่าง ที่ผ่านมาจาก สนช. สภาที่เกิดจากการรัฐประหาร และเข้าสู่การพิจารณา ช่วงนั้น ประเด็นเรื่อง พบร.ข้าว ทำเอา รัฐบาลสั่นคลอน เลยทีเดียว เพราะว่า เป็นร่างกฎหมาย “ปล้นสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวนาไทย”  เพราะเมล็ดพันธุ์ จะเป็น ข้าว หรือ อะไรก็แล้วแต่  คือ หัวใจของภาคเกษตร

แต่การ บัญญัติ ว่า “การพัฒนาและการค้าเมล็ดพันธุ์ ตามมาตรา 27 กฎหมายให้อำนาจเฉพาะการค้าเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เท่านั้น “     นั่นก็หมายความว่า ชาวนาที่ทำเกษตร จะเก็บเมล็ดพันธุ์ใช้เองหรือ ขาย แบ่ง ไปให้เพื่อนชาวนา ญาติ พี่น้อง แบบในอดีต ไม่ได้ หากฝ่าฝืน มีโทษสูงถึง จำคุก 1 ปี และปรับ 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


วรรคข้างบนนี้  อ่านดีๆ อ่านหลายๆรอบ นะครับ นี่คือ การเขียนกฎหมายปล้นสิทธิขั้นพื้นฐาน สิทธิที่มีมาแต่โบร่ำโบราณ ของชาวนาไทย รวมถึง กลุ่มนายทุนโรงสี ก็ลำบากด้วย ถ้าไม่มีใบรับรองจาก กรมการข้าว กระทรวงเกษตรฯ และจะเป็น บทบัญญัติที่ทำให้ เกิดการคอรัปชั่น ระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ที่สนใจจะขายพันธุ์ และนอกจากนั้นยังให้อำนาจ กรมการค้าข้าว เข้าไปเข้าไปตรวจสอบโรงสีโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าด้วย การเข้าตรวจโดยไม่ต้องแจ้งล่วง ที่กฎหมายไทยให้อำนาจ ก็มีแต่ล้อมจับอาชญากร เท่านั้น


มองมาทางนักวิชาการที่สนับสนุนกฎหมายนี้ ก็อ่างว่า "เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชาวนาใช้พันธุ์ข้าวที่ดีมีคุณภาพ ในการเพาะปลูก และมีความเหมาะสมกับเขตศักยภาพการผลิตข้าวที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ ให้ชาวนาซึ่งปลูกข้าวโดยใช้พันธุ์ข้าวที่กรมการข้าวประกาศรับรองพันธุ์ และเพาะปลูกในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมตามเขตศักยภาพการผลิตข้าวได้รับความช่วยเหลือ ส่งเสริม หรือสนับสนุนตามมาตรการที่คณะกรรมการประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเรื่องตรงนี้ เรื่องการคัดสรรพันธุ์ข้าวคุณภาพ หรือ พันธุ์แท้ ให้คงอยู่ในท้องทุ่ง แต่กระนั้น คำว่า พันธุ์ดี หรือ พันธุ์แท้ ก็แค่ พันธุ์ข่าวที่ตลาดต้องการ ไม่ใช่พันธุ์ข้าวที่ชาวนาชอบทาน ที่ลูกค้าหรือคนกินข้าว ชอบทาน หรือ พันธุ์ที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ภูมินิเวศ วัฒนธรรม
 
รวมถึงการปล่อยให้ชาวนา คัดพันธุ์ข้าวเอง คือ การปรับปรุงพันธุ์แบบธรรมชาติ คือเนิบช้า กว่าจะได้ข้าวพันธุ์ใหม่ๆ มาปลูกมาสืบทอด ฉะนั้น การคุ้มครองก็ดี  การให้สิทธิคนอื่น ที่ไม่ใช่ชาวนาก็ดี รวมถึงการที่ รัฐบาล มักอ้างหรือมีท่าที ชู หรือสนับสนุนข้าว แค่บ้างสายพันธุ์ ก็ล้วนแต่ร่วมมือกัน “ฆ่าและปล้น ชาวนาไทย”  

 

หลักการในการสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อย และกลุ่มเกษตรกรที่อนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟู ปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวทั้งที่อยู่ในวิถีเกษตรกรรมพื้นบ้าน และที่มุ่งพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อเกษตรกรรมเชิงนิเวศ มิใช่การปลูกข้าวเชิงเดี่ยวแบบเดียวกับที่หน่วยงานรัฐให้ความสำคัญเป็นหลัก จำเป็นต้องถูกบัญญัติเอาไว้ หากต้องการรับมือกับอนาคตที่กำลังจะมาถึง เพื่อรับมือกับปัญหาการบริโภคเชิงเดี่ยว การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร

 

พันธุ์พืชกับนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงผูกพันกันมายาวนาน สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่ หรือแม้แต่ เป็นอัตลักษณ์ ความนิยม ปลูก บริโภค แม้ว่าจะไม่ตรงกับต้นแบบ แต่ก็เกิดการแตกแขนงจากพันธุ์เดิม ไปอย่างมีเอกลักษณ์ โดดเด่นก็ได้

การคำนึงถึงแต่เรื่อง ตลาด การควบคุมคุณภาพ (ที่ตลาดต้องการ ) อย่างเดียว กำลังกลายเป็นการทำลายความหลากหลายของพันธุ์พืช อย่าง ข้าว ซึ่ง แต่เดิมมีหลากหลายมาก แต่ปัจจุบันกลับเหลือเพียงไม่กี่ชนิด ที่มีอยู่

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม