6532 27 Nov 2022
โครงการ ASEAN Cybersecurity Skilling Programe
โครงการ ASEAN Cybersecurity Skilling Programe โดยมูลนิธิอาเซียน (ASEAN FOUNDATION) ประเทศ อินโดนีเซียสนับสนุนโดย Microsoft มีเป้าหมายเพื่อให้ความรู้ด้าน Cybersecurity หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับ เบื้องต้น แก่เยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียน 7 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย ฟิลิปินส์ เวียดนาม และกัมพูชา เพื่อให้มีความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพราะปัจจุบันเป็นยุคที่เราใช้ชีวิตเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตในหลากหลายมิติมาก เช่น การทำธุรกรรมออนไลน์ การซื้อของ การหาข้อมูล การติดต่อสื่อสาร ความบันเทิง (ดูหนัง/คลิป/โทรทัศน์/ฟังเพลง และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งหมดนี้ หากการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อ่อนแอ ก็อาจทำให้ผู้ประสงค์ร้ายเข้ามาทำอันตรายต่อเราและ ข้อมูลส่วนบุคคลของเราได้ ตั้งแต่การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของเราที่เราไม่ได้ตั้งใจจะเปิดเผย เช่น เพศวิถี อายุ สัญชาติ ศาสนา จนอาจนำไปสู่การขโมยข้อมูลของเราไปใช้ อาทิ รหัสบัตร ATM ข้อมูลบัตรเครดิต การสวมรอยเป็นเรา ไปจนถึงการเรียกค่าไถ่ เพื่อแลกกับการไม่เปิดเผยข้อมูลของเรา ในทางธุรกิจความปลอดภัยทางไซเบอร์ของในระดับองค์กรภาคธุรกิจที่มีข้อมูลของลูกค้า เป็นจำนวนมากเมื่อถูกขโมยข้อมูลย่อมจะทำให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจได้
สำหรับในประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีเพื่อนวัตกรรมสังคม (Social Technology Institute) มูลนิธิกองทุนไทย เป็น องค์กรร่วมงานของมูลนิธิอาเซียน (ASEAN FOUNDATION) ที่จะดำเนินกิจกรรมจัดอบรมให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
- เยาวชนที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยี
- เยาวชนชนเผ่า
- เยาวชนผู้พิการ
- เยาวชนจากชุมชนแออัด
- เยาวชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT)
กระบวนการเรียนการสอน
หลักสูตรความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ที่ ASEAN FOUNDATION ได้จัดทำเป็นภาษาอังกฤษและ นำไปสอน แต่ในประเทศไทยได้จัดทำเป็น VDO ภาษาไทยเข้าใจง่าย จำนวน 10 ตอน ให้ผู้สนใจสามารถเข้าเรียนผ่านห้องเรียน Cybersecurity ใน Line OA โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และใช้เวลาเรียน 1-3 วัน ผู้ที่ผ่านการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจากมูลนิธิอาเซียน (ASEAN FOUNDATION) และ Microsoft
ขั้นตอนการเรียน Cybersecurity Skilling Programe
- สแกน QR Code เข้าห้องเรียน Line OA
- ทำแบบประเมินก่อนการเรียน (Pre-Test)
- ชม VDO แนะนำการเรียนและอบรม
- ทำแบบประเมินผลหลังการเรียน(Post -Test) (ภาษาไทย)
- ลงชื่อรับประกาศนียบัตรออนไลน์จากASEAN FOUNDATION และ Microsoft
หลักสูตรความปลอดภัยด้านไซเบอร์ Cybersecurity (จัดทำเป็นวิดีโอ 10 ตอน)
บทที่ 1 บทนำความปลอดภัยทางไซเบอร์
- ความปลอดภัยทางไซเบอร์คืออะไร
- แนวคิดด้านความปลอดภัยทั่วไป
- การกำหนดสถาปัตยกรรมความปลอดภัยที่ดี
- การเข้าถึงรหัส
บทที่ 2 ภัยคุกคามและกลยุทธ์การป้องกัน
- สภาพแวดล้อมภัยคุกคามทางไซเบอร์
- การควบคุมความปลอดภัยทางไซเบอร์
บทที่ 3 ความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน
- Open Web Application Security Project (OWASP)
- ช่องโหว่ ข้อบกพร่อง และจุดบกพร่อง
- การลดและขจัดจุดอ่อนของซอฟต์แวร์
บทที่ 4 การรักษาความปลอดภัยระบบปฏิบัติการและเครือข่าย
- การปิดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ
- การเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเครือข่าย
วิทยากร
นายธนาทิพย์ ดำทิพย์
ธนาทิพย์ ดำทิพย์ ปัจจบันทำงานในตำแหน่ง ผู้จัดการโครงการฝึกอบรมและอาจารย์ผู้ ด้านไอที ให้กับ บริษัท Knowledge Zone Co.,Ltd ตั้งแต่ปี 2555 บริษัท Knowledge Zone Co.,Ltd เป็นองค์กรภาคธุรกิจที่ให้บริการด้านฝึกอบรม ออกแบบและพัฒนา ระบบและให้บริการด้านเครือข่ายแก่หน่วยงานภาคธุรกิจ ภาครัฐ และองค์กรพัฒนา เอกชน
ปัจจบันธนาธิป ยังทำงานเป็น Microcontroller Programmer and SmartFarm และ IOT ให้กับโครงการของ มหาวิทยาลัยกรุงเทพอีกด้วย
ธนาธิป ดำทิพย์ มีประสบการณ์เป็นวิทยากรให้กับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น โครงการระบบฐานข้อมูลให้กับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ปี พ.ศ. 2560) โครงการอบรม IT & Coding training บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย (ปี พ.ศ. 2556) โครงการ Robot camp & Coding สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการ Digital Community
Center training กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปี พ.ศ. 25ุ61-2564)
นายพงศ์ปณต ไพรัชเวชภัณฑ์
พงศ์ปณต ไพรัชเวชภัณฑ์ ปัจจุบันอายุ 19 ปี เรียนอยู่คณะนิเทศศาสตร์ สาขา วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อาศัยอยู่ใน อ.เมือง จ.
อ่างทอง ชื่นชอบและสนใจเรื่องเทคโนโลยี การขนส่ง สิ่งแวดล้อม การออกแบบเมือง ดนตรี วิทยุ โทรทัศน์ ท่องเที่ยว จิตวิทยาฯลฯ
ผลงาน
เป็นผู้ร่วมจัดงานและมีส่วนร่วมในโครงการ Mozilla Common Voice ซึ่งเป็นโครงการ ที่เปิดให้รวบรวมประโยคและบริจาคเสียงพูดของตัวเอง รวบรวมเป็นชุดข้อมูลข้อความ
และเสียงสาธารณะที่สามารถนำไปสอน AIต่าง ๆ เช่น พิมพ์ด้วยเสียง สร้างคำบรรยายแทนเสียง (closed captions) ได้ฟรี และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้
https://www.ppnplus.in.th/?fbclid=IwAR1GXjb_rl7Q4FzvBu2tkQV8hj0wbs_WnGgy3mqwYkwxe2wCsneehmrqFA
https://www.ppnplus.in.th/?fbclid=IwAR0mlL68sfhahz9S3Lz78VY3EpeyA0ey7WVqocrfX9aT3TUfA1Qs5lDZy
นายมิชารี มุคบิล
จบปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ จาก RMIT University เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เริ่มทำงานในฐานะ System Architect ของโปรเจ็กต์ภาพยนตร์แอนิเมชัน เรื่อง ก้านกล้วย (2549) บริษัท กัน ต นา แอ น นิ เม ชั่ น สตู ดิ โอ จำกัด และทำงานในโปรเจ็กต์ไอทีให้กับบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศและยังเป็นอดีตซีอีโอ ของ Proteus Ops บริษัทโฮสติ้ง ชั้นนำสัญชาติไทย
ปัจจุบันมิชารี มุคบิลเป็น CEO บริษัท Zymple และเป็นวิทยากรฝึกอบรม และเป็นผู้ก่อตั้งโค้ด CoderDojo Thailand ชุมชน การเรียนรู้แบบอิสระเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมสำหรับเด็ก และเป็นจัดทำโครงการ Mozilla Common Voice
https://themomentum.co/coderdojo-thailand/
ห้องเรียนไร้ครู @ TedX Charoenkrung https://www.youtube.com/watch?v=3W_vY5SO7jQ
กว่าจะมาเป็น CoderDojo ประเทศไทย https://thepotential.org/creative-learning/coderdojo/
Hacking Education @ Thailand Digital Big Bang 2018 https://www.facebook.com/digitalthailandbigbang/videos/1786846198079116/
สแกน QR Code เข้าห้องเรียนออนไลน์ หรือลิ้งค์ https://lin.ee/9edrl1p
05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม