เขตอุตสาหกรรมหนองจิกระเบิดเวลาลูกใหม่ถ้าไม่จำบทเรียนอุตสาหกรรมจะนะกับข้อกังวลวัยรุ่นหนองจิก

1632 29 Mar 2021

 

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) 

Shukur2003@yahoo.co.uk 

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

อ.หนองจิก ก็เป็น 1 ใน 4 เมืองต้นแบบ ภายใต้แนวคิด "เมืองต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าผสมผสาน"

อนึ่ง ในปี พ.ศ.2557 หน่วยบูรณาการงานวิจัยเพ่ือพัฒนาพื้นท่ี (Area-Based Collaborative Research Unit: ABC Unit) สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ร่วมกับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ศอ.บต. และหน่วยพันธกิจมหาวิทยาลัยกับสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สร้างกลไกการทำงานเพื่อการ พัฒนาพื้นที่ใช้ชื่อว่า คณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการความรู้เพ่ือสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรในพื้นที่ ได้ทำรายงานเชิงวิชาการซึ่ง

ในรายงาน ระบุ ส่วนหนึ่งว่า “อำเภอหนองจิก ถือได้ว่าเป็นเมืองหน้าด่านสาคัญของจังหวัดปัตตานี และเส้นทาง สามเหลี่ยมเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนใต้ ท้ังนี้เพราะเป็นจุดกลางของเส้นทางที่เชื่อมไปยังอำเภอจะนะ เทพา จังหวัดปัตตานียะลาและ นราธิวาส ปัจจุบันหนองจิก ถือได้ว่าเป็นเมืองสาคัญด้านปาล์มนำ้มัน เพราะมีการลงทุนปลูกปาล์มนำ้มัน มากกว่า 6 หมื่นไร่ และมีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมนำ้มันปาล์มท่ีสามารถรองรับพื้นท่ีปลูกปาล์มนำ้มัน กว่า หนึ่งแสนสองหมื่นไร่ พื้นท่ีนี้จึงได้รับความสนใจในการลงทุนด้านเกษตรกรอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน แปรรูปอาหาร โรงงานไฟฟ้าชีวมวล โรงงานพัฒนาปุ๋ยจากเศษวัสดุของเหลือจากอุตสาหกรรมปาล์มนำ้มัน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อน่ึง นอกจากพ้ืนที่ปลูกปาล์มนำ้มันแล้ว หนองจิกยังเป็นพื้นท่ีที่มีการปลูกข้าว อินทรีย์ตามโครงการนาแปลงใหญ่ของกรมชลประทาน ดังน้ัน รัฐบาลจึงให้ความสนใจที่จะพัฒนาพื้นที่นี้ให้เป็นพื้นท่ีผลิตวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมนำ้มันปาล์ม และอุตสาหกรรมอาหาร (ฮาลาล) ของภาคใต้ตอนล่าง โดยยกระดับความสามารถของเกษตรกรในพื้นท่ีผ่านกระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกษตรกร รายย่อยสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางการเทคโนโลยีการผลิต และเช่ือมโยงการพัฒนาใน ทุกมิติท่ีเกี่ยวข้อง ซึ่งเป้าหมายหลักของโครงการนี้ “เป็นเมืองที่มีความสงบ ประชาชนมีงานทา เศรษฐกิจดี” โดยผ่านกระบวนการดังนี้

1.การสร้างกลไกและพัฒนารูปแบบของเกษตรกรรมให้มีความยั่งยืนตามบริบทของพื้นที่เพื่อ สร้างเศรษฐกิจฐานราก

2. การพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อรองรับนโยบายภาครัฐแบบยั่งยืน

3. การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้าน

4. รูปแบบการจัดการปศุสัตว์แบบผสมผสาน”(โปรดดูhttps://www.trf.or.th/component/attachments/download/4197)

 

อย่างไรก็แล้วแต่หลังโครงการนี้ศอ.บต.เอาไปขับเคลื่อนและดำเนินการพบปัญหาหลายประการเช่น ทุจริตซื้อขายที่ดินเอื้อประโยชน์แก่บางคน(อ่านเพิ่มเติมใน https://www.isranews.org/article/south-news/south-slide/92897-newroad.html) การหลอกนักลงทุนนอกพื้นที่เพื่อเอื้อคนของรัฐและเครือข่ายจนนักลงทุนจำเป็นต้องหนี ( อ่านเพิ่มเติมใน https://mgronline.com/south/detail/9630000104696)

 

จะเห็นได้ว่า โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทุจริตคอรัปชั่น และเป็นเรื่องtalk of the town “ใน อุตสาหกรรมความมั่นคง”ที่สร้างความร่ำรวยแก่ผู้มีอำนาจและเครือข่ายตลอด17ปีไฟใต้สอดคล้องกับแถลงข่าวของBRNในเดือนนี้โดยแถลงการณ์ว่า “ความขัดแย้งที่ปาตานีไม่ใช่พื้นที่เพื่อฉวยโอกาส และไม่ใช่สนามสำหรับธุรกิจความมั่นคงของใคร อย่าปล่อยให้ชาติของเรากลายเป็นเดิมพัน เพราะเงินทองไม่สามารถซับน้ำตาเลือดหรือทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น พวกเราต้องรวมใจกับปกป้องมรดกที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ทรัพยากรธรราชาติในแผ่นดินของเราให้มีอย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์สำหรับประชาชน  “

 

.

(โปรดดูแถลงการณ์BRNแปลโดยShintaro Haraใน

https://www.facebook.com/1710903737/posts/10209092964517186/?d=n)

ในขณะที่ 16 มีนาคม 2564 ตัวแทนวัยรุ่นหนองจิกจัดเสวนาต่อเรื่องนี้แสดงความกังวลต่อโครงการ(ผ่านlive 

ใน Facebook ) อันจะเป็นระเบิดเวลาลูกใหม่หากรัฐยังขับเคลื่อนแบบเดิมๆ “ไม่โปร่งใส กีกันกันมีส่วนร่วมโดยเฉพาะฝ่ายเห็นต่าง IOลดค่าฝ่ายเห็นต่าง ใช้เงินปิดปาก ทำเวทีแบบพิธีกรรม ใช้กลไกกฎหมายเอื้อนายทุน เหล่านี้คือบทเรียนอุตสาหกรรมจะนะที่รัฐไม่เคยจดจำอย่างไรก็แล้วแต่คนเห็นต่างก็เช่นกันต้องสร้างองค์ความรู้ ในหลากหลายมิติ ทั้งทางด้านกฎหมาย สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การทำงานเป็นเครือข่าย โดยเฉพาะกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ตาดีกา ผู้นำศาสนา ด้วยความเป็นเอกภาพไม่แตกแยก “ กล่าวโดยสรุปแทนที่โครงการนี้จะนำไปสู่สันติภาพสันติสุขมันอาจนำไปสู่ความรุนแรงและกระทบสันติภาพในที่สุดก็เป็นไปได้

อนึ่ง 17 มีนาคม 2564

 

เครือข่าย​เยาวชน​ก้าวหน้า​เพื่อการพัฒนาสังคม (อำเภอ​หนองจิก)​ เดินหน้าส่งหนังสือ​ ศอ.บต​ คัดค้านการขยายพื้นอุตสาหกรรมหนองจิก​ 

 

เครือข่ายเยาวชนฯ​ ขอเข้าพบ​เลขาธิการ​ ศอ.บต​ ที่สำนักงาน  ศอ.บต​ โดยมี นายชนธัญ แสงพุ่ม หรือ "ดร.เจ๋ง" ​ รองเลขาธิการ ศอ.บต​ มารับฟังและชี้แจงข้อมูลแทนเลขาธิการ

 

นายชนธัญ​ ให้ความเห็นเรื่องการขยายพื้นที่เขตอุตสหกรรม (พื้นที่สีม่วง)​ ในพื้นที่อำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานี​กว่า​ 2,000​ ไร่ว่า​ "ทาง​ ศอ.บต​ ไม่ทราบว่าจะมีการขยายพื้นที่ทำอุตสากรรมเฟอร์นิเจอร์กว่า 2  พันไร่  เรารับรู้เพียงว่าจะมีการขอใช้พื้นที่ขยายโรงงานเฟอร์นิเจอร์เพียง 200​ กว่าไร่เท่านั้น  หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนี้ควรจะไปถามท้องที่ (จังหวัด​ปัตตานี)​ ว่ามีความเป็นมา​อย่างไร​"

 

ทางด้านมูฮำหมัดฮาฟีซี  ลาเตะตัวแทนเครือข่ายเยาวชนฯ​ ชี้แจงเรื่องการประกาศเขตอุตสาหกรรมอำเภอหนองจิก ที่เหลือเวลาอีกเพียง 2 วันที่จะสิ้นสุดการส่งข้อคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า​ "ถึงแม้เราจะเหลือเวลาไม่มากแล้วแต่เราก็จะพยายามดำเนินเรื่องทุกช่องทางที่พอจะทำได้เพื่อจะให้เรารับรู้ข้อมูลมากที่สุด​ และเราจะเดินหน้าส่งต่อข้อมูลให้เป็นที่รับรู้ของชาวบ้านในพื้นที่ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อชุมชนของเราในอนาคต" 

 

"สิ่งเร่งด่วนตอนนี้ผมคิดว่าอยากจะนำเสนอความคิดเห็นของชาวบ้านในพื้นที่เป้าหมายการขยายเขตอุตสาหกรรมให้มากที่ และนำเสนอข้อเท็จจริง ผลกระทบที่ชาวบ้านประสบจากโรงงานปาล์มที่มีอยู่แล้ว"  

 

ซุกริฟฟี  ลาเต๊ะ​ ประธาน​สหพันธ์​นิสิต​นักศึกษา​นักเรียน​และ​เยาวชน​ปาตานี (PerMAS)​ " เราไม่ได้คัดค้านโครงการการพัฒนา แต่เราอยากมีกระบวนการที่ทุกคนมีส่วนร่วมมากที่สุด พร้อมเปิดเผยข้อมูล  ศึกษา​ข้อดีข้อเสียอย่างรอบด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีคุณภาพ" 

 

วันเดียวกันกลุ่มเครือข่ายเยาวชนฯ  ได้ไปส่งหนังสือสำนักโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดปัตตานี​ , ผู้ว่าราชการจังหวัด​ปัตตานี​ และศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดปัตตานี กรณีการไม่เห็นด้วยในเรื่องของกระบวนการ เพราะประชาชนไม่ได้รับรู้ข่าวสารและไม่ได้ให้ความรู้และให้ความเข้าใจอย่างทั่วถึงกับประชาชน ซึ่งอาจจะความขัดแย้งในอนาคต

(อ้างอิงจากhttps://www.facebook.com/221459898603693/posts/916698989079777/?d=n)

หมายเหตุฟังคลิปฉบับเต็มใน

https://www.facebook.com/PataniResources/videos/446327449958109/รูปภาพในข้อความ

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม