แร่พลวง..!!หายนะทรัพยากรไทย..ในมือต่างชาติ

5187 24 Oct 2012

[ ฉบับที่ 1272 ประจำวันที่ 4-2-2012  ถึง 7-2-2012 ] จาก ที่มีการวิพากษ์กันในวงกว้าง กรณีการซุกแร่เถื่อนนับพันตันมากองไว้บริเวณชายแดนไทย-พม่า ข้างจุดผ่อนปรน ชั่วคราวด่านเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า เป็น “แร่พลวง” ที่มีมากกว่า 1,000-1,500 ตัน มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท โดยแร่ทั้งหมด ถูกลำเลียงมาจากสหภาพพม่า และยังมีรายงานระบุว่าบริษัทเหมืองแร่ของคนไทย ได้ลำเลียงมากองไว้เกือบ 2 สัปดาห์แล้ว แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าประเทศไทย แม้ “แร่พลวง” หรือ Artimony อาจ ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย แต่ก็นับเป็น “แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ” ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เนื่องจาก “แร่พลวง” ถือเป็น “วัตถุดิบ” ที่ นำไปใช้ในการผลิตส่วนประกอบทางอิเล็กทรอนิกส์มากมาย และยังเป็นโลหะชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมใหม่ๆ นอกเหนือไปจากการใช้เป็น “โลหะยุทธปัจจัย” ข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณี ระบุว่า..แร่พลวงส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทย เป็นแร่พลวงซัลไฟด์ หรือ “พลวงเงิน” และแร่พลวงไฮดรอกไซด์ หรือ “พลวงทอง” “สินแร่พลวง” จะถลุงได้ “โลหะพลวง” ที่ ใช้ในการทำโลหะผสม โดยผสมกับโลหะตะกั่วทำแผ่นกรีต แบตเตอรี่ใช้ทำ ตะกั่วตัวพิมพ์และโลหะบัดกรีบางชนิด ใช้พลวงบริสุทธิ์ทำทรานซิสเตอร์และเครื่องมือ ทางเคมี ทำแผ่นโลหะในการต่อเรือ หรือใช้ เป็นส่วนประกอบของกระสุนปืน และอุตสาหกรรมไม้ขีดไฟ ยาง ผ้าทนไฟ รวมทั้งใช้ ในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบ นอกจากนี้ยังใช้ในการหุ้มสายโทรศัพท์ สายไฟขนาดใหญ่ ทำหมึกโรเนียว หลอดยาสีฟัน สี และ ยารักษาโรค สำหรับประเทศไทยเริ่มมีการผลิตแร่ พลวงตั้งแต่ปี 2486 เป็นต้นมา โดยผลิตกัน มากในภาคเหนือ และมีการผลิตอย่างจริงจัง ตั้งแต่ปี 2506 ทำให้แร่พลวงเริ่มมีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมเหมืองแร่ โดยขณะนี้ แหล่งแร่พลวงที่ใหญ่ที่สุดนั้นอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และประเทศไทยเองถือว่ามีแหล่ง แร่ชนิดนี้มากเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชีย ถัดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพพม่า เวลา นี้หลายชาติต่างให้ความสนใจ จะเข้ามาลงทุนในเหมืองแร่พลวงมากมาย ทั้งญี่ปุ่น อินเดีย หรือแม้แต่จีนที่ได้ชื่อว่า มีแร่ชนิดนี้มากที่สุด ก็ยังให้ความสนใจเช่น เดียวกัน นั่นเพราะการเข้ามามีบทบาทและอำนาจในการกำหนดกลไกราคาของ อุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น!! ขณะที่ราคาซื้อขายก็เป็น “ตัวแปร” ที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะมีการกำหนดราคาโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เปอร์เซ็นต์ละ 1,000 บาท/ตัน หากแร่มีปริมาณธาตุมวลก้อนแร่ (SB) 40%-60% ก็จะเสนอราคาซื้อ ขายกันอยู่ที่ 40,000-60,000 บาท/ตัน ซึ่งถือได้ว่ามีมูลค่าทางเศรษฐกิจนับแสนล้านบาทเลยทีเดียว นอก จากนี้ ยังมีข้อมูลจากเครือข่ายภาคประชาชน กรณีนักลงทุนต่างชาติหันมา ให้ความสนใจในกิจการเหมืองแร่พลวง ซึ่งอาจทำให้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ของไทย..ตกอยู่ในมือต่างชาติ!! พร้อมกันนี้ยังมีการระบุถึง “เหตุและปัจจัย” ที่ ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ว่า..นักลงทุนชาวไทยไม่ให้ความสนใจกับการทำเหมืองแร่ พลวง ส่วนหนึ่งเพราะขาดความรู้ และความชำนาญ ทำให้การลงทุนใน “สายแร่พลวง” จึง ถูกมองข้ามไป หรืออีกเหตุผลที่สำคัญ ก็เพราะภาครัฐไม่ได้ให้การสนับสนุน ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เช่นเดียวกับการที่ตัวบทกฎหมายเก่า คร่ำคร่าเกินไป และไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์แหล่งทรัพยากรแร่ในปัจจุบัน พลันที่ “กลไกภาคประชาชน” ได้ออกมามีส่วนร่วม โดยการจัดเวทีระดมไอเดียในการยกร่าง “พระราชบัญญัติแร่ (ภาคประชาชน)” เพื่อร่วมกันนำเสนอทรรศนะมุมมองต่อการแก้ไข พ.ร.บ.แร่ ฉบับปี 2510 ในเวทีมีการให้ข้อมูลกฎหมายดังกล่าวว่า พ.ร.บ.แร่ ฉบับแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2510 โดยเริ่มต้นเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ซึ่งหัวใจสำคัญของ พ.ร.บ.แร่ฉบับ แรก อยู่ที่การให้ความสำคัญในการเปิดการ ลงทุนในกิจการเหมืองแร่ ให้เกิดการขยายตัวในการขออนุญาตทำเหมืองแร่ และเน้นการผูกขาดการให้อนุญาตอยู่ที่อำนาจรัฐ และ พ.ร.บ.แร่ (แก้ไข ฉบับที่ 5) ปี 2545 ที่ เพิ่มการให้สัมปทานอนุญาตทำเหมืองใต้ดิน โดยทั้งหมดที่แก้ไขนั้น ล้วนเป็นการขยายขอบเขตอำนาจรัฐเพื่อการรองรับการสัมปทานแร่ที่หลากหลายขึ้น โดยใช้หลักการแร่อยู่ที่ใด..แก้กฎหมายให้สัมปทานได้ ที่นั่น! อีกทั้งที่ผ่านมามีการแก้ไข พ.ร.บ.แร่ มาแล้วทั้งสิ้น 5 ฉบับ แต่ปัจจุบันก็ยังคงใช้ พ.ร.บ.กฎหมายแร่ ปี 2510 “ศักดิ์ณรงค์ มงคล” คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในนักวิชาการที่ติดตาม พ.ร.บ.แร่ อย่างต่อเนื่อง กล่าว ว่า เราต้องยกเลิกกฎหมายแร่ ฉบับ พ.ศ. 2510 นี้ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจในการจัดการทรัพยากรแร่ในประเทศ ไปตกอยู่กับ กลุ่มนายทุนผู้ประกอบการ และภาครัฐเพียง อย่างเดียว ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลพื้นฐานของทรัพยากรแร่ที่มีอยู่ในชุมชน ตนเอง เพื่อนำไปสู่การจัดการทรัพยากร แร่ร่วมกัน “ภาค ประชาชนต้องร่วมกันออกแบบ ร่างกฎหมายแร่ ที่ร่างขึ้นจากตัวประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรแร่และจะเป็นผู้ที่ได้รับผล กระทบโดยตรงจากการทำเหมืองแร่ในพื้นที่เอง หากร่างกฎหมายแร่ภาคประชาชนแล้วเสร็จ ก็จะร่วมกันผลักดันสู่กรอบมติของประชาคมทั่วประเทศต่อไป” สำหรับทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ อย่างสินแร่พลวงนั้น ณ ปัจจุบัน ประทาน บัตรในการทำเหมืองแร่พลวงที่กาญจนบุรี มีอยู่ 3 ใบ และ 2 ใน 3 ใบ ปรากฏว่าขอหยุด อีก 1 ใบกำลังอยู่ระหว่างขอต่อประทานบัตร มันย่อมสะท้อนให้เห็นการให้ความสำคัญต่อการทำเหมืองแร่พลวงที่ภาครัฐและ เอกชนรายใหญ่ๆ ลงมาให้ความสำคัญกับเหมืองแร่พลวงมากน้อยเพียงใด ใน ทางตรงกันข้ามกลับเป็นต่างชาติที่กำลังจ้องเข้ามาฮุบธุรกิจด้านนี้ไปจากมือ คนไทย หากปล่อยเลยตามเลยไปแบบ นี้ สุดท้ายธุรกิจเหมืองแร่พลวง..ก็อาจตก ไปอยู่ในมือทุนนอกอีกก็เป็นได้!?!   ที่มา  http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413357701

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม