“อัจรา สรวารี” หญิงแกร่งเพื่อคนเร่ร่อน

2598 26 Aug 2018

“อัจณา สรวารี” หญิงแกร่งเพื่อคนเร่ร่อน

คำถามที่เกิดในใจใครหลายๆคนคือ เธอก้าวมายืนจุดนี้ได้อย่างไร อะไรคือพลังคือแรงบันดาลใจ ทัศนคติ มุมมองเธอเป็นอย่างไร นางสาวอัจรา สรวารี นั้นคือชื่อ ที่นักพัฒนาสายคนจนเมืองหลายคนต่างคุ้นเคย


“เริ่มมาอยู่จุดนี้อย่างไรหรอ ก็เริ่มจากเรียน หาคณะที่เรียนแล้วทำงานกับคนเพราะไม่ชอบนั่งออฟฟิศพบว่ามันไม่ใช่ตัวเราตอนแรกไม่รู้จักคณะสังคมสงเคราะห์ เพื่อนชวนมาสอบตรงที่ธรรมศาสตร์ ดันสอบติด เลยมาเรียนและฝึกงานมาฝึกกับอิสรชน ก็สนุกและทำมามันก็สะท้อนชีวิตสะท้อนสังคมให้เรียนรู้ไม่จบ ย้อนไปเด็กๆก็จะแบบคลุกคลีกับปัญหาแบบนี้รอบตัวจนชินและมองผ่านพอมาทำก็ให้เราเข้าใจสาเหตุเห็นต้นต่อและสื่อสารออกสังคมได้ค่ะ”  เธอเริ่มเล่าเปิดเผย พร้อมกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ เพราะความจริง ชีวิตบนเส้นทางงานแบบนี้ไม่ได้สวยงาม หากแต่มากด้วยอุปสรรค ความเหนื่อยยากและแน่นอน หลายคนยอมหายไปเพราะทนแรงเสียดทานไม่ได้

 

“ถ้าถามว่า ไขว้เขวไหม ไม่ค่ะ ถ้าในเรื่องการลงพื้นที่ไม่มีเลย แต่ท้อเวลาเราต้องระดมทุนแล้วไปสื่อสารกับคนที่ตีตราไปแล้วว่าคนเร่ร่อนไม่ดี แล้วไม่เปิดใจโดยเฉพาะผู้บริหารที่ไม่เคยสนใจมองมันเหนื่อย  งานสื่อสารคืองานหนักแต่งานฟื้นฟูไม่หนักแต่หนีไม่พ้นเพราะเราจะดูแลคุ้มครองคนเร่ร่อนได้ก็ต้องมีทุนทางสังคมเหนื่อยมากกว่าแต่ไม่เขว

 

ส่วนที่ว่าเราได้เรียนรู้อะไรกับงานเหล่านี้ คิดว่า ได้เยอะนะค่ะ  ได้การเรียนรู้ต้นต่อปัญหาวิเคราะห์ ประมวลผล รู้เท่าทันตนเอง การอ่านคน การอย่าตัดสินคนจากสิ่งที่เห็นและที่สำคัญอย่าคิดแทน ถ้าต่อสู้และยึดแนวในการทำงานตั้งเป้าคงไม่พ้นที่จะทำอย่างไรให้สังคมมีสวัสดิการ ที่เท่าเทียมกัน เป็นประชาชนที่ได้รับสวัสดิการพื้นฐาน แม้แต่เราเองความมั่นคงในชีวิตไม่มีต้องวิ่งหา จนละเลยคนรอบข้างจนเป็นปัญหาต่างๆในปัจจุบันไม่ว่าถูกทอดทิ้ง เด็กขายบริการ คนแก่ขายบริการ ครอบครัวแตกแยกต่างๆ เพราะกลายเป็นยุคโลกาวิวัฒน์ที่คนสนใจเอาตัวรอดมากกว่าคำว่าเอื้ออาทร หรือส่วนรวมเป้าหมายก็คือ เดินตามรอย อ.ป๋วย ในเรื่องสวัสดิการ พยายามผลักมันให้ได้เริ่มจากจุดเล็ก "จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" อันนี้เป้าของงานมูลนิธิอิสรชน ส่วน คติในงานคือ "คนแต่ละคนคิดไม่เหมือนกันอย่าคิดแทนอย่าตัดสินแทนแล้วเราไม่เป็นเขาเราไม่มีทางรู้ว่าเขาเจออะไรรับได้แค่ไหนค่ะ"  เธอกล่าวถ้อยคำอ่อนนุ่ม ก่อนจะเผยแนวคิดในการทำงานของมูลนิธิ ว่า

 

“ในกระบวนการทำงานคนเร่ร่อนหรือคนไร้ที่พึ่ง เดินกระบวนการมาได้ดี สร้างระบบจนเกิดกฏหมาย แต่เอาภาพรวมดีกว่า รัฐไทยอะพอเปลี่ยนนายเปลี่ยนหัวหน้าต้องเริ่มต้นใหม่ในบางงาน บางงานไม่สานต่อบางงานไม่สนใจ ทำให้งานไม่ต่อเนื่อง และที่สำคัญรัฐทำเยอะแต่อ่อนการสื่อสารสังคม รัฐทำภายใต้การคิดแทนแต่ไม่สนใจเสียงประชาชนทำให้บางงานไม่ตอบสนองสุดท้ายก็บอกช่วยคนเหล่านี้ไม่ได้ บางทีทำเรื่องง่ายเป็นเรื่องยากเพราะอ้างเงื่อนไข หรือคอรัปชั่น เพราะถ้าสังคมไทยไม่มีสิ่งเหล่านี้สื่อสารสังคม ให้เดินไปด้วยกันเน้นการพัฒนาร่วมไม่ใช่สอนให้คนไทยรอแต่รัฐจัดให้ แต่เน้นงานพัฒนาไปกับการสงเคราะห์สังคมจะเรียนรู้การพึ่งตนเอ’และส่งต่อคนรอบข้างมากขึ้น”  เธอกล่าวออกมาอย่างเข้มแข็ง ก่อนจะสรุปภาพอนาคตชีวิต ไว้สั้นๆ ว่าจะเป็นอย่างไร

 

“เรื่องไปหาอาชีพอื่นทำบ้าง ก็เคยคิดนะ แต่นี่มันคือชีวิตเราไปแล้ว งานคือความสุขของเรามนุษย์วิ่งหาอะไร ที่จริงก็วิ่งหาความสุข ไม่ว่าการสร้างวัด การบวช การหางานที่ทำแล้วมีความสุข เคยท้ออยากหยุดเหนื่อยการสื่อสารการระดมทุน แต่สุดท้ายก็ทิ้งมันไปไม่ได้ก็เดินต่อแต่ค่อยๆเดินค่อยๆก้าว ไปพร้อมกันอย่างมีความสุข พราะไปทำงานที่อื่นมันคงไม่ใช่ตัวเรา เราก็คงต้องวิ่งไปหาสิ่งที่เป็นตัวเราเสมอไป เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา ขอบคุณอุปสรรคที่สอนให้เราโตพอเราผ่านมาได้เรารู้ว่ามันคุ้มที่ยังเดินต่อ รักในสิ่งที่ทำทำในสิ่งนั้นเพราะเรามีความสุข”

 

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม