Mekong Nature Camp: ค่ายเรียนรู้ธรรมชาติแม่โขงค่ายที่จะทำให้คุณรักษ์แม่โขงและท้องถิ่นของคุณ

1306 24 Dec 2017

  ณ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ห่างจากตัวเมืองเชียงของไม่กี่กิโมเมตร มีบ้านไม้ยกโถงสูงอยู่หลังหนึ่งตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา ด้านหนึ่งเป็นฉากภูเขา อีกด้านหนึ่งเป็นแม่น้ำโขง โถงล่างของบ้านไม้นั้นเป็นเสมือนห้องสมุดขนาดย่อมที่ไม่ได้มีแค่หนังสือทั่วไปแต่มีงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับแม่น้ำโขง รวมถึงองค์ความรู้ข้อมูลท้องถิ่นต่างๆอย่าง โปสเตอร์สายพันธุ์ปลาและพืชท้องถิ่นในระแวกนั้น หรือ อุปกรณ์จับปลาหลากหลายชนิด อย่าง สุ่ม กระตั้ม และเบ็ดตกปลานานาชนิด ที่แขวนเรียงรายอยู่บริเวณโถงล่างนั้น มีสวนผักขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ในบริเวณพื้นที่นั้น ด้านข้างบ้านหลังนั้นเป็นศาลาไม้ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ไว้สำหรับเด็กๆหรือกลุ่มคนที่เข้ามาใช้สถานที่ทำกิจกรรมหรือเรียนรู้เรื่องราวชาวแม่น้ำโขง คนที่นี่เรียกสถานที่นี้ว่า โฮงเฮียนแม่น้ำของ หรือ สถาบันองค์ความรู้ท้องถิ่นโฮงเฮียนแม่น้ำของ โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นโดยครูตี๋ หรือ นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ครูใหญ่ของโรงเรียนนี้และกลุ่มรักษ์เชียงของ [caption id="attachment_5778" align="aligncenter" width="900"] ครูตี๋ หรือ นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว และน้องๆ[/caption] สถานที่นี้เป็นสถานที่ในการนัดรวมตัวกันและจัดทำค่ายเรียนรู้ธรรมชาติแม่น้ำโขง หรือ Mekong Nature Camp ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9-10 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของค่ายคือน้องๆในชุมชนท้องถิ่นระแวกนั้นในช่วงมัธยมต้น-ปลาย วันนี้เรามีโอกาสนั่งพูดคุยกับ เอก หรือ นายเจษฎา ขาวขันธ์ อาสาสมัครอยู่ที่สถาบันองค์ความรู้ท้องถิ่นโฮงเฮียนแม่น้ำของ อ.เชียงของ จ. เชียงราย และเป็นแรงหลักในการจัดกิจกรรมโครงการนี้ขึ้นมา [caption id="attachment_5789" align="aligncenter" width="900"] เอก หรือ นายเจษฎา ขามขันธ์ อาสาสมัครอยู่ที่สถาบันองค์ความรู้ท้องถิ่นโฮงเฮียนแม่น้ำของและผู้รับผิดชอบโครงการ Mekong Nature Camp [/caption] “ที่มาที่ไปของโครงการนี้เริ่มจากการที่เราไปเข้าค่าย Mekong ICT Camp ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา คือภายในค่ายเขาก็มีการจัดการประกวดโครงการเพื่อชิงเงินทุนจำนวนหนึ่ง(Seed Grant) ตอนแรกเราก็ลังเลว่าจะส่งดีไหมแต่ก็ได้พี่ๆช่วยและแนะนำให้ลองส่งดูเพราะพื้นที่ที่เราจะทำมันน่าสนใจทั้งด้านวัฒนธรรมและด้านนิเวศวัฒนธรรม สุดท้ายก็ได้เงินทุนกลับมาทำโครงการ” โครงการค่ายเรียนรู้ธรรมชาติแม่น้ำโขง หรือ Mekong Nature Camp เป็นหนึ่งในโครงการที่ชนะการประกวดโครงการชิงเงินทุน ในโครงการ Mekong ICT Camp 2017 โดยการสนับสนุนหลักๆของ มูลนิธิกองทุนไทย, ODC (Open Development Cambodia) และ Emerald Hub เพื่อให้นำเงินทุนมาต่อ ยอดจัดทำโครงการจำนวนทุนละ 3,000 USD [caption id="attachment_5779" align="aligncenter" width="900"] คุณ Andy พาน้องๆลงไปเก็บตัวอย่างน้ำมาทดสอบคุณภาพและสัตว์/แมลงหรือสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำโขง[/caption] “ถ้าถามว่าทำไมเลือกพื้นที่นี้ ก็เพราะพื้นที่นี้มีความน่าสนใจหลายอย่าง(หมู่บ้านหาดบ้ายและบ้านทรายทอง) ทั้งเรื่องวัฒนธรรมที่หลากหลายและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์(ไทลื้อ) อาหาร การประกอบอาชีพ และทรัพยากรต่างๆก็อุดมสมบูรณ์  รวมถึงการที่มาเป็นอาสาสมัครอยู่ที่โฮงเฮียนแม่น้ำของซึ่งเป็นเสมือนแหล่งรวมความรู้ท้องถิ่นในเชียงของและมีแนวทางในการสร้างการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของความรู้ท้องถิ่นโดยคนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน กิจกรรมในค่ายนี้ใช้เวลา 2 วัน 1 คืน โดยในวันแรกจะเป็นภาคการเรียนรู้โดยมีวิทยากรทั้งจากโฮงเฮียนแม่น้ำโขงอย่าง นายนิวัฒน์  ร้อยแก้ว หรือ ครูตี๋  กับการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์นิเวศวัฒนธรรม ต่อมาก็เป็นการอบรมการทำแผนที่ทางวัฒนธรรม(Cultural mapping) โดย ดร. บุษบงก์ วิเศษพลชัย ก่อนจะจบกิจกรรมอบรมความรู้ในช่วงเช้ากับคุณ Mr. Andrew  Stone ในหัวข้อกิจกรรมการตรวจวัดคุณภาพน้ำ โดยเด็กๆก็ได้ไปเก็บตัวอย่างน้ำที่แม่น้ำโขงบริเวณโรงเรียนเพื่อมาตรวจสอบคุณภาพของน้ำและตรวจสอบหาสิ่งมีชีวิตต่างๆในน้ำเบื้องต้นอย่าง พวกแมลงหรือสัตว์ตัวเล็กๆเช่น กุ้ง ปู เป็นต้น [caption id="attachment_5781" align="aligncenter" width="900"] เด็กๆลงไปสำรวจพื้นที่ทางกายภาพของแม่น้ำโขงกับพี่ๆที่โฮงเฮียนแม่น้ำของ[/caption] [caption id="attachment_5773" align="aligncenter" width="900"] เด็กๆในชุมชนบ้านหาดบ้ายและบ้านหาดทรายทอง เล่นดนตรีพื้นบ้านและรำพื้นบ้านเป็นการต้อนรับชาวค่าย[/caption]   ก่อนจะพาน้องๆล่องเรือเพื่อไปบ้านหาดบ้ายและบ้านทรายทองซึ่งเป็นที่พักในคืนนี้ของน้องๆ โดยใระหว่างทางก็มีพี่ๆจากโฮงเฮียนแม่น้ำของคอยให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ทางกายภาพ และตำนาน เรื่องเล่าต่างๆของแม่น้ำโขงอยู่ตลอดทางที่ล่องเรือ เมื่อมาถึงก็ได้แยกย้ายกันไปเข้าบ้านโฮมสเตย์ของชาวบ้านในชุมชนซึ่งเป็นที่พักของน้องๆในคืนนี้ ก่อนจะกลับมารับประทานอาหารเย็นแบบขันโตกตามวัฒนธรรมของคนภูมิภาคทางเหนือของไทยพร้อมกับรับชมการแสดงจากน้องๆในหมู่บ้านอย่างรำไทลื้อและดนตรีไทลื้อประกอบไปด้วย ก่อนจะจบวันและแยกย้ายกันไปพักผ่อนด้วยพิธีบายศรีสู่ขวัญที่ชาวบ้านจัดขึ้นให้กับน้องๆและทีมงานที่เข้ามาพักที่หมู่บ้านนี้ [caption id="attachment_5774" align="aligncenter" width="900"] ชาวบ้านหาดบ้ายและบ้านหาดทรายทองจัดบายศรีสู่ขวัญให้กับชาวค่าย[/caption] “รูปแบบกิจกรรมในค่ายเราเน้นไปที่การทำแผนที่ชุมชน ให้น้องๆเรียนรู้การทำแผนที่เดินดิน แผนที่ทางวัฒนธรรม และได้รู้จักกับปราชญ์ในด้านต่างๆของชุมชน ทั้งวัฒนธรรม การเกษตร และอื่นๆ เพื่อที่น้องๆจะสามารถนำไปประยุกต์ทำกับชุมชนตัวเองได้และหวังว่าจะทำให้น้องๆตระหนักรักษ์ชุมชนตัวเองขึ้นมา” วันที่สองจะเป็นภาคปฏิบัติ โดยให้น้องๆนำความรู้ที่ได้รับมาในวันแรกทั้งข้อมูลชุมชนและการทำแผนที่ทางวัฒนธรรม มาทำแผนที่ชุมชนจริงๆด้วยตัวเองโดยมีโจทย์และประเด็นที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม เช่น ทรัพยากรภายในชุมชนและวัฒนธรมในชุมชน เป็นต้น ก่อนจะให้น้องๆนำเสนอข้อมูลที่ตัวเองได้เก็บมาเป็นอันจบกิจกรรมค่ายนี้ [caption id="attachment_5791" align="aligncenter" width="900"] เด็กๆลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อนำมาสรุปลแะนำเสนอในวันสุดท้ายของค่าย[/caption] [caption id="attachment_5780" align="aligncenter" width="1024"] เด็กๆนำเสนอข้อมุลในประเด็นต่างๆที่ตนได้รับมอบหมาย[/caption] [caption id="attachment_5793" align="aligncenter" width="1024"] ดร. บุษบงก์ วิเศษพลชัย หรือป้าแมว สรุปสิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมทำแผนที่ทางวัฒนธรรม[/caption] สุดท้าย เอกได้บอกกับเราถึงจุดประสงค์ของการจัดทำค่ายครั้งนี้ขึ้นมาและเราก็เชื่อว่าอย่างน้อยมันต้องไปสะกิดใจเด็กสักคนหรือมากกว่านั้นที่เข้าร่วมค่ายนี้ได้อย่างแน่นอน “จุดมุ่งหมายของการจัดค่ายครั้งนี้คือ อยากให้น้องๆในชุมชน ได้รู้ว่า ธรรมชาติรอบตัวเขามันมีความสำคัญมากต่อตัวเขาแล้วก็สามารถถ่ายทอดออกไปได้ว่าธรรมชาติของเขาสำคัญต่อตัวเขาและชุมชนอย่างไร” เหมือนที่สะกิดใจให้เราหันกลับมาถามตัวเองอีกครั้งว่าการพัฒนาจากภายนอกมันคือคำตอบของการเป็นอยู่ของคนในชุมชนเท่ากับการตระหนักรู้และตระหนักรักษ์ในตัวชุมชนของคนในชุมชนเองจริงๆหรอ   สามารถชมภาพกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/MekongNatureCamp/ ขอบคุณภาพจาก: https://www.facebook.com/MekongNatureCamp/ เรียบเรียง: ลักษณพร ประกอบดี

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม